[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤศจิกายน 2567 21:42:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย  (อ่าน 111991 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 16 มกราคม 2563 15:33:51 »


ภาพวาดครูเหม เวชกร

๏ โฉมแม่จักฝากฟ้า    เกรงอินทร หยอกนา
อินทรท่านเทอกเอา      สู่ฟ้า
โฉมแม่จักฝากดิน ดินท่าน แล้วแฮ
ดินฤขัดเจ้าหล้า      สู่สํสองสํ
๏ โฉมแม่ฝากน่านน้ำ    อรรณพ แลฤๅ
เยียวนาคเชยชํอก      พี่ไหม้
โฉมนางรำพึงจบ จอมสวาสดิ กูเอย
โฉมแม่ใครสงวนได้ เท่าเจ้าสงวนเองฯ

จากวรรณคดีเรื่อง กำสรวลโคลงดั้น : กวีพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความห่วงใย ความอาลัย ว่าเมื่อต้องจากกัน เขาจะต้องฝากนางไว้ที่ไหนดี จะฝากไว้กับฟากฟ้า ก็เกรงพระอินทร์จะนำนางไปเชยชม  จะฝากไว้กับพระแม่ธรณี ก็เกรงพระเจ้าแผ่นดินจะนำนางไปครอบครอง จะฝากไว้กับพระแม่คงคา ก็เกรงพญานาคจะนำนางไปเชยชม เห็นทีจะต้องฝากนางไว้กับตัวนางนั่นแหละ ให้นางรักษาเนื้อรักษาตนให้ดี

กำสรวลโคลงดั้น เคยเรียกกันว่า กำสรวลศรีปราชญ์ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดร่ายดั้น ๑ บท และโคลงดั้น ๑๒๙ บท อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิชาทางวรรณคดีไม่เชื่อว่าศรีปราชญ์มีตัวตนและเป็นผู้แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ และเห็นว่าผู้แต่งน่าจะเป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ โดยพิจารณาจากสำนวนโวหารการใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง




โบราณสถาน วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระนครศรีอยุธยา

ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรุงศรีอยุธยา
๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า     ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดีย์ลอออินทร์ ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ฯ
๏ พรายพรายพระธาตุเจ้าเจียนจันทร์ แจ่มแฮ
ไตรโลกเล็งคือโคม ค่ำเช้า
พิหารระเบียงบัน รุจิเรข เรืองแฮ
ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง ฯ
๏ ศาลาอเนกสร้าง     แสนเสา โสดแฮ
ธรรมาสน์จูงใจเมือง สู่ฟ้า
พิหารย่อมฉลักเฉลา ฉลุแผ่น ไส้นา
พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า หล่อแสง ฯ
๏ ตระการหน้าวัดแหว้นวังพระ
บำบวงหญิงชายแชรง ชื่นไหว้
บูรพาท่านสรรค์สระ สรงโสรจ
ดวงดอกไม้ไม้แก้ว แบ่งบาล ฯ
๏ กุฎีดูโชติช้อย    อาศรม
เต็มร่ำสวรรค์ฤๅปาง แผ่นเผ้า
เรือนรัตน์ภิรมย์ปราง สูรยปราสาท
แสนยอดแย้มแก้วเก้า เฉกโฉม ฯ
(โคลงกำสรวลสมุทร)

โคลงกำสรวลสมุทร แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของราชธานีศรีอยุธยาด้วยงานพุทธศิลป์ทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร พระมหาธาตุเจดีย์ กุฏิ ฯลฯ ที่พระมหากษัติรย์ทรงสร้างสรรค์ศาสนวัตถุอย่างยิ่งใหญ่ด้วยพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเพื่อสำแดงความมั่งคงและวัฒนาของบ้านเมือง  

พระมหานครแห่งนี้ปรากฏความรุ่งโรจน์ เป็นที่กล่าวขวัญถึง ไม่เฉพาะแต่ในหมู่ชนชาวอยุธยาเอง แต่ยังรวมไปถึงชนต่างชาติที่มีโอกาสเข้ามาเยือนพระอาณาจักรแห่งนี้ด้วย




ขอขอบคุณเว็บไซต์เจ้าของภาพ : พันทิปดอทคอม

๏ กางกรอุ้มโอบแก้วกากี
ปีกกระพือพาศรีสู่งิ้ว
ฉวยฉาบคาบนาคีเปนเหยื่อ
หางกระหวัดรัดหิ้วสู่ไม้รังเรียง ๚
๏ กางกรอุ้มโอบแก้ว           เจ้างามแพร้วสบสรรพางค์
ปีกปกอกเอวนางพลางคลึงเคล้าเต้าจรจรัล
ฉวบฉาบคาบนาคาเปนภักษาพาผกผัน
หางกระหวัดรึงรัดพันดั้นเมฆามาสิมพลี
บทเห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2563 14:04:56 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2563 18:46:08 »


ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

๏ ถ้าแม้พี่เลือกได้ตามใจพี่จะไปพ้นที่นี้นั้นหาไม่
จะยืนชมขวัญตาผู้ยาใจกว่าจะได้สวมกอดแม่ยอดรัก ฯ
โอ้พ่อยอดยาจิตของมิตร์เอ๋ย         เมื่อไรเลยจะได้เชยชิดชม
กลิ่นหอมได้ดอมดม ห่างรักหักอารมณ์
โอ้แสนระทมระทวยเอย ฯ   .

