[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 01:53:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัฏสงสาร  (อ่าน 4947 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 19:12:24 »

http://img50.imageshack.us/img50/9048/7dfsfs.jpg
วัฏสงสาร




Life Of Buddha 佛陀的故事 ( Music: Imee Ooi)




ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหมสกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชาบิดามารดาในเรือนตนสกุลนั้นมีอาหุไนยยบุคคล ดูกร ภิกษุทั้งหลายคำว่าพรหมนี้เป็นชื่อของมารดาและบิดาคำว่าบุรพาจารย์นี้เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยยบุคคลนี้เป็นชื่อมารดาและบิดาข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยยบุคคลของบุตรเพราะเหตุนั้นแหละบุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาด้วยข้าวน้ำ ผ้า ที่นอน เครื่องหอมการอาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์




............................อังคุตตรนิกาย ปัญจนนิบาตปุตตสูตร ข้อ ๓๔..........................



บุตรผู้เป็นสัปบุรุษ ผู้สงบ มีกตัญญกตเทวี เมื่อระลึกถึงบุรพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจแทนท่านเชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุรพการีดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป



...............................พระสัทธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย...............................



ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าย่อมกราบไหว้บูชา สวดมนต์ทำวัตร เป็นประจำแล้วต้องฟังพระธรรมและพิจารณาพระธรรมด้วย ยิ่งฟังพระธรรมก็ยิ่งเห็นพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคเพราะพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นสัจธรรม เป็นธรรมที่มีจริงซึ่งทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ทันทีโดยมิต้องตระเตรียมและรอคอยเลย พระธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรมกุศลคุ้มครองให้พ้นทุกข์ภัยท่านเกิดมาชาตินี้เพียงเพื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และคิดนึกถึงสิ่งที่เห็น คิดนึกถึงเสียงที่ได้ยินคิดนึกถึงกลิ่น คิดนึกถึงรสคิดนึกถึงสิ่งที่กระทบสัมผัสตั้งแต่เกิดจนตายเท่านั้นหรือควรรู้ว่าส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นผลของกรรมและอีกส่วนหนึ่งเป็นการสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้า ควรรีบสร้างกุศลเพราะไม่มีผู้ใดรู้ได้ว่าพรุ่งนี้อาจจากโลกนี้ไปก็ได้สำหรับท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่าประมาทว่าท่านรู้แล้วควรฟังพระธรรมเพื่อทบทวนธรรมที่ท่านได้เรียนรู้
และควรพิจารณาธรรมนั้นบ่อย ๆสอบสวนพิจารณาตัวเองเตือนตัวเองให้สนใจศึกษาและฟังพระธรรมจนมีปัญญาเข้าใจในพระธรรมนั้น
แล้วน้อมนำพระธรรมมาประพฤติปฏิบัติตามด้วยความนอบน้อม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2553 20:30:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 19:20:11 »

http://img50.imageshack.us/img50/9048/7dfsfs.jpg
วัฏสงสาร



ทันทีที่เกิดมาก็เป็นผลของกรรมแล้ว ซึ่งแล้วแต่ว่าวิบากจิตประเภทใดทำกิจปฏิสนธิถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบากคือเป็นผของอกุศลกรรมก็เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นสุนัขเกิดเป็นเสือ เกิดเป็นไก่ เป็นต้นถ้าเป็นผลของกุศลอย่างอ่อนมาก แม้เกิดเป็นมนุษย์อกุศลกรรมก็เบียดเบียนทำให้มีรูปร่างพิการตั้งแต่กำเนิด ตาบอด หูหนวก เป็นต้น เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสกระทบสัมผัส และคิดนึก ขณะเห็นเป็นผลของกรรมได้ยินก็เป็นผลของกรรม ได้กลิ่นก็เป็นผลของกรรม ลิ้มรสจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็เป็นผลของกรรมทุกภพทุกชาติที่เกิดมาเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึกถึงสิ่งที่เห็นคิดนึกถึงเสียงที่ได้ยินคิดนึกถึงกลิ่น คิดนึกถึงรส คิดนึกถึงสิ่งที่กระทบสัมผัส ตั้งแต่เกิดจนตายก็เท่านั้นเอง.................................................



ทุกชีวิตเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีใจ ทั้งเสียใจ เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะจิตแล้วก็ดับหมดไปผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ตายแล้วต้องเกิดแน่ แต่ว่าชาติต่อไปจะเกิดเป็นอะไรถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกายถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็เกิดเป็นมนุษย์หรือเทพส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นวิบากคือผลของกรรมและอีกส่วนหนึ่งเป็นการสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้าขณะเห็นได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส เป็นผลของกรรม ขณะคิดไม่ใช่ผลของกรรม จิตที่คิดมี ๒ อย่าง คือ................................................
คิดดีกับคิดไม่ดีถ้าคิดดีก็สงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น มีเมตตา กรุณา คิดในทางละคลายอกุศลถ้าคิดไม่ดีก็คิดแต่ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำร้ายคนอื่นได้แม้เพียงคำพูด เช่นเวลาที่ฟังเรื่องอะไรมาแล้วไม่ไตร่ตรอง พลอยพูดตามไปโดยไม่รู้ความจริงคำพูดนั้นก็ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ ในขณะนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลให้โทษตั้งแต่เริ่มคิดตัวคนคิดเดือดร้อนเพราะอกุศลนั้นก่อนคนอื่น ดังนั้นต้องเห็นโทษของความคิดที่ไม่ดีพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่าโลภะ ความยึดมั่น ความติดความผูกพันในทุกอย่างจะนำมาซึ่งความทุกข์ โทสะเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ประทุษร้ายทำลาย
อกุศลทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากโลกไหน ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน วันหนึ่ง ๆทำอะไรเพราะอะไรก็ไม่รู้ที่ทั่วโลกกำลังลำบากนั้นเพราะเป็นทาสของความรู้สึกที่เป็นสุขซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้สิ่งที่พอใจเมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็แสวงหาสิ่งที่พอใจอื่น ๆ อีกไม่รู้จบโดยไม่รู้ว่าแท้จริงรสอาหารที่อร่อยก็ดับหมดไปแล้ว เสียงที่ไพเราะปรากฏนิดเดียวก็ดับหมดไปแล้วไม่มีใครเป็นเจ้าของสิ่งใดได้เลย เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วร่างกายที่แข็งแรงก็ป่วยไข้ได้ แม้ความป่วยไข้วันหนึ่งก็หายเป็นปกติได้ ทุกอย่างไม่คงที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2553 19:52:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 19:24:38 »

http://img50.imageshack.us/img50/9048/7dfsfs.jpg
วัฏสงสาร



ขณะใดที่เป็นผลของกุศลก็อย่าติดมากนักต้องเตรียมพร้อมที่จะรับอกุศลวิบากด้วยความไม่หวั่นไหวเวลานี้ที่มีทุกข์กันมากก็เพราะความหวั่นไหวนั่นเองถ้ารู้ความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรมดา ธรรมคือธรรมดา เกิดก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดาเจ็บก็ธรรมดาได้ลาภก็ธรรมดา เสื่อมลาภก็ธรรมดา ได้ชื่อเสียงหรือเสื่อมชื่อเสียงก็ธรรมดา มีใครบ้างไม่ถูกนินทาหรือว่ามีแต่คนเคารพนับถือตลอดเวลาสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปนั้นเป็นทุกข์ คือ ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนจิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะแล้วก็ดับไปจิตขณะต่อไปก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สืบต่อกันไปเรื่อย ๆ ขณะได้ยินเสียงไม่ใช่ขณะเห็นปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริงจึงจะไม่เป็นผิดว่าเป็นตัวตน ถ้ายังรวมกันทั้งเห็นกับได้ยินก็เป็นเรา เป็นตัวตนสภาพธรรมที่เกิดดับนั้น สั้นที่สุดเร็วที่สุด เป็นสภาพธรรมที่มีจริงและละเอียดมาก ซึ่งพิสูจน์ได้ แต่ต้องฟังมาก ๆ ให้เข้าใจจริง ๆ ว่า ทุกข์ตั้งแต่เกิด เจ็บเป็นทุกข์พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์โลภะเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ต้องการสิ่งใดแล้วไม่ได้ก็เป็นทุกข์ หวังว่าสิ่งนั้นจะเป็นอย่างนั้นแต่แล้วสิ่งนั้นก็ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ก็เป็นทุกข์ ดีที่สุดคือไม่หวัง



