Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: 16 มกราคม 2563 15:33:51 » |
|
 ภาพวาดครูเหม เวชกร ๏ โฉมแม่จักฝากฟ้า | | เกรงอินทร หยอกนา | อินทรท่านเทอกเอา | | สู่ฟ้า | โฉมแม่จักฝากดิน | | ดินท่าน แล้วแฮ | ดินฤขัดเจ้าหล้า | | สู่สํสองสํ | ๏ โฉมแม่ฝากน่านน้ำ | | อรรณพ แลฤๅ | เยียวนาคเชยชํอก | | พี่ไหม้ | โฉมนางรำพึงจบ | | จอมสวาสดิ กูเอย | โฉมแม่ใครสงวนได้ | | เท่าเจ้าสงวนเองฯ |
จากวรรณคดีเรื่อง กำสรวลโคลงดั้น : กวีพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความห่วงใย ความอาลัย ว่าเมื่อต้องจากกัน เขาจะต้องฝากนางไว้ที่ไหนดี จะฝากไว้กับฟากฟ้า ก็เกรงพระอินทร์จะนำนางไปเชยชม จะฝากไว้กับพระแม่ธรณี ก็เกรงพระเจ้าแผ่นดินจะนำนางไปครอบครอง จะฝากไว้กับพระแม่คงคา ก็เกรงพญานาคจะนำนางไปเชยชม เห็นทีจะต้องฝากนางไว้กับตัวนางนั่นแหละ ให้นางรักษาเนื้อรักษาตนให้ดี
กำสรวลโคลงดั้น เคยเรียกกันว่า กำสรวลศรีปราชญ์ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดร่ายดั้น ๑ บท และโคลงดั้น ๑๒๙ บท อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิชาทางวรรณคดีไม่เชื่อว่าศรีปราชญ์มีตัวตนและเป็นผู้แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ และเห็นว่าผู้แต่งน่าจะเป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ โดยพิจารณาจากสำนวนโวหารการใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง โบราณสถาน วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระนครศรีอยุธยา ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรุงศรีอยุธยา๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า | | ลงดิน แลฤๅ | อำนาจบุญเพรงพระ | | ก่อเกื้อ | เจดีย์ลอออินทร์ | | ปราสาท | ในทาบทองแล้วเนื้อ | | นอกโสรม ฯ | ๏ พรายพรายพระธาตุเจ้า | | เจียนจันทร์ แจ่มแฮ | ไตรโลกเล็งคือโคม | | ค่ำเช้า | พิหารระเบียงบัน | | รุจิเรข เรืองแฮ | ทุกแห่งห้องพระเจ้า | | นั่งเนือง ฯ | ๏ ศาลาอเนกสร้าง | | แสนเสา โสดแฮ | ธรรมาสน์จูงใจเมือง | | สู่ฟ้า | พิหารย่อมฉลักเฉลา | | ฉลุแผ่น ไส้นา | พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า | | หล่อแสง ฯ | ๏ ตระการหน้าวัดแหว้น | | วังพระ | บำบวงหญิงชายแชรง | | ชื่นไหว้ | บูรพาท่านสรรค์สระ | | สรงโสรจ | ดวงดอกไม้ไม้แก้ว | | แบ่งบาล ฯ | ๏ กุฎีดูโชติช้อย | | อาศรม | เต็มร่ำสวรรค์ฤๅปาง | | แผ่นเผ้า | เรือนรัตน์ภิรมย์ปราง | | สูรยปราสาท | แสนยอดแย้มแก้วเก้า | | เฉกโฉม ฯ | (โคลงกำสรวลสมุทร) โคลงกำสรวลสมุทร แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของราชธานีศรีอยุธยาด้วยงานพุทธศิลป์ทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร พระมหาธาตุเจดีย์ กุฏิ ฯลฯ ที่พระมหากษัติรย์ทรงสร้างสรรค์ศาสนวัตถุอย่างยิ่งใหญ่ด้วยพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเพื่อสำแดงความมั่งคงและวัฒนาของบ้านเมือง
พระมหานครแห่งนี้ปรากฏความรุ่งโรจน์ เป็นที่กล่าวขวัญถึง ไม่เฉพาะแต่ในหมู่ชนชาวอยุธยาเอง แต่ยังรวมไปถึงชนต่างชาติที่มีโอกาสเข้ามาเยือนพระอาณาจักรแห่งนี้ด้วย  ขอขอบคุณเว็บไซต์เจ้าของภาพ : พันทิปดอทคอม ๏ กางกรอุ้มโอบแก้ว | | กากี | ปีกกระพือพาศรี | | สู่งิ้ว | ฉวยฉาบคาบนาคี | | เปนเหยื่อ | หางกระหวัดรัดหิ้ว | | สู่ไม้รังเรียง ๚ | ๏ กางกรอุ้มโอบแก้ว | | เจ้างามแพร้วสบสรรพางค์ | ปีกปกอกเอวนาง | | พลางคลึงเคล้าเต้าจรจรัล | ฉวบฉาบคาบนาคา | | เปนภักษาพาผกผัน | หางกระหวัดรึงรัดพัน | | ดั้นเมฆามาสิมพลี |