บทร้องอันเดรกับอันโดรเมดา จากบทละครพูดเรื่อง 'วิวาหพระสมุท'
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2563 14:29:35 »


๏ สิ่งใดในโลกล้วนอนิจจัง
คงแต่บาปบุญยังเที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึงแน่น
ตามแต่บุญบาปแล้       ก่อเกื้อรักษา๚
โคลง ๔ เรื่อง ลิลิตพระลอ

ลิลิตพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา เป็นนิทานเรื่องทางล้านนา ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ในขณะเมื่อดำรงพระยศเป็นพระราชโอรส

วรรณคดีสโมสรยกย่องให้ "ลิลิตพระลอ" เป็นยอดลิลิต ถึงกับยกย่องเป็นตำรามาแต่โบราณ แม้หนังสือเรื่องจินดามณี ซึ่งพระโหราธิบดี แต่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนาราณ์มหาราชก็คัดโคลงในเรื่องพระลอมาใช้เป็นแบบในหนังสือนั้น  ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น และคนทั้งหลายนับถือว่าแต่งดีอย่างยิ่งอีกเรื่อง ๑ ถึงกระนั้นก็ไม่ทำให้ลดความนับถือลิลิตพระลอลงกว่าแต่ก่อน จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ลิลิตพระลอ เป็นยอดลิลิตกว่าเรื่องอื่น

ใครเป็นผู้แต่งลิลิตพระลอและแต่งเมื่อไร ปัญหานี้ดูเหมือนจะยังไม่เคยวินิจฉัยกันให้ถ้วนถี่  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานอธิบายและเสนอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือลิลืตพระลอไว้ว่า "ข้างท้ายลิลิตมีโคลงบอกชื่อผู้แต่งอยู่ ๒ บท  บทหนึ่งว่า "มหาราชเจ้านิพนธ์"  หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง  แต่อีกบทหนึ่งว่า "เยาวราชบรรจง" หมายความว่า พระราชบุตรของพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง ที่บอกแย้งกันดังนี้ส่อให้เห็นว่า ผู้แต่งโคลง ๒ บทนั้นเป็น ๒ คน และมิใช่ตัวผู้แต่งลิลิตพระลอ  โคลง ๒ บทเป็นของแต่งเพิ่มขึ้นแต่ภายหลัง ส่วนผู้แต่งลิลิตเองได้กล่าวไว้ในโคลงบานแผนกข้างต้นเรื่องว่า


              "เกลากลอนกล่าวกลการ      กลกล่อม ใจนา
              ถวายบำเรอท้าวไท้ธิราชผู้มีบุญ"

ปัญหาข้อที่ว่าหนังสือลิลิตพระลอแต่งเมื่อไร ข้อนี้ตัดสินใจได้ทันทีว่า แต่งก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลนั้น ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอมาใช้เป็นแบบโคลงสี่ คือบทที่ว่า

              "เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง          อันใด พี่เอย
              เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
              สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่
              สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือฯ

จึงเห็นควรถือเป็นที่ยุติไว้ ว่าลิลิตพระลอนั้นแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวในระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๒๖  ส่วนผู้แต่งนั้น จะว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดยากอยู่ ด้วยจะเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ทั้งนั้นเป็นอันรู้ไม่ได้แน่"...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2563 14:37:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2563 15:35:13 »


"..ย่านท่าทรายมีร้านชำ ขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหม ผ้าลายกุศราช ย่ำมะหวด สมปักเชิง
สมปักล่องจวน สมปักริ้ว เมื่อข้าราชการทำหาย ไม่ทันจะมาหาเปลี่ยนก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า..ฯ
ตอนหนึ่งในหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม"

ขอขอบคุณเฟชบุ๊ก ร้านธงทองไหมไทย (ที่มาภาพประกอบ)

”ขุนแผนกับลูกชายพลายงาม     ได้ฟังความปรีดิ์เปรมเกษมศรี
นุ่งสมปักเข้าพลันในทันที       . ริบรี่มายังท้องพระโรงชัย
น่าสงสารแต่ฝ่ายพระท้ายน้ำ     ได้ยินคำกรมวังดังจับไข้
ผลัดสมปักตัวสั่นพรั่นฤทัย       เผลอไผลตามมาละล้าละลัง
ขุนแผนพลายงามเข้ามาก่อน     พระท้ายน้ำค่อยผ่อนมาทีหลัง
กราบกรานคลานตามตำรวจวัง     ต่างหมอบชม้อยคอยฟังพระบัญชา”



