[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 08:27:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 116
1  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระเครื่อง เมื่อ: วานนี้

เหรียญหลวงพ่อหรุ่น

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2460 หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก พระเกจิดัง สมุทรสงคราม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2566


กาลสมัยผ่านมาลุ่มน้ำแม่กลองถือเป็นแหล่งสรรพวิชา มากด้วยพระเกจิอาจารย์ นับเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่เคยขาดหาย

แต่ถ้าให้กล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ที่เป็นจุดหมายปลายทางของพระธุดงค์สมัยก่อน วัดช้างเผือก ถือเป็นแหล่งรวมพระธุดงค์มากมายหลายรูป

เนื่องจากมีพระเกจิอาจารย์ผู้มากวิชาโดดเด่น ด้านการทำน้ำมนต์ และวิชามหาอุตม์ นั่นก็คือ พระอธิการรุฬ หรือหลวงพ่อหรุ่นนั่นเอง

“หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร” วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

ช่วงบั้นปลายชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกและแจกให้ผู้ที่มาร่วมบุญ ทุกรุ่นล้วนแต่ได้รับความนิยม

“เหรียญรุ่นแรก” ได้รับความนิยมอย่างสูงไปด้วย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เพื่อแจกในงานศพของท่านเอง มีพระเกจิชื่อดังสมัยนั้นปลุกเสกเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกระพ้อม, หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต วัดช่องลม, หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย, หลวงพ่อช่วง อินทโชติ วัดปากน้ำ, หลวงพ่อใจ อินทสุวัณโณ วัดเสด็จ และลูกศิษย์อีกเป็นจำนวนมาก

มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง สร้างน้อยมาก

ด้านหน้า ขอบเหรียญมีลายกนก ตรงกลางมีรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ มีอาสนะรองรับ ระบุปี “พ.ศ.๒๔๖๐”

ด้านหลัง ด้านบนสุด เขียนคำว่า “วัดช้าง” ถัดลงมาเป็นยันต์ ความว่า “อะระหัง อะสัง วิสุโล ปุสะพุภะ”

แม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ก็หายาก





หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ที่บ้านไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายรุ่ง มารดาชื่อ นางล้อม มีอาชีพทำนาและค้าขาย

ครอบครัวฝ่ายมารดาเป็นชาวบางช้าง จ.สมุทรสงคราม บ้านใกล้กับวัดบางจาก เป็นญาติกับหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก ศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

ต่อมาบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอม ที่สำนักวัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่เป็นครู เรียนจนจบอ่านออกเขียนได้

พ.ศ.2492 อายุครบบวช จึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่ วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี กับพระอาจารย์อ่วม วัดไทร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า พุทธสโร

ศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องบทสวดมนต์จนจบ จำพระปาฏิโมกข์แม่นยำ ซึ่งถือว่าหาอาจารย์ที่แคล่วคล่องในระดับนี้ได้ยากมากสมัยนั้น

นอกจากนี้ ยังสนใจเรื่องธุดงควัตร จึงไปศึกษากับพระอาจารย์แสวง วัดบางปลาม้า ออกธุดงค์ไปหลายแห่งฝึกพลังจิตจนแก่กล้า

พรรษาที่ 6 เดินทางมาในงานศพนางแจ่ม ซึ่งเป็นยายที่บ้านใกล้วัดบางจาก จึงได้รู้จักกับพระอุปัชฌาย์เอี่ยม วัดบางจาก

หลวงพ่อเอี่ยม จึงชวนให้มาอยู่ด้วยกัน ต่อมาบิดาเสียชีวิตลง มารดาจึงชวนกันอพยพกลับมาอยู่ที่บางจาก ก็เลยมาจำพรรษาที่วัดบางจาก

ชอบออกธุดงค์แบกกลดเข้าป่าเป็นประจำ ได้ศึกษาพุทธาคม สมุนไพร แพทย์แผนโบราณ จากพระอาจารย์ในป่าลึก ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายจนเป็นที่พึ่งของภิกษุ สามเณร และชาวบ้านในแถบนั้น