บทเห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2563 14:04:56 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2563 18:46:08 » |
|
 ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร ๏ ถ้าแม้พี่เลือกได้ตามใจพี่ | | จะไปพ้นที่นี้นั้นหาไม่ | จะยืนชมขวัญตาผู้ยาใจ | | กว่าจะได้สวมกอดแม่ยอดรัก ฯ | โอ้พ่อยอดยาจิตของมิตร์เอ๋ย | | เมื่อไรเลยจะได้เชยชิดชม | กลิ่นหอมได้ดอมดม | | ห่างรักหักอารมณ์ | โอ้แสนระทมระทวยเอย ฯ | | . |
บทร้องอันเดรกับอันโดรเมดา จากบทละครพูดเรื่อง 'วิวาหพระสมุท' พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #22 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2563 14:29:35 » |
|
 ๏ สิ่งใดในโลกล้วน | | อนิจจัง | คงแต่บาปบุญยัง | | เที่ยงแท้ | คือเงาติดตัวตรัง | | ตรึงแน่น | ตามแต่บุญบาปแล้ | | ก่อเกื้อรักษา๚ |
โคลง ๔ เรื่อง ลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา เป็นนิทานเรื่องทางล้านนา ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ในขณะเมื่อดำรงพระยศเป็นพระราชโอรส
วรรณคดีสโมสรยกย่องให้ "ลิลิตพระลอ" เป็นยอดลิลิต ถึงกับยกย่องเป็นตำรามาแต่โบราณ แม้หนังสือเรื่องจินดามณี ซึ่งพระโหราธิบดี แต่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนาราณ์มหาราชก็คัดโคลงในเรื่องพระลอมาใช้เป็นแบบในหนังสือนั้น ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น และคนทั้งหลายนับถือว่าแต่งดีอย่างยิ่งอีกเรื่อง ๑ ถึงกระนั้นก็ไม่ทำให้ลดความนับถือลิลิตพระลอลงกว่าแต่ก่อน จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ลิลิตพระลอ เป็นยอดลิลิตกว่าเรื่องอื่น
ใครเป็นผู้แต่งลิลิตพระลอและแต่งเมื่อไร ปัญหานี้ดูเหมือนจะยังไม่เคยวินิจฉัยกันให้ถ้วนถี่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานอธิบายและเสนอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือลิลืตพระลอไว้ว่า "ข้างท้ายลิลิตมีโคลงบอกชื่อผู้แต่งอยู่ ๒ บท บทหนึ่งว่า "มหาราชเจ้านิพนธ์" หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง แต่อีกบทหนึ่งว่า "เยาวราชบรรจง" หมายความว่า พระราชบุตรของพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง ที่บอกแย้งกันดังนี้ส่อให้เห็นว่า ผู้แต่งโคลง ๒ บทนั้นเป็น ๒ คน และมิใช่ตัวผู้แต่งลิลิตพระลอ โคลง ๒ บทเป็นของแต่งเพิ่มขึ้นแต่ภายหลัง ส่วนผู้แต่งลิลิตเองได้กล่าวไว้ในโคลงบานแผนกข้างต้นเรื่องว่า "เกลากลอนกล่าวกลการ | | กลกล่อม ใจนา | ถวายบำเรอท้าวไท้ | | ธิราชผู้มีบุญ" | ปัญหาข้อที่ว่าหนังสือลิลิตพระลอแต่งเมื่อไร ข้อนี้ตัดสินใจได้ทันทีว่า แต่งก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลนั้น ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอมาใช้เป็นแบบโคลงสี่ คือบทที่ว่า "เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง | | อันใด พี่เอย | เสียงย่อมยอยศใคร | | ทั่วหล้า | สองเขือพี่หลับใหล | | ลืมตื่น ฤๅพี่ | สองพี่คิดเองอ้า | | อย่าได้ถามเผือฯ | จึงเห็นควรถือเป็นที่ยุติไว้ ว่าลิลิตพระลอนั้นแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวในระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๒๖ ส่วนผู้แต่งนั้น จะว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดยากอยู่ ด้วยจะเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ทั้งนั้นเป็นอันรู้ไม่ได้แน่"...