“ฝ่ายตำรวจในได้รับสั่ง       วิ่งออกจากวังขมีขมัน
ครั้นถึงจึงบอกพระไวยพลัน       . รับสั่งทรงธรรม์ให้เข้าไป
พระไวยได้ฟังเป็นการเร็ว     ฉวยผ้าพันเอวหาช้าไม่
รู้ข่าวการทัพขยับใจ       บ่าวไพร่ตามหลังเข้าวังพลัน
นุ่งสมปักลนลานคลานเข้าไป     บังคมไหว้ก้มหน้าอยู่ที่นั่น”


ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก

ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าฯ จะชักช้าร่ำไรไม่ได้

ตอนที่สมเด็จพระพันวษาให้ตำรวจไปแจ้งข่าวให้ ขุนแผน พลายงาม และพระไวย เข้าเฝ้า ดังกวีบรรยายว่า "นุ่งสมปักลนลาน" คือรีบร้อนเสียจนแทบจะทำอะไรไม่ถูก


“ผ้าสองปัก” หรือ “ผ้าสมปัก” เป็นผ้าไหมหน้าแคบ ต้องต่อให้กว้างโดยใช้ผ้าสองผืนต่อกันเรียกว่า “เพลาะ” เมื่อเพลาะแล้วจะกว้างประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร ยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา ๑/๒  เปรียบเสมือนเครื่องแบบที่ขุนนางข้าราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ใช้นุ่งเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน หรือตามเสด็จพระราชดำเนิน เขาไม่นุ่งกันมาจากบ้าน ออกจากบ้านจะเข้าวังก็ใช้ผ้าอื่นนุ่งมาก่อน ให้ทนายถือตามมานุ่งในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเข้าเฝ้าแล้วก็ผลัดออก

ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เป็นผ้ามีระดับ มิใช่ผ้าที่ใครอยากนุ่งก็นุ่งได้ เนื่องจากเป็นผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่ง ใช้เป็นเครื่องแบบเวลาจะเข้าเฝ้าฯ สมัยโบราณผู้ทำความดีความชอบจะได้รับพระราชทานเสื้อหรือผ้านุ่งเป็นรางวัล

ที่ต้องนุ่งกันในวังน่าจะเป็นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” ตอนหนึ่งว่า “...อันผ้าสมปักไหมนั้นเขาไม่นุ่งกันมาแต่บ้านมิได้ เขามานุ่งกันเอาในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเฝ้าแล้วก็ผลัด เห็นจะเพื่อรักษาไม่ให้ทรุดโทรมไปเสียเร็ว เห็นจะเป็นของหายาก...”

ธรรมเนียมการนุ่งผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เข้าเฝ้าฯ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มาถึงจุดเปลี่ยน

ประกาศการแต่งตัวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้ทราบว่า “...ธรรมเนียมข้าราชการนุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอมและฉีกขาด ก็ใช้นุ่งเข้ามาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ...”  จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย...”

ข้อมูลอ้างอิง : มติชนสุดสัปดาห์ สองปัก-สมปัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2563 15:52:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2563 16:29:38 »



พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

มหาชินธาตุเจ้า เจดีย์
เหมือนแท่งทิพสิงคี      คู่เพี้ยง
ฉัตรฅำฅาดมณีควรค่า เมืองเอ่
เปลวเปล่งดินฟ้าเสี้ยง สว่างเท้าอัมพเร
เจดีย์พระธาตุเจ้าศรีสถาน
โสภิตพะงาปาน เกศเกล้า
ทศมนมิมีปานพอคู่ ครบเอ่
ฤๅเลิศไตรทิพเท้า จุดาศรี
จาก โคลงนิราศหริภุญไชย


ผู้รจนา บรรยายความวิจิตรงดงามของพระบรมธาตุเจดีย์สีทองอร่าม ฉัตรยอดเจดีย์สร้างด้วยทองคำประดับอัญมณี แลดูสว่างไสวไปทั่วอากาศและปฐพี  .... ดังที่เราเห็นเป็นบุญตาสืบมาจนทุกวันนี้

โคลงนิราศหริภุญไชย แต่งขึ้นเพื่อถวาย “เจ้านาย” ระดับพระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร เป็นการเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุหริภุญไชยที่นครลำพูน ของยุวกษัตริย์เชียงใหม่ คือพระเมืองแก้ว ด้วยกระบวนยาตราขนาดใหญ่ มีการประโคมขับกล่อมมโหรีสลับกันตามรายทาง

โคลงนิราศหริภุญชัย นับเป็นโคลงนิราศเรื่องแรกในวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แต่งขึ้นประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว คือแต่งในปี พ.ศ.๒๑๘๐ หรือก่อนนั้นขึ้นไป ทุกคนที่ได้อ่านโคลงนิราศหริภุญชัยแล้ว ย่อมยอมรับว่าเป็นโคลงที่เก่าแก่มาก ทั้งไพเราะจับใจและเป็นแบบฉบับที่โคลงนิราศชั้นหลังได้เลียนมาใช้เป็นอันมาก

พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะเป็นสีทองอร่าม พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้นสี่มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น ๙ ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๐ วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดหลวงในจังหวัดลำพูนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในองค์พระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  




เท่าเรียมร้างจากเจ้า      เจียนพะงา
อกอ่วงอาดูรดา โมดม้วย
เต็มเลงอื่นใดฉลาเฉลิมเกศ มกุฎเอ่
แพงเจตในน้องถ้วย พี่ถ้วยเถิงอวร
จาก โคลงนิราศหริภุญไชย

เพียงแต่ที่พี่จากน้องมา  ใจพี่เป็นห่วงเป็นทุกข์แทบจะสิ้นชีวิต  
ถึงแม้จะมองหญิงอื่นแต่งงดงาม แต่จะหาใครเหมือนน้องได้ ไม่มี
...


กวีสอดแทรกเรื่องความโศกเศร้าของการที่ต้องจากหญิงคนรัก อันเป็น "ขนบ" ไม่ต่างไปจากฉากชมนกชมไม้
ที่เรารู้จักกันดีในการประพันธ์ "นิราศ" ที่พรรณนาฉากการเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน  และอาจเป็นเพียง
การรจนาให้เกิดคำประพันธ์ที่สมบูรณ์ตามแบบแผนที่มีมาแต่โบราณกาล




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2563 16:55:14 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2563 14:46:44 »


จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม

๏ รถเอยรถวิมาน       กำกงแก้วประพาฬอลงกต
ห้ายอดหน้าบันเป็นหลั่นลด ช่อฟ้าช้อยชดบราลี
เทียมด้วยพลาหกตัวคะนอง     ลำพองเพียงพระยาราชสีห์
พาผ่านอากาศด้วยฤทธี      สารถีนั่งหน้าประนมกร
เครื่องสูงครบสิงกรรชิงรัตน์     กรรภิรมย์มยุรฉัตรประภัสสร
ปี่ฆ้องกลองแห่แตรงอน           อัมพรสนั่นครรชิต
งามทรงดั่งองค์เทวา               อันเสด็จลงมาจากดุสิต
งามรถเพียงรถพระอาทิตย์       งามพลแข่งฤทธิ์เหาะกันไปฯ

จากเรื่อง  รามเกียรติ์ ตอน  ท้าวมาลีวราชว่าความ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤศจิกายน 2563 14:52:04 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 25 มกราคม 2564 15:40:55 »


ตัวอย่างท่ารำในสมุดไทยขาว "ท่าพรหมสี่หน้า"

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า         สอดสร้อยมาลาเรียงหมอน
เพียงไหล่ผาลาช้านางนอน     ภมรเคล้าแขกเต้าเข้ารัง
กระต่ายชมจันทร์จันทร์ทรงกลด         พระภะรตทิ้งสารมารกลับหลัง
ชูชายนาฎกรายเข้าวัง     มังกรหาแก้วมุจลินทร์
กินนรร่อนรำเลียบท่า         องค์พระรามาก่งศิลป์
มัจฉาลอยล่องฟ่องวารินทร์     หลงใหลได้สิ้นงามโสภา
สิงโตเล่นหางกวางโยนตัว     รำยั่วชักแป้งผัดหน้า
หงส์ทองลอยล่องในคงคา     เหราเล่นน้ำสำราญนัก
กรีดกรายย้ายย่างกวางเดินดง         พระนารายณ์ฤทธิรงค์ทรงขว้างจักร
ช้างสารหว่านหญ้าน่ารัก     พระลักษมณ์แผลงศรจรลี
กินนรฟ้อนฝูงยูงฟ้อนหาง     ขัดจางนางนางรำสองสี
ลมพัดยอดตองตวัดวี     สีซอสามสายย้ายเพลงรำ
รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้         รำชะนีร่ายไม้เฉื่อยฉ่ำ
เมขลาล่อแก้วลำนำ     แบบรำตามเยี่ยงโบราณมา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชนิพนธ์การแสดงชุด "พระภะรตเบิกโรง"  
โดยนำชื่อท่ารำที่ปรากฏอยู่ในกลอนตำรา มาเรียบเรียงเป็นบทกลอนสลับคำเพื่อใช้ในการ
แสดงเบิกโรง   วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักท่ารำของไทยมากยิ่งขึ้น แสดงถึง
พระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณที่มา : ศิลปวิทยาการ จาก สาสน์นสมเด็จ "SAN SOMDET"
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2564 15:45:17 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2564 20:09:31 »


ภาพวาด ครูเหม เวชกร

เห็นแก้ว แวววับ ที่จับจิต         ไยไม่คิด อาจเอื้อม ให้เต็มที่
เมื่อไม่เอื้อม จะได้ อย่างไรมี       อันมณี ฤๅจะโลด ไปถึงมือ

พระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2564 18:08:11 »


ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร

๏ รอยรูปอินทร์มาหยาดฟ้า    มาอ่าองค์ในหล้า
แหล่งให้คนชม        แลฤๅ
ฯลฯ
๏ ฦๅขจรในแหล่งหล้า         ทุกทั่วคนเที่ยวค้า
เล่าล้วนยอโฉม      ท่านแล
เกียรติศัพท์ความงามของพระลอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน
พิศดูคางสรด  พิศศอกลมกลกลึง  สองไหล่พึงใจกาม อกงามเงื่อนไกรสร
พระกรกลงวงคช นิ้วสลวยชดเล็บเลิศ ประเสริฐสรรพสรรพางค์ แต่บาทางค์
สุดเกล้า พระเกศงามล้วนเท้า พระบาทไท้งามสม สรรพนา



ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร

๏ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง    อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร      ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล  ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า      อย่าได้ถามเผือ
พระเพื่อน - พระแพง ปรับทุกข์กับพี่เลี้ยง (นางรื่น - นางโรย)
- เสียงเขาร่ำลือเรื่องใดกันหรือพี่?
- เขายกย่อง เทิดทูนพระเกียรติผู้ใดไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน

- พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) มัวแต่หลับใหลจนลืมตื่นเลยหรือพี่
- พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) ไปดูทีซิ เขาร่ำลือเรื่องใดกัน ไม่ต้องมาถามฉัน.


ที่มา วรรณกรรมเรื่อง ลิลิตพระลอ
เรื่องพระลอเป็นนิทานพื้นเมืองทางล้านนา นักปราชญ์แต่งเป็นกลอนลิลิตขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ราวระหว่าง พ.ศ.๑๑๙๑-๒๐๗๖ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 15 มกราคม 2565 20:50:24 »




แต่ยังเยาว์คุ้มเท่าเป็นเอกองค์         ปิ่นอนงค์นางในทั้งซ้ายขวา
คิดว่าจะไว้ชื่อให้ลือชา       มิรู้ว่าเริงรวยไปด้วยครุฑ
ด้วยแรงราคจากรสพาราณสี       ไปลองเล่นฉิมพลีอันสูงสุด
ครั้นเบื่อหน่ายบ่ายเล่ห์เสน่ห์ครุฑ     กลับมายุดย้ายชมสมคนธรรพ์
หนึ่งแล้วสองมิหนำซ้ำสาม     เจ้าทำงามพักตราน่ารับขวัญ
เมื่อเป็นหญิงแพศยาอาธรรม์       จะให้เลี้ยงนางนั้นฉันใด
จาก บทกากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

กล่าวถึงเมื่อท้าวพรหมทัตพบนางกากี  ซึ่งพญาครุฑนำมาทิ้งไว้ที่พระลานหน้าพระมณเฑียร
ถ้อยคำที่ท้าวพรหมทัตได้ทรงเอ่ย ล้วนแต่เสียดสีประชดประชันก่อนจะนำนางกากีไปลอยแพ

เรื่องกากีนี้เป็นนิทานชาดก ในนิบาตชาดก หรือที่เรียกว่า กากาติชาดก สุสันธีชาดก และ กุณาลชาดก ซึ่งภิกษุชาวลังการจนาขึ้น  เป็นเรื่องเล่าที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเล่าแก่พุทธสาวกเพื่อให้เห็นข้อธรรม โดยกล่าวถึงทุกข์อันเกิดจากความประพฤติผิดในกาม ว่ามีพระราชาชื่อท้าวพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีมเหสีรูปงามและมีกลิ่นกายหอมนามกากี และมีคนสนิทเป็นคนธรรพ์ชื่อนาฏกุเวร ต่อมามีพญาครุฑที่อาศัยที่วิมานฉิมพลีชื่อเวนไตย ได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์มาเล่นสกาและพบกับนางกากี จึงเกิดความรักและลักพานางไปยังวิมานฉิมพลี นาฏกุเวรสังเกตเห็นจึงแปลงตัวเป็นไรแทรกไปในปีกตามไปยังฉิมพลี ในตอนกลางวันก็อยู่กับนางกากี กลางคืนก็แปลงกายมิให้พญาครุฑจับได้ ครั้นพอเวลาที่เวนไตยจะลงมาเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรจึงแปลงเป็นไรแฝงมาในปีกพญาครุฑกลับมายังกรุงพาราณสี  ขณะที่เล่นสกานาฏกุเวรก็ขับพิณถวาย โดยกล่าวถึงโฉมนางกากีและวิมานฉิมพลี ครั้นพอพญาครุฑได้ฟังก็ถามลองเชิงว่ารู้จักวิมานฉิมพลีได้อย่างไรเพราะไกลเกินกำลังมนุษย์จะไปถึง  นาฏกุเวรเล่าว่าแปลงเป็นไรแทรกไปในขนปีกพญาครุฑ ก็ทำให้พญาครุฑเกิดความอับอาย และนำนางกากีมาคืน ซึ่งความในนิบาตชาดกจบเพียงเท่านี้ แต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้นิพนธ์เพิ่มเติมให้นางกากีถูกลงโทษด้วยการลอยแพ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2565 21:06:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 16 มกราคม 2565 20:32:46 »


ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

    เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน         ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่รังไหน
นอนไหนก็นอนได้       สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน
ลมพัดมาอ่อนอ่อน     เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย
    ดอกเอ๋ย     ดอกขจร
นกขมิ้นเหลืองอ่อน     ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย.