ต่อมาวัดช้างเผือกว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาส ด้วยวัดช้างเผือกในขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก พอมาอยู่ที่วัดช้างเผือก ก็เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดเรื่อยมา มีพระและชาวบ้านมาขอเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยเป็นจำนวนมาก

เกิดความนิยมในหมู่พระสงฆ์ที่ออกธุดงค์ทั้งหลายว่า ต้องมาปักกลดที่วัดช้างเผือกเพื่อศึกษาวิชาด้วย จนทำให้พื้นที่ของวัดแน่นขนัดไปด้วยกลดจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านมาให้รักษาโรคแทบทุกวัน คนถูกผีเข้าเจ้าสิงก็มาให้รดน้ำมนต์กันจนแน่นวัด จนเป็นที่รู้จักกันทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง

ได้รับการถ่ายทอดวิชาทำผงวิเศษ 108 จากหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก

หลวงพ่อหรุ่นเป็นพระที่มีเมตตาไม่ปิดบังวิชา ใครมาขอเรียนด้วยก็ยินดีสอนให้ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อหรีด วัดเพลง, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี เป็นต้น

มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.2458 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •




เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย


เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อบ่าย

เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม ยอดพระเกจิลุ่มแม่กลอง

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566


พระเกจิอาจารย์สายลุ่มน้ำแม่กลอง อาวุโสรองจากหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย คือ “หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต” วัดช่องลม ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม วัตถุมงคลได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เป็นทั้งน้องและศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมากกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิชื่อดังในยุคเดียวกัน

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง อาทิ เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่เหรียญหล่อ สร้างปี พ.ศ.2460 คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรโล้น”

เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย 
ลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง องค์พระมีตัวอุ แทนเกศเปลวเพลิง จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา องค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษร อ่านว่า “วัจชังลม”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวอุ ใต้ตัวอุมีการผูกยันต์หัวใจพญาเสือโคร่ง “ภูภิภุภะ” และอักขระยันต์อื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีอีกเหรียญหล่อโบราณที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรแหลม”

เหรียญดังกล่าว สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษรอ่านว่า “วจชง”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวนะ ใต้ตัวนะมีพระคาถา 4 แถวเรียงลงมา อ่านว่า “กิ ริ มิ ทิ” “กุ รุ มุ ทุ” “เก เร เม เท” “กึ รึ มึ ทึ” ส่วนด้านล่วงสุดเป็นตัวอักษร “อ”

เป็นอีกวัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธาและเชื่อมั่นในพุทธาคม





หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต

ชีวประวัติ หลวงพ่อบ่าย ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานน้อยมาก แต่เท่าที่สืบค้นมาได้ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับพุทธศักราช 2404 ที่บ้านครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

เป็นเด็กกำพร้าซึ่งพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี พี่ชายหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่ออายุ 10 ปี ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจากพระอาจารย์คล้ำ วัดสวนทุ่ง ก่อนบรรพชาเป็นสามเณร

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ มีหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พุก วัดสวนทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ เป็นอนุสาวนาจารย์

อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี

ด้านการศึกษาวิทยาคมนั้นเรียนกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ อีกทั้งยังได้เรียนเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม พร้อมกับเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานและพุทธาคมควบคู่กันไปด้วย ท่านจึงมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อแก้วเป็นอย่างยิ่ง

ปี พ.ศ.2437 ไปธุดงค์ที่จังหวัดสระบุรี เพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉาย โดยมีพระภิกษุติดตามไปด้วย 4 รูป คือ อาจารย์ไปล่ พระยา พระพลอย และโยมอุปัฏฐากหนึ่งคน ออกเดินทางในราวเดือน 12

เมื่อไปถึงและนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉายแล้ว พักแรมอยู่ประมาณเดือนเศษ ก่อนเดินทางต่อไปที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในราวเดือน 4 กลางเดือน พักแรมอยู่ที่พระแท่นดงรัง 7 วัน