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2563 14:37:20 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #23 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2563 15:35:13 » |
|
"..ย่านท่าทรายมีร้านชำ ขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหม ผ้าลายกุศราช ย่ำมะหวด สมปักเชิง สมปักล่องจวน สมปักริ้ว เมื่อข้าราชการทำหาย ไม่ทันจะมาหาเปลี่ยนก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า..ฯ ตอนหนึ่งในหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม"ขอขอบคุณเฟชบุ๊ก ร้านธงทองไหมไทย (ที่มาภาพประกอบ) ”ขุนแผนกับลูกชายพลายงาม | | ได้ฟังความปรีดิ์เปรมเกษมศรี | นุ่งสมปักเข้าพลันในทันที . | | ริบรี่มายังท้องพระโรงชัย | น่าสงสารแต่ฝ่ายพระท้ายน้ำ | | ได้ยินคำกรมวังดังจับไข้ | ผลัดสมปักตัวสั่นพรั่นฤทัย | | เผลอไผลตามมาละล้าละลัง | ขุนแผนพลายงามเข้ามาก่อน | | พระท้ายน้ำค่อยผ่อนมาทีหลัง | กราบกรานคลานตามตำรวจวัง | | ต่างหมอบชม้อยคอยฟังพระบัญชา” |
 “ฝ่ายตำรวจในได้รับสั่ง | | วิ่งออกจากวังขมีขมัน | ครั้นถึงจึงบอกพระไวยพลัน . | | รับสั่งทรงธรรม์ให้เข้าไป | พระไวยได้ฟังเป็นการเร็ว | | ฉวยผ้าพันเอวหาช้าไม่ | รู้ข่าวการทัพขยับใจ | | บ่าวไพร่ตามหลังเข้าวังพลัน | นุ่งสมปักลนลานคลานเข้าไป | | บังคมไหว้ก้มหน้าอยู่ที่นั่น” | ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปักในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าฯ จะชักช้าร่ำไรไม่ได้
ตอนที่สมเด็จพระพันวษาให้ตำรวจไปแจ้งข่าวให้ ขุนแผน พลายงาม และพระไวย เข้าเฝ้า ดังกวีบรรยายว่า "นุ่งสมปักลนลาน" คือรีบร้อนเสียจนแทบจะทำอะไรไม่ถูก “ผ้าสองปัก” หรือ “ผ้าสมปัก” เป็นผ้าไหมหน้าแคบ ต้องต่อให้กว้างโดยใช้ผ้าสองผืนต่อกันเรียกว่า “เพลาะ” เมื่อเพลาะแล้วจะกว้างประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร ยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา ๑/๒ เปรียบเสมือนเครื่องแบบที่ขุนนางข้าราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ใช้นุ่งเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน หรือตามเสด็จพระราชดำเนิน เขาไม่นุ่งกันมาจากบ้าน ออกจากบ้านจะเข้าวังก็ใช้ผ้าอื่นนุ่งมาก่อน ให้ทนายถือตามมานุ่งในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเข้าเฝ้าแล้วก็ผลัดออก
ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เป็นผ้ามีระดับ มิใช่ผ้าที่ใครอยากนุ่งก็นุ่งได้ เนื่องจากเป็นผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่ง ใช้เป็นเครื่องแบบเวลาจะเข้าเฝ้าฯ สมัยโบราณผู้ทำความดีความชอบจะได้รับพระราชทานเสื้อหรือผ้านุ่งเป็นรางวัล
ที่ต้องนุ่งกันในวังน่าจะเป็นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” ตอนหนึ่งว่า “...อันผ้าสมปักไหมนั้นเขาไม่นุ่งกันมาแต่บ้านมิได้ เขามานุ่งกันเอาในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเฝ้าแล้วก็ผลัด เห็นจะเพื่อรักษาไม่ให้ทรุดโทรมไปเสียเร็ว เห็นจะเป็นของหายาก...”