จาก เพลงนกขมิ้น (ขับร้อง-มโหรี)

อารมณ์ของเพลงนี้ สะท้อนความเหงาของคนจร
โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของนกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พเนจรร่อนเร่ หรือเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มกราคม 2565 20:35:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 23 มีนาคม 2565 12:08:56 »



ภาพวาด ดินสอ 2B

    ๏ ผึ้งเอยผึ้งน้อย     เที่ยวล่องลอยลมรสมธูหวาน
รู้สึกรักหนักดวงกมลมาลย์         โดยเดือดดาลรักใหม่ไม่สมปอง
นึกใคร่เห็นตัวผู้ที่ตรูเนตร     ทุกข์เทวษหวานใจให้หม่นหมอง
โอ้ไฉนจะสมอารมณ์ปอง     เป็นคู่ครองคลึงเคล้าเย้ายวนเอยฯ (๔๙)

จากบทละครสันสกฤต เรื่อง "ปริยทรรศิกา" นาฏิกาสันสกฤต
พระราชนิพนธ์ ใน พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ กษัตริย์ภารตวรรษ (อินเดีย)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
โดยเทียบกับบทเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตและปรากฤต  ซึ่งได้แปลงแล้วจากอักษร
เทวนาครีเป็นอักษรโรมัน เพื่อถ่ายทอดให้ได้ใกล้เคียงความเดิมของผู้แต่งมากที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2565 12:52:01 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.74 Chrome 99.0.4844.74


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 24 มีนาคม 2565 15:55:56 »



       มาจะกล่าวบทไป        ถึงองค์อสัญแดหวา
ซึ่งเป็นบรมอัยกา          สถิตยังชั้นฟ้าสุราลัย
จึงนิมิตกริชแก้วสุรกานต์      นามกรพระหลานจารึกใส่
ครั้นเสร็จเสด็จจากวิมานชัย          เหาะมากรุงไกรกุเรปัน ฯ
ครั้นถึงจึงวางกริชลง      ข้างพระองค์กุมารหลานขวัญ
อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ     กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า

ที่มา : "อิเหนา" (ตอนอิเหนาประสูติ)
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) 

กริช เป็นอาวุธสำคัญของชาวชวา ซึ่งต่อมาชาวมลายูและชาวหมู่เกาะอินโดนีเซียอื่นๆ ได้มีค่านิยมในการนำมาใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากถือว่าเป็นอาวุธสำคัญสำหรับต่อสู้ศัตรูป้องกันตัวแล้ว ชาวชวามลายูยังถือกันว่าเป็นเครื่องประดับอันสง่างามและทรงเกียรติ เช่นเดียวกับชาวยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ที่ถือว่าการคาดกระบี่นั้น ย่อมดูมีความงามสง่าและดูภาคภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวมลายู จึงถือเป็นคติว่า สมบัติ ๓ อย่างที่ผู้ชายสูงศักดิ์จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียไม่ได้ จึงประกอบไปด้วย ๑) บ้านดี ๒) ภรรยาดี และ ๓) กริชดี

สำหรับเหตุผลที่เวลาแสดงละครใน เรื่องอิเหนา แล้วตัวละครต่าง ๆ ที่เกิดมาในวงศ์เทวัญ เช่น อิเหนา สียะตรา สุหรานากง ฯลฯ จะต้องเหน็บกริชนั้น เป็นเพราะว่าตัวละครทุกตัวในวงศ์เทวัญ เมื่อประสูติแล้วต่างได้กริชประทานประจำตัวพร้อมจารึกชื่อ จากองค์ปะตาระกาหลาเกือบทั้งสิ้น


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 04 เมษายน 2565 20:19:49 »

 
ภาพวาดฝีมือครูเหม เวชกร
ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถี  
เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบเทวฑูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช  
ทรงเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
 


    "สพเพ  สํขารา  อนิจฺจาติ
สังขารไม่เที่ยงทั้ง    สากลย์
    ยทาปฺญายปสฺสติ
ผู้มั่นปัญญายล แยบนี้
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข
ย่อมเหลือเบื่อวังวนเวียนทุกข์
    เอส มคฺโควิสุทฺธิยาฯ
มรรควิสุทธิ์ดุจชี้ เชิดกว้างทางธรรมฯ"

ที่มา เรื่อง "สามกรุง"
พระนิพนธ์เรื่องสุดท้ายของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส."
โคลงบทนี้ แสดงความสามารถในตัวผู้นิพนธ์ ที่ทรงนำคาถาภาษาบาลีมาแปลเป็นโคลงสี่สุภาพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2565 20:22:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2565 19:43:08 »