เพราะทุกสิ่งที่มีเหตุปัจจัยก็จะต้องเกิดอยู่แล้วไม่ว่าจะหวังหรือไม่หวังก็ตาม แม้แต่เพียงหวังก็เป็นทุกข์แล้ว ฉะนั้นถ้าไม่อยากทุกข์ก็อย่าหวัง เกิดมาเพื่อทำหน้าที่ทุกอย่างให้ดีที่สุด ไม่หวังอะไรตอบแทนเลยจากสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นถ้าเกิดผลดีก็ดี แต่ก็ไม่ได้หวังว่าจะต้องดีถึงขั้นนั้นขั้นนี้ เมื่อทำดีที่สุดแล้วสบายใจเพราะไม่ต้องเดือดร้อนว่าทำไม่ค่อยจะดี



ฉะนั้นจึงทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อกันความเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อทำดีที่สุดแล้ว อะไรจะเกิดก็เกิด ถ้าดีก็ดีถ้าไม่ดีก็ช่วยไม่ได้ แล้วก็ไม่ได้ต้องการให้ใครมาชมด้วย เพราะถ้าทำดีแล้วหวังให้ใครชมก็จะเป็นทุกข์อีกแล้วว่าอุตส่าห์ทำแทบตายไม่เห็นมีใครชมเลย กลายเป็นว่าทำดีเพื่อต้องการให้คนชม
ฉะนั้นจะต้องไม่หวั่นไหว กับคำชมหรือคำติทำอย่างดีที่สุดแล้วไม่หวังเลยว่าอะไรจะเกิด ไม่ต้องแบกโลก เช่นผู้ที่มีพี่น้องหลายคน ก็ไม่ต้องมานั่งคิดว่าพ่อแม่รักเราไหม รักเรามากเท่าพี่น้องคนอื่นไหมถึงพ่อแม่ไม่รักเราแต่เรารักพ่อแม่ เราก็สบายใจ นอกจากพ่อแม่แล้วก็ยังมาถึงเพื่อนฝูงอีกใครจะรักเราหรือไม่รักเรา ก็เรื่องของเขาเราไม่สนใจแต่เราเป็นมิตรกับเขาและหวังดีต่อเขาก็สบายใจเราไม่กังวลถึงความไม่ดีของคนอื่นแต่เรามีหน้าที่ที่จะพัฒนาปรับปรุงเจริญปัญญาของเราเอง แล้วยังช่วยคนอื่นได้ด้วยการกระทำของเราด้วยคำพูดของเรา ด้วยความคิดของเราคือเราไม่เป็นภัยกับใครเลย พอใครโกรธนิดหนึ่งเราก็รู้ว่าเขากำลังมีความทุกข์แน่ ๆ จากความไม่ชอบขณะนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2553 19:53:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 19:29:34 »