ธรรมเนียมการนุ่งผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เข้าเฝ้าฯ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มาถึงจุดเปลี่ยน
ประกาศการแต่งตัวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้ทราบว่า “...ธรรมเนียมข้าราชการนุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอมและฉีกขาด ก็ใช้นุ่งเข้ามาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ...” จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย...”
ข้อมูลอ้างอิง : มติชนสุดสัปดาห์ สองปัก-สมปัก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2563 15:52:19 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #24 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2563 16:29:38 » |
|
พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มหาชินธาตุเจ้า | | เจดีย์ | เหมือนแท่งทิพสิงคี | | คู่เพี้ยง | ฉัตรฅำฅาดมณีควรค่า | | เมืองเอ่ | เปลวเปล่งดินฟ้าเสี้ยง | | สว่างเท้าอัมพเร | เจดีย์พระธาตุเจ้า | | ศรีสถาน | โสภิตพะงาปาน | | เกศเกล้า | ทศมนมิมีปานพอคู่ | | ครบเอ่ | ฤๅเลิศไตรทิพเท้า | | จุดาศรี |
จาก โคลงนิราศหริภุญไชย ผู้รจนา บรรยายความวิจิตรงดงามของพระบรมธาตุเจดีย์สีทองอร่าม ฉัตรยอดเจดีย์สร้างด้วยทองคำประดับอัญมณี แลดูสว่างไสวไปทั่วอากาศและปฐพี .... ดังที่เราเห็นเป็นบุญตาสืบมาจนทุกวันนี้
โคลงนิราศหริภุญไชย แต่งขึ้นเพื่อถวาย “เจ้านาย” ระดับพระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร เป็นการเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุหริภุญไชยที่นครลำพูน ของยุวกษัตริย์เชียงใหม่ คือพระเมืองแก้ว ด้วยกระบวนยาตราขนาดใหญ่ มีการประโคมขับกล่อมมโหรีสลับกันตามรายทาง
โคลงนิราศหริภุญชัย นับเป็นโคลงนิราศเรื่องแรกในวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แต่งขึ้นประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว คือแต่งในปี พ.ศ.๒๑๘๐ หรือก่อนนั้นขึ้นไป ทุกคนที่ได้อ่านโคลงนิราศหริภุญชัยแล้ว ย่อมยอมรับว่าเป็นโคลงที่เก่าแก่มาก ทั้งไพเราะจับใจและเป็นแบบฉบับที่โคลงนิราศชั้นหลังได้เลียนมาใช้เป็นอันมาก
พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะเป็นสีทองอร่าม พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้นสี่มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น ๙ ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๐ วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์
วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดหลวงในจังหวัดลำพูนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในองค์พระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เท่าเรียมร้างจากเจ้า | | เจียนพะงา | อกอ่วงอาดูรดา | | โมดม้วย | เต็มเลงอื่นใดฉลา | | เฉลิมเกศ มกุฎเอ่ | แพงเจตในน้องถ้วย | | พี่ถ้วยเถิงอวร |
จาก โคลงนิราศหริภุญไชยเพียงแต่ที่พี่จากน้องมา ใจพี่เป็นห่วงเป็นทุกข์แทบจะสิ้นชีวิต ถึงแม้จะมองหญิงอื่นแต่งงดงาม แต่จะหาใครเหมือนน้องได้ ไม่มี ... กวีสอดแทรกเรื่องความโศกเศร้าของการที่ต้องจากหญิงคนรัก อันเป็น "ขนบ" ไม่ต่างไปจากฉากชมนกชมไม้ ที่เรารู้จักกันดีในการประพันธ์ "นิราศ" ที่พรรณนาฉากการเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน และอาจเป็นเพียง การรจนาให้เกิดคำประพันธ์ที่สมบูรณ์ตามแบบแผนที่มีมาแต่โบราณกาล |
