
วัฏสงสาร
ทุกอย่างไม่เที่ยงแล้วเราก็จะอยู่ก็ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่เอาความทุกข์ไปให้ใครแล้วไม่เอาความทุกข์มาให้ตัวเราด้วย กว่าจะเป็นตัวเราคนนี้ เราสะสมมาแล้วกี่ชาติ แม้แต่การนั่งการนอน การยืนการเดินของแต่ละคนก็ต้องสะสมมา ซึ่งในชาตินี้ก็สะสมมาตั้งแต่เด็ก
เมื่อกรรมที่จะให้ผลในชาตินี้ยังมีอยู่ก็ยังตายไม่ได้ ต่อให้ทำยังไงก็ตายไม่ได้โดยมากนั้นทุกข์ใจเกิดต่อจากทุกข์กายเวลาป่วยไข้ไม่สบายก็ห่วงกังวล
ความเจ็บป่วยนั้นเปรียบเหมือนการถูกแทงด้วยลูกศรดอก ที่ ๑ แต่ความทุกข์ใจ ความวิตกความห่วงกังวลเปรียบเหมือนลูกศรดอกที่ ๒ ที่แทงซ้ำตรงแผลเก่าแผลก็เหวอะหวะมากขึ้นแล้วจะทุกข์ร้อนเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ทุกข์กายนั้นหนีไม่พ้น เพราะมีกายก็ต้องมีทุกข์ ยุงกัดเจ็บ เมื่อไม่เดือดร้อน
ลูกศรดอกที่ ๒ ก็ไม่มี มีแต่ดอกที่ ๑เมื่อเปรียบความห่วง ความกังวลเป็นลูกศรดอกที่ ๒ ก็จะเห็นชัดว่าไม่น่าจะให้ถูกแทงด้วยลูกศรดอก ที่ ๒ ซ้ำอีกทุกข์กายเกิดขึ้นก็รักษาพยาบาล ไม่ต้องไปวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอีก ความกังวลไม่มีประโยชน์อะไรเลยเป็นเรื่องยาวที่ไร้สาระซึ่งไม่ทำให้อะไรดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็รักษาจะเสียเวลาเป็นห่วงเป็นกังวลให้เป็นทุกข์เดือดร้อนทำไมเวลาเราสุข ก็รู้ว่าความรู้สึกเป็นยังไง เวลาคนอื่นเป็นสุขก็สุขอย่างนั้นแหละ เวลาเราโกรธ
ความรู้สึกเป็นยังไงคนอื่นโกรธก็รู้สึกอย่างนั้นแหละ ความรัก ความชัง ของทุกคนก็เหมือนกันหมดถ้าเอาชื่อของทุกคนออกหมดก็มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ๆ จิตก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งเราเรียนเรื่องธาตุหลายอย่าง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่จิตเป็นธาตุพิเศษซึ่งเป็นธาตุรู้
และเป็นธาตุที่วิจิตรเหลือเกินความคิดของคนแตกแขนงไปไม่มีวันจบเพราะจิตเป็นธาตุที่ช่างรู้ ช่างคิดจึงไม่ใช่ว่าเรารู้จักของเราดีจนกว่าจะได้ฟังพระธรรมมากขึ้นและพิจารณาจนจิตของเราเปิดเผยออกมาให้รู้ความจริงแท้ของจิตใจได้ไม่ใช่ดูแต่การกระทำอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงมีสติอีกขั้นหนึ่ง คือขณะระลึกสภาพจิตใจของตนเองแต่จะต้องเป็นคนตรงจึงจะรู้ได้ ผู้ที่จะศึกษาธรรมจริง ๆ นั้นต้องเป็นคนตรง ต้องตรงจริง ๆ จึงจะไม่เอนเอียง
คือไม่เข้าข้างตัวเอง ธรรมต้องเป็นธรรมดาตามความเป็นจริง เช่น การให้การให้ทานจริง ๆ นั้นไม่ใช่ให้เพื่อหวังผลตอบแทนไม่ใช่เพื่อหวังให้เขารักใคร่ไม่ใช่ให้เพื่อหวังว่าวันหลังเขาจะให้ตอบการให้ทานนั้นต้องเป็นจิตใจที่สะอาดปราศจากอกุศลจิตเกิดดับเร็วมาก เดี๋ยวเป็นอกุศล เดี๋ยวเป็นกุศล ไม่ใช่ว่าจะเป็นกุศลตลอดเวลาหรือไม่ใช่ว่าจะเป็นอกุศลตลอดเวลา กุศล เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี อกุศลเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นโทษ เป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดี เมื่อไม่ฟังพระธรรมก็ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมความรู้ก็มีหลายขั้นความรู้ขั้นได้ยินได้ฟังพระธรรมเป็นความรู้ขั้นที่ไม่สามารถดับความเห็นผิดและอกุศลทั้งหลายได้เป็นเพียงความรู้ขั้นละคลายความไม่รู้จากการที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเท่านั้น.........................................จบภาค 1..................................
.........................................วัฏสงสาร...................................