ครั้นเสร็จภารกิจแล้ว ก็เดินกลับวัดช่องลม การไปธุดงค์ในครั้งนี้เป็นเวลา 4 เดือนเศษ

ขณะนั้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม แทนหลวงปู่แก้ว ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ในปี พ.ศ.2445

พ.ศ.2470 จึงย้ายที่ตั้งวัดใหม่ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งวัดช่องลม เดิมติดโค้งน้ำของแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดน้ำกัดเซาะตลิ่งพังไปทุกปี จนท้ายที่สุดน้ำกัดเซาะพังจวนจะถึงกุฏิ จึงย้ายมาตั้งในพื้นที่ปัจจุบัน

การก่อสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ นั้นไม่เคยบอกใคร ไม่เคยเรี่ยไรนอกวัด เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่าจะทำอะไร ก็จะมีผู้คนจำนวนมากมายมาร่วมทำบุญ บางรายถวายอิฐบ้าง บางรายถวายไม้บ้าง บางรายถวายกระเบื้องบ้าง บางรายไม่มีทรัพย์ก็เอาแรง บางรายถวายปัจจัยบ้าง สุดแต่ว่าใครมีอะไรก็นำมาตามกำลังศรัทธา

มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธฉาย (ถ้ำไห) ซึ่งรับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ด้วยการบอกบุญกับชาวบ้านขอไหต่างๆ และก่อสร้างโดยพระสงฆ์ ขอร้องให้จางวางสอน (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง และสร้างแพะไว้หน้าถ้ำ 1 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงพ่อบ่าย

ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลก พวกโจรมิจฉาชีพตัดหัวแพะ และถอดเอาตรีที่ปักยอดเจดีย์ไปเกือบหมด เพื่อหวังทรัพย์ จึงเหลืออยู่แต่ยอดบนๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ถือเป็นพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมเข้มขลังในยุคนั้น ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ เมื่อปี พ.ศ.2481 และงานพุทธาภิเษกใหญ่แทบทุกงาน

วัตถุมงคลที่จัดสร้างล้วนแต่มีพุทธคุณโดดเด่น เป็นที่ปรารถนา ทั้งประเภทเครื่องรางของขลัง เหรียญหล่อโบราณ พระพิมพ์ พระผง ฯลฯ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2485

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 60 •


2  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / ยาดมไทย ใครๆ ก็ทำได้ เมื่อ: 16 เมษายน 2567 17:23:19


ยาดมไทย ใครๆ ก็ทำได้

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 เมษายน 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2567



ซอฟต์เพาเวอร์ จะหมายความอย่างไรแน่ยังไม่มีข้อสรุป แต่ก็กำลังเป็นความหวังสร้างเศรษฐกิจไทย

ยาดมไทยนับเป็นซอฟต์เพาเวอร์หรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ต่างชาติหลายภาษามาไทยนิยมซื้อกลับไปใช้และเป็นของฝาก คนไทยเองก็พกพาสูดดมกันทั่วไปทุกภาค

ถ้าว่ากันตามเกณฑ์กระทรวงวัฒนธรรม ที่ประกาศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับจังหวัดและระดับชาติ ก็ต้องบอกว่า ยาดมไทยยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน มีที่ใกล้เคียงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2556 คือ “ยาหม่อง” ในประเภท : การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

ทางกระทรวงวัฒนธรรมให้ความรู้ไว้ว่า แต่ก่อนที่ผลิตยาหม่องออกมาขายนั้น บรรดานายห้างและร้านค้าได้จ้างลูกจ้างชาวพม่า (ซึ่งแสดงว่าไทยรับเอาแรงงานเพื่อนบ้านมานานแล้ว) ออกมาเดินเร่ขายตามบ้าน ชาวบ้านพากันเรียกยาขี้ผึ้งกันทั่วไปว่า “ยาหม่อง” เรื่อยมา