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2563 16:55:14 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #25 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2563 14:46:44 » |
|
 จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม ๏ รถเอยรถวิมาน | | กำกงแก้วประพาฬอลงกต | ห้ายอดหน้าบันเป็นหลั่นลด | | ช่อฟ้าช้อยชดบราลี | เทียมด้วยพลาหกตัวคะนอง | | ลำพองเพียงพระยาราชสีห์ | พาผ่านอากาศด้วยฤทธี | | สารถีนั่งหน้าประนมกร | เครื่องสูงครบสิงกรรชิงรัตน์ | | กรรภิรมย์มยุรฉัตรประภัสสร | ปี่ฆ้องกลองแห่แตรงอน | | อัมพรสนั่นครรชิต | งามทรงดั่งองค์เทวา | | อันเสด็จลงมาจากดุสิต | งามรถเพียงรถพระอาทิตย์ | | งามพลแข่งฤทธิ์เหาะกันไปฯ | จากเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤศจิกายน 2563 14:52:04 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #26 เมื่อ: 25 มกราคม 2564 15:40:55 » |
|
ตัวอย่างท่ารำในสมุดไทยขาว "ท่าพรหมสี่หน้า"เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า | | สอดสร้อยมาลาเรียงหมอน | เพียงไหล่ผาลาช้านางนอน | | ภมรเคล้าแขกเต้าเข้ารัง | กระต่ายชมจันทร์จันทร์ทรงกลด | | พระภะรตทิ้งสารมารกลับหลัง | ชูชายนาฎกรายเข้าวัง | | มังกรหาแก้วมุจลินทร์ | กินนรร่อนรำเลียบท่า | | องค์พระรามาก่งศิลป์ | มัจฉาลอยล่องฟ่องวารินทร์ | | หลงใหลได้สิ้นงามโสภา | สิงโตเล่นหางกวางโยนตัว | | รำยั่วชักแป้งผัดหน้า | หงส์ทองลอยล่องในคงคา | | เหราเล่นน้ำสำราญนัก | กรีดกรายย้ายย่างกวางเดินดง | | พระนารายณ์ฤทธิรงค์ทรงขว้างจักร | ช้างสารหว่านหญ้าน่ารัก | | พระลักษมณ์แผลงศรจรลี | กินนรฟ้อนฝูงยูงฟ้อนหาง | | ขัดจางนางนางรำสองสี | ลมพัดยอดตองตวัดวี | | สีซอสามสายย้ายเพลงรำ | รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้ | | รำชะนีร่ายไม้เฉื่อยฉ่ำ | เมขลาล่อแก้วลำนำ | | แบบรำตามเยี่ยงโบราณมา |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชนิพนธ์การแสดงชุด "พระภะรตเบิกโรง" โดยนำชื่อท่ารำที่ปรากฏอยู่ในกลอนตำรา มาเรียบเรียงเป็นบทกลอนสลับคำเพื่อใช้ในการ แสดงเบิกโรง วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักท่ารำของไทยมากยิ่งขึ้น แสดงถึง พระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง |
ขอขอบคุณที่มา : ศิลปวิทยาการ จาก สาสน์นสมเด็จ " SAN SOMDET" กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2564 15:45:17 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #27 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2564 20:09:31 » |
|
 ภาพวาด ครูเหม เวชกร เห็นแก้ว แวววับ ที่จับจิต | | ไยไม่คิด อาจเอื้อม ให้เต็มที่ | เมื่อไม่เอื้อม จะได้ อย่างไรมี | | อันมณี ฤๅจะโลด ไปถึงมือ | พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #28 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2564 18:08:11 » |
|
 ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร ๏ รอยรูปอินทร์มาหยาดฟ้า | | มาอ่าองค์ในหล้า | แหล่งให้คนชม | | แลฤๅ |
ฯลฯ ๏ ฦๅขจรในแหล่งหล้า | | ทุกทั่วคนเที่ยวค้า | เล่าล้วนยอโฉม | | ท่านแล |
เกียรติศัพท์ความงามของพระลอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน พิศดูคางสรด พิศศอกลมกลกลึง สองไหล่พึงใจกาม อกงามเงื่อนไกรสร พระกรกลงวงคช นิ้วสลวยชดเล็บเลิศ ประเสริฐสรรพสรรพางค์ แต่บาทางค์ สุดเกล้า พระเกศงามล้วนเท้า พระบาทไท้งามสม สรรพนา |
 ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร ๏ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง | | อันใด พี่เอย | เสียงย่อมยอยศใคร | | ทั่วหล้า | สองเขือพี่หลับใหล | | ลืมตื่น ฤๅพี่ | สองพี่คิดเองอ้า | | อย่าได้ถามเผือ |
พระเพื่อน - พระแพง ปรับทุกข์กับพี่เลี้ยง (นางรื่น - นางโรย) - เสียงเขาร่ำลือเรื่องใดกันหรือพี่? - เขายกย่อง เทิดทูนพระเกียรติผู้ใดไปทั่วหล้าทั่วแผ่นดิน - พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) มัวแต่หลับใหลจนลืมตื่นเลยหรือพี่ - พี่ทั้งสอง (นางรื่น - นางโรย) ไปดูทีซิ เขาร่ำลือเรื่องใดกัน ไม่ต้องมาถามฉัน. | ที่มา วรรณกรรมเรื่อง ลิลิตพระลอ เรื่องพระลอเป็นนิทานพื้นเมืองทางล้านนา นักปราชญ์แต่งเป็นกลอนลิลิตขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวระหว่าง พ.ศ.๑๑๙๑-๒๐๗๖ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #29 เมื่อ: 15 มกราคม 2565 20:50:24 » |
|
 แต่ยังเยาว์คุ้มเท่าเป็นเอกองค์ | | ปิ่นอนงค์นางในทั้งซ้ายขวา | คิดว่าจะไว้ชื่อให้ลือชา | | มิรู้ว่าเริงรวยไปด้วยครุฑ | ด้วยแรงราคจากรสพาราณสี | | ไปลองเล่นฉิมพลีอันสูงสุด | ครั้นเบื่อหน่ายบ่ายเล่ห์เสน่ห์ครุฑ | | กลับมายุดย้ายชมสมคนธรรพ์ | หนึ่งแล้วสองมิหนำซ้ำสาม | | เจ้าทำงามพักตราน่ารับขวัญ | เมื่อเป็นหญิงแพศยาอาธรรม์ | | จะให้เลี้ยงนางนั้นฉันใด | จาก บทกากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
กล่าวถึงเมื่อท้าวพรหมทัตพบนางกากี ซึ่งพญาครุฑนำมาทิ้งไว้ที่พระลานหน้าพระมณเฑียร ถ้อยคำที่ท้าวพรหมทัตได้ทรงเอ่ย ล้วนแต่เสียดสีประชดประชันก่อนจะนำนางกากีไปลอยแพ • เรื่องกากีนี้เป็นนิทานชาดก ในนิบาตชาดก หรือที่เรียกว่า กากาติชาดก สุสันธีชาดก และ กุณาลชาดก ซึ่งภิกษุชาวลังการจนาขึ้น เป็นเรื่องเล่าที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเล่าแก่พุทธสาวกเพื่อให้เห็นข้อธรรม โดยกล่าวถึงทุกข์อันเกิดจากความประพฤติผิดในกาม ว่ามีพระราชาชื่อท้าวพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีมเหสีรูปงามและมีกลิ่นกายหอมนามกากี และมีคนสนิทเป็นคนธรรพ์ชื่อนาฏกุเวร ต่อมามีพญาครุฑที่อาศัยที่วิมานฉิมพลีชื่อเวนไตย ได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์มาเล่นสกาและพบกับนางกากี จึงเกิดความรักและลักพานางไปยังวิมานฉิมพลี นาฏกุเวรสังเกตเห็นจึงแปลงตัวเป็นไรแทรกไปในปีกตามไปยังฉิมพลี ในตอนกลางวันก็อยู่กับนางกากี กลางคืนก็แปลงกายมิให้พญาครุฑจับได้ ครั้นพอเวลาที่เวนไตยจะลงมาเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรจึงแปลงเป็นไรแฝงมาในปีกพญาครุฑกลับมายังกรุงพาราณสี ขณะที่เล่นสกานาฏกุเวรก็ขับพิณถวาย โดยกล่าวถึงโฉมนางกากีและวิมานฉิมพลี ครั้นพอพญาครุฑได้ฟังก็ถามลองเชิงว่ารู้จักวิมานฉิมพลีได้อย่างไรเพราะไกลเกินกำลังมนุษย์จะไปถึง นาฏกุเวรเล่าว่าแปลงเป็นไรแทรกไปในขนปีกพญาครุฑ ก็ทำให้พญาครุฑเกิดความอับอาย และนำนางกากีมาคืน ซึ่งความในนิบาตชาดกจบเพียงเท่านี้ แต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้นิพนธ์เพิ่มเติมให้นางกากีถูกลงโทษด้วยการลอยแพ.