   
ภาพประกอบ : ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

    ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ         เมียตน
เมียแล่พันฤๅดล     แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเป็นคน     ฤาง่าย เลยนา
เลี้ยงยากนักท้าวไท้     ธิราชผู้มีคุณ ฯ

ที่มา : "ลิลิตพระลอ" นิยายพื้นบ้านของไทยเหนือ
ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

โคลงบทนี้ ให้ข้อคิดในเรื่องของ "ความรัก" และสอดแทรกคำสอน ว่า
การมีชู้กับหญิงอื่นสักร้อยคนก็ตาม ความรู้สึกซาบซึ้งในความรักความผูกพันก็ไม่เท่ากับเมียของตน
แต่ถึงจะมีเมียสักหนึ่งพันคน ก็ไม่อาจจะรักเมียเหล่านี้ให้เท่ากับแม่ของตนได้
แม่เป็นผู้ให้ตั้งแต่ให้ชีวิต ให้การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น แม้จะเหนื่อยยากแสนเข็ญเพียงไร แม่ก็ไม่ย่อท้อ
จึงไม่มีผู้ใดในผืนปฐพีนี้ จะมีพระคุณอันยิ่งใหญ่เทียบเท่า "แม่"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2565 19:47:13 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2565 13:50:42 »


วิถีชีวิตในชนบท สปป.ลาว - ภาพจาก facebook

    กองเอ๋ยกองข้าว         กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่
เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร       ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน
เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ     สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น
ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์     หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 สิงหาคม 2565 13:52:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 18 กันยายน 2565 11:31:18 »


ขอขอบคุณเว็บไซต์ jingjonews.com (ที่มาภาพประกอบ)

กบเขียดไล่กินงู

คำกล่าวนี้เป็นสำนวนโบราณของล้านนา แปลว่า กบและเขียดไล่กินงู ซึ่งเป็นปรากฏการณ์กลับตาลปัตรกับธรรมชาติ เปรียบเทียบว่า คนธรรมดาผู้ไม่มีอำนาจ หรือผู้ที่มีอำนาจน้อยสามารถเอาชนะผู้มีอำนาจมากได้

สำนวนนี้คนล้านนาพูดกันมานานนมเน เนื่องจากมีพุทธทำนายที่รู้กันทั่วไปในล้านนา เช่น ที่จารึกในคัมภีร์ใบลาน ที่วัดป่าสักน้อย ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จารไว้เมื่อปี ๒๔๙๒ กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว ๒,๕๐๐ ปี จะเกิดปัญหา “หมากน้ำเต้าจักจม หมากหินจักฟู” หมาจิ้งจอกจักไล่กัดเสือ ช้างจะพากันกินถ่านไฟแดง คนใจบุญใจกุศลจะต้องหาบ แต่คนใจบาปจะเดินตัวเปล่า พ่อค้าจะอาสาออกศึก น้ำไม่ลึกจะพากันทำที่ว่ายน้ำเล่น กบเขียดจะไล่กินงู พญาครุฑจะเป็นบริวารของกาดำ หมาจิ้งจอกจะกินอาหารจากถาดทอง และราชสีห์จะเป็นบริวารของหมาจิ้งจอก

ทั้งยังมีอุปมาปรากฏในตำนาน หมากน้ำเต้าจม หมากหินฟู ของวัดดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีความตอนหนึ่งว่า “…ฅนทังหลายฝูงเป็นน้อยก็มักแพ้ผู้เป็นใหญ่ ไพร่น้อยมักจูงใจแก่ฅนเมือง ก็อุปมาเป็นดั่ง กบเขียดไล่กินงู นั้นแล”

แสดงว่าสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นตกอยู่ในความเสื่อมถดถอยอย่างร้ายแรง คนในสังคมเกิดความแตกสามัคคี ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจใช้อำนาจตามอำเภอใจ

สังคมเกิดสับสนวุ่นวาย บ้านเมืองอยู่ในความไม่สงบ และผู้ปกครองไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ เกิดความทุกข์ยากทั่วทุกหนระแหง ทำให้คนสามัญซึ่งไม่มีอำนาจอยู่ในมือตกเป็นฝ่ายเหนือกว่า และสามารถกำราบชนชั้นผู้ปกครองได้ ดังกบหรือเขียดที่ไล่เขมือบกินงู ฉันนั้น

ตรงกับคำกล่าวทั่วไปที่ว่า กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม


ขอขอบคุณที่มา : ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2565 18:11:57 »


นางสร้อยฟ้า นางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" ที่วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