http://img50.imageshack.us/img50/9048/7dfsfs.jpg
วัฏสงสาร



ทุกอย่างไม่เที่ยงแล้วเราก็จะอยู่ก็ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่เอาความทุกข์ไปให้ใครแล้วไม่เอาความทุกข์มาให้ตัวเราด้วย กว่าจะเป็นตัวเราคนนี้ เราสะสมมาแล้วกี่ชาติ แม้แต่การนั่งการนอน การยืนการเดินของแต่ละคนก็ต้องสะสมมา ซึ่งในชาตินี้ก็สะสมมาตั้งแต่เด็ก
เมื่อกรรมที่จะให้ผลในชาตินี้ยังมีอยู่ก็ยังตายไม่ได้ ต่อให้ทำยังไงก็ตายไม่ได้โดยมากนั้นทุกข์ใจเกิดต่อจากทุกข์กายเวลาป่วยไข้ไม่สบายก็ห่วงกังวล
ความเจ็บป่วยนั้นเปรียบเหมือนการถูกแทงด้วยลูกศรดอก ที่ ๑ แต่ความทุกข์ใจ ความวิตกความห่วงกังวลเปรียบเหมือนลูกศรดอกที่ ๒ ที่แทงซ้ำตรงแผลเก่าแผลก็เหวอะหวะมากขึ้นแล้วจะทุกข์ร้อนเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ทุกข์กายนั้นหนีไม่พ้น เพราะมีกายก็ต้องมีทุกข์ ยุงกัดเจ็บ เมื่อไม่เดือดร้อน
ลูกศรดอกที่ ๒ ก็ไม่มี มีแต่ดอกที่ ๑เมื่อเปรียบความห่วง ความกังวลเป็นลูกศรดอกที่ ๒ ก็จะเห็นชัดว่าไม่น่าจะให้ถูกแทงด้วยลูกศรดอก ที่ ๒ ซ้ำอีกทุกข์กายเกิดขึ้นก็รักษาพยาบาล ไม่ต้องไปวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอีก ความกังวลไม่มีประโยชน์อะไรเลยเป็นเรื่องยาวที่ไร้สาระซึ่งไม่ทำให้อะไรดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็รักษาจะเสียเวลาเป็นห่วงเป็นกังวลให้เป็นทุกข์เดือดร้อนทำไมเวลาเราสุข ก็รู้ว่าความรู้สึกเป็นยังไง เวลาคนอื่นเป็นสุขก็สุขอย่างนั้นแหละ เวลาเราโกรธ
ความรู้สึกเป็นยังไงคนอื่นโกรธก็รู้สึกอย่างนั้นแหละ ความรัก ความชัง ของทุกคนก็เหมือนกันหมดถ้าเอาชื่อของทุกคนออกหมดก็มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ๆ จิตก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งเราเรียนเรื่องธาตุหลายอย่าง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่จิตเป็นธาตุพิเศษซึ่งเป็นธาตุรู้
และเป็นธาตุที่วิจิตรเหลือเกินความคิดของคนแตกแขนงไปไม่มีวันจบเพราะจิตเป็นธาตุที่ช่างรู้ ช่างคิดจึงไม่ใช่ว่าเรารู้จักของเราดีจนกว่าจะได้ฟังพระธรรมมากขึ้นและพิจารณาจนจิตของเราเปิดเผยออกมาให้รู้ความจริงแท้ของจิตใจได้ไม่ใช่ดูแต่การกระทำอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงมีสติอีกขั้นหนึ่ง คือขณะระลึกสภาพจิตใจของตนเองแต่จะต้องเป็นคนตรงจึงจะรู้ได้ ผู้ที่จะศึกษาธรรมจริง ๆ นั้นต้องเป็นคนตรง ต้องตรงจริง ๆ จึงจะไม่เอนเอียง
คือไม่เข้าข้างตัวเอง ธรรมต้องเป็นธรรมดาตามความเป็นจริง เช่น การให้การให้ทานจริง ๆ นั้นไม่ใช่ให้เพื่อหวังผลตอบแทนไม่ใช่เพื่อหวังให้เขารักใคร่ไม่ใช่ให้เพื่อหวังว่าวันหลังเขาจะให้ตอบการให้ทานนั้นต้องเป็นจิตใจที่สะอาดปราศจากอกุศลจิตเกิดดับเร็วมาก เดี๋ยวเป็นอกุศล เดี๋ยวเป็นกุศล ไม่ใช่ว่าจะเป็นกุศลตลอดเวลาหรือไม่ใช่ว่าจะเป็นอกุศลตลอดเวลา กุศล เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี อกุศลเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นโทษ เป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดี เมื่อไม่ฟังพระธรรมก็ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมความรู้ก็มีหลายขั้นความรู้ขั้นได้ยินได้ฟังพระธรรมเป็นความรู้ขั้นที่ไม่สามารถดับความเห็นผิดและอกุศลทั้งหลายได้เป็นเพียงความรู้ขั้นละคลายความไม่รู้จากการที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเท่านั้น



.........................................จบภาค 1..................................


.........................................วัฏสงสาร...................................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2553 19:54:11 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2553 13:26:27 »



 นำมาฝาก

อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ น้อง"บางครั้ง"
บันทึกการเข้า
คำค้น: เกิด ตาย เจ็บ ธรระมมะ พระสูตร บางครั้ง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
แผนภูมิ ภาพ ภพภูมิ : วัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ (โหลดไป ศึกษา ได้)
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 0 1727 กระทู้ล่าสุด 28 มิถุนายน 2559 21:31:26
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.235 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 22:53:57