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2565 21:06:31 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #30 เมื่อ: 16 มกราคม 2565 20:32:46 » |
|
 ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน | | ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่รังไหน | นอนไหนก็นอนได้ | | สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน | ลมพัดมาอ่อนอ่อน | | เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย | ดอกเอ๋ย | | ดอกขจร | นกขมิ้นเหลืองอ่อน | | ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย. | จาก เพลงนกขมิ้น (ขับร้อง-มโหรี)
อารมณ์ของเพลงนี้ สะท้อนความเหงาของคนจร โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของนกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พเนจรร่อนเร่ หรือเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มกราคม 2565 20:35:40 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #31 เมื่อ: 23 มีนาคม 2565 12:08:56 » |
|
 ภาพวาด ดินสอ 2B ๏ ผึ้งเอยผึ้งน้อย | | เที่ยวล่องลอยลมรสมธูหวาน | รู้สึกรักหนักดวงกมลมาลย์ | | โดยเดือดดาลรักใหม่ไม่สมปอง | นึกใคร่เห็นตัวผู้ที่ตรูเนตร | | ทุกข์เทวษหวานใจให้หม่นหมอง | โอ้ไฉนจะสมอารมณ์ปอง | | เป็นคู่ครองคลึงเคล้าเย้ายวนเอยฯ (๔๙) | จากบทละครสันสกฤต เรื่อง "ปริยทรรศิกา" นาฏิกาสันสกฤต พระราชนิพนธ์ ใน พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ กษัตริย์ภารตวรรษ (อินเดีย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยเทียบกับบทเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตและปรากฤต ซึ่งได้แปลงแล้วจากอักษร เทวนาครีเป็นอักษรโรมัน เพื่อถ่ายทอดให้ได้ใกล้เคียงความเดิมของผู้แต่งมากที่สุด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2565 12:52:01 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
 Chrome 99.0.4844.74
|
 |
« ตอบ #32 เมื่อ: 24 มีนาคม 2565 15:55:56 » |
|
 มาจะกล่าวบทไป | | ถึงองค์อสัญแดหวา | ซึ่งเป็นบรมอัยกา | | สถิตยังชั้นฟ้าสุราลัย | จึงนิมิตกริชแก้วสุรกานต์ | | นามกรพระหลานจารึกใส่ | ครั้นเสร็จเสด็จจากวิมานชัย | | เหาะมากรุงไกรกุเรปัน ฯ | ครั้นถึงจึงวางกริชลง | | ข้างพระองค์กุมารหลานขวัญ | อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ | | กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า |