สร้อยฟ้าศรีมาลาว่าเจ้าค่ะ      ตั้งกระทะก่อไฟอยู่อึงมี่    
ต่อยไข่ใส่น้ำตาลที่หวานดี     แป้งมีเอามาปรุงกุ้งสับไป
ศรีมาลาละเลงแต่บางบาง      แซะใส่จานพานวางออกไปให้
สร้อยฟ้าเทราดแซะขาดไป       ขัดใจแม่ก็ปาลงเต็มทีj
พลายชุมพลจึงว่าพี่สร้อยฟ้า  ทำขนมหนาเหมือนแป้งจี่
พลายงามร้องว่ามันหนาดี           ทองประศรีว่าเหวยกูไม่เคยพบ
ลาวทำขนมเบื้องผิดเมืองไทย       แผ่นผ้อยมันกะไรดังต้มกบ  
แซะม้วนเข้ามาเท่าขาทบพลายชุมพลดิ้นหลบหัวร่อไป
ฝ่ายนางศรีมาลาชายตาดู       ทั้งข้าไทยิ้มอยู่ไม่นิ่งได้
อีไหมร้องว้ายข้อยอายใจ   ลืมไปคิดว่าทำขนมครก    
ชุมพลร้องแซ่แก้ไม่รู้สิ้นนานไปก็จะปลิ้นเป็นห่อหมก
สร้อยฟ้าตัวสั่นอยู่งันงก     หกแป้งต่อยกระทะผละเข้าเรือน

ขนมเบื้องถือเป็นขนมอวดฝีมือของกุลสตรีไทยมาแต่โบราณ ขนมเบื้องที่ดีผู้ทำต้องมีฝีมือในการละเลงให้บางและกรอบ
ตัวอย่างปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ตอน พระไวยให้ภรรยาทั้งสอง คือ นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้า
ทำขนมเบื้องมาเลี้ยงพลายชุมพล สร้อยฟ้าทำขนมเบื้องเป็นแผ่นหนา จึงสู้ศรีมาลาไม่ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ตุลาคม 2565 18:15:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2565 20:47:42 »




       ร่าย          ◎ แถลงปางปวงดัสดร ม่านแลมอญมากมวญ ขบวนทับสัพพาวุธ มาประยุทธ์อยุธยา ปีระกาสัปดศก ยกเป็นกองเจารีย์
ต้อนตีตามตำบล  ปล้นทุกหนทุกแห่ง แย่งชิงบ้านชิงเมือง เปลืองกำลังไทยลง  ไทยไม่ปลงใจกัน  ยืนยันรับสัปรยุทธ์
สุดยำเยงไพรี  ขาดคนดีเป็นประมุข ปลุกหฤทัยให้ห้าว รบรักด้าวแดนเกิด ต่างเปิดเตลิดต่างตน  ต่างเสือกสนเล็ดลอด
ให้ปลอดภัยดัสกร ม่านแลมอญได้ที ตีถึงกรุงอยุธยา    พระราชาเอกทัศ ถนัดแต่เยี่ยงหยำเยอะ  เลอะราชการงานนคร
ดัสกรใช่ทัพกษัตริย์ ชิงได้ฉัตรมไหสุรย์ ในปีกุญนพศก นราธิปกปิ่นอยุธยา คราววาศนาโรยร่วง เหมือนมะม่วงงอมหล่น
นึกน่าข่นเคืองจิต ชวนให้คิดคำนึง  ถึงบางคาบบางครา ไทยปรีดาอิสรภาพ ปราบปรปักษ์หักหาญ ใช่แหลกลาญเช่นนี้
บางสมัยไทยกี้ กาจกล้าการณรงค์ ยิ่งแลฯ
กรุงศรีอยุธยา
(สมัยอยุธยาวสาน)
ปีกุญนพศก พ.ศ.๒๓๑๐
พระนิพนธ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
(น.ม.ส.)

คัดลอกโดยคงอักขระเดิม (ตัวหนังสือ, สระพยัญชนะ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พฤศจิกายน 2565 20:49:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5752


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2565 14:14:32 »


ภาพวาด ครูเหม เวชกร

หยุดยั้งพลังพิศโฉมฉงนเอาท้าวเสด็จดลตระบัดยังรัตน์บรรทม
วางท้าวเที่ยมท้าวสู่สม          เทพาชื่นชม           และแลประเมินสองศรี
แลนางลืมแลกษัตรีย์  แลพระนฤบดี         ลืมแลดูแก้วกัลยา
สองเท้าโฉมแปลกประดิมา     พระเห็นพรรษา      สรรเสริญคะคล้อยอวยพร
จากเรื่อง "เสือโค คำฉันท์"

พระมหาราชครู ได้ทดลองแต่งโดยใช้ระเบียบคำประพันธ์ของสันสกฤต
เชื่อว่าได้ผลเป็นที่พอใจ และนับเป็นประดิษฐการที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีไทย
ดังนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงมีพระบรมราชโองการให้พระมหาราชครู
แต่งเรื่องคำฉันท์ต่อไป และทรงเลือกเรื่องให้อีกด้วย


ขอขอบคุณ มูลนิธิครูเหม เวชกร
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"ต้องศรกามเทพ" สำนวน "รักแรกพบ"
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 0 3046 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2559 16:38:48
โดย Kimleng
ความแตกต่างระหว่าง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
สุขใจ จิบกาแฟ
ฉงน ฉงาย 0 993 กระทู้ล่าสุด 20 ตุลาคม 2563 20:15:04
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.314 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 14 ตุลาคม 2567 02:21:37