ที่มา : "อิเหนา" (ตอนอิเหนาประสูติ) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) กริช เป็นอาวุธสำคัญของชาวชวา ซึ่งต่อมาชาวมลายูและชาวหมู่เกาะอินโดนีเซียอื่นๆ ได้มีค่านิยมในการนำมาใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากถือว่าเป็นอาวุธสำคัญสำหรับต่อสู้ศัตรูป้องกันตัวแล้ว ชาวชวามลายูยังถือกันว่าเป็นเครื่องประดับอันสง่างามและทรงเกียรติ เช่นเดียวกับชาวยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ที่ถือว่าการคาดกระบี่นั้น ย่อมดูมีความงามสง่าและดูภาคภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวมลายู จึงถือเป็นคติว่า สมบัติ ๓ อย่างที่ผู้ชายสูงศักดิ์จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียไม่ได้ จึงประกอบไปด้วย ๑) บ้านดี ๒) ภรรยาดี และ ๓) กริชดี
สำหรับเหตุผลที่เวลาแสดงละครใน เรื่องอิเหนา แล้วตัวละครต่าง ๆ ที่เกิดมาในวงศ์เทวัญ เช่น อิเหนา สียะตรา สุหรานากง ฯลฯ จะต้องเหน็บกริชนั้น เป็นเพราะว่าตัวละครทุกตัวในวงศ์เทวัญ เมื่อประสูติแล้วต่างได้กริชประทานประจำตัวพร้อมจารึกชื่อ จากองค์ปะตาระกาหลาเกือบทั้งสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #33 เมื่อ: 04 เมษายน 2565 20:19:49 » |
|
ภาพวาดฝีมือครูเหม เวชกร ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถี เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบเทวฑูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทรงเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา "สพเพ | | สํขารา | | อนิจฺจาติ | สังขารไม่เที่ยงทั้ง | | สากลย์ | ยทา | | ปฺญาย | | ปสฺสติ | ผู้มั่นปัญญายล | | แยบนี้ | อถ | | นิพฺพินฺทติ | | ทุกฺเข | ย่อมเหลือเบื่อวังวน | | เวียนทุกข์ | เอส | | มคฺโค | | วิสุทฺธิยาฯ | มรรควิสุทธิ์ดุจชี้ | | เชิดกว้างทางธรรมฯ" | ที่มา เรื่อง "สามกรุง" พระนิพนธ์เรื่องสุดท้ายของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส." โคลงบทนี้ แสดงความสามารถในตัวผู้นิพนธ์ ที่ทรงนำคาถาภาษาบาลีมาแปลเป็นโคลงสี่สุภาพ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2565 20:22:43 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 4742
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
 Mozilla รองรับ
|
 |
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2565 19:43:08 » |
|
ภาพประกอบ : ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร • ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ | | เมียตน | เมียแล่พันฤๅดล | | แม่ได้ | ทรงครรภ์คลอดเป็นคน | | ฤาง่าย เลยนา | เลี้ยงยากนักท้าวไท้ | | ธิราชผู้มีคุณ ฯ | ที่มา : "ลิลิตพระลอ" นิยายพื้นบ้านของไทยเหนือ ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
โคลงบทนี้ ให้ข้อคิดในเรื่องของ "ความรัก" และสอดแทรกคำสอน ว่า การมีชู้กับหญิงอื่นสักร้อยคนก็ตาม ความรู้สึกซาบซึ้งในความรักความผูกพันก็ไม่เท่ากับเมียของตน แต่ถึงจะมีเมียสักหนึ่งพันคน ก็ไม่อาจจะรักเมียเหล่านี้ให้เท่ากับแม่ของตนได้ แม่เป็นผู้ให้ตั้งแต่ให้ชีวิต ให้การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น แม้จะเหนื่อยยากแสนเข็ญเพียงไร แม่ก็ไม่ย่อท้อ จึงไม่มีผู้ใดในผืนปฐพีนี้ จะมีพระคุณอันยิ่งใหญ่เทียบเท่า "แม่" |
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2565 19:47:13 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
กำลังโหลด...