วิธีการปรุงยาหม่องแต่ดั้งเดิมนั้น จะใช้สมุนไพรหลายชนิดแล้วแต่สูตร แต่ก็มีสรรพคุณได้ทั้งยาทาและยาดม จึงพบสมุนไพรที่ใช้กันส่วนมากเป็นพวกให้น้ำมันหอมระเหยหรือมีกลิ่นหอมเย็น เช่น พิมเสน การบูร เกล็ดสะระแหน่ น้ำมันระกำ น้ำมันกานพลู น้ำมันอบเชย เป็นต้น และนำมาผสมในตัวขี้ผึ้งเพื่อให้เป็นเนื้อยาหม่อง

โดยในอดีตก็มักใช้ขี้ผึ้ง หรือไขสัตว์ต่างๆ ในปัจจุบันก็ใช้ตัวช่วยทันสมัยหาได้ง่ายจำพวกพาราฟินและวาสลีนในการทำยาหม่อง และมีสูตรผสมตามแต่จะต้องการสรรพคุณ เช่น แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้นวดแก้ปวดเมื่อย ฯลฯ และยาหม่องยังใช้สูดดมแก้วิงเวียน คัดจมูกได้ด้วย เข้าข่าย 2 in 1 นั่นเอง

สําหรับ “ยาดมไทย” มีดีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในมุมยาสมุนไพรยาดมช่วยให้ลมทั่วร่างกายเดินได้สะดวก สูดยาดมที่ไรช่วยให้จมูกโล่ง สมองโล่ง หายใจไม่ติดขัดออกซิเจนในเลือดก็เดินดี ช่วยให้การสูบฉีดโลหิตดีขึ้น ก็ทำให้หทัยวาตะหรือลมเลี้ยงหัวใจเดินคล่อง

ยาดมจึงช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า หายง่วงและมึนงง และช่วยให้มีภูมิต้านทานโรคดีเพราะเลือดลมเดินดีด้วย

ตามภูมิปัญญาไทยเราร่ำรวยสูตรยาดม คนที่สนใจยาดมชื่อโบราณก็น่าจะเคยได้ยินยาดมส้มโอมือ ซึ่งเป็นพันธุ์หนึ่งของส้มมะงั่ว หรือสูตรยาดมผิวส้ม 8 อย่างก็มี

ในครั้งนี้ขอเสนอสูตรยาดมที่ทางมูลนิธิสุขภาพไทยนำสูตรจากการเผยแพร่ของศูนย์ข้อมูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำมาปรับประยุกต์และนำไปอบรมให้นักเรียนโรงเรียนประชานิเวศน์แผนกมัธยม และสอนให้เด็กในชุมชนในกรุงเทพฯ 2-3 แห่ง เพื่อทำไว้ให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายใช้พึ่งพาตนเอง

สูตรยาดมทั่วไปแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทเป็นน้ำหรือของเหลว และที่เป็นสมุนไพรบดใส่ถุงในกระปุกให้สูดดม สูตรยาดมที่ทางมูลนิธินำไปสอนให้ทำเองนั้น เป็นการผสมผสานให้เป็นยาดมที่มาจากสมุนไพรบดผสมกับสารให้กลิ่นหอม จึงได้ยาดมที่มีของเหลวผสมในสมุนไพรแห้งด้วย

ส่วนประกอบที่ใครๆ ก็ทำได้ ให้นํากระวาน 1 ผล โป๊ยกั๊ก 1 ผล กานพลู 5 ดอก อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี 1 ช้อนชา พริกไทยดำ 1 ช้อนชา สมุนไพรแห้งเหล่านี้หาซื้อตามร้ายขายวัตถุดิบยาไทย เคล็ดลับคือ ควรตำหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จะดีกว่าไม่บด สมุนไพรที่ละเอียดจะให้กลิ่นหอมหรือกลิ่นเฉพาะตัว หอมนวลเวลาสูดดม สัดส่วนที่กล่าวไว้เมื่อบดหรือตำแล้ว คลุกให้เข้ากัน ใส่ภาชนะไว้ก่อน

ส่วนประกอบจำพวกที่ผสมแล้วจะเป็นของเหลว คือ ใช้การบูรและพิมเสน อย่างละ 1 ช้อนชา ผสมในกระปุกปากกว้างมีฝาปิด คนเข้ากันจะเป็นของเหลว แค่การบูรและพิมเสนก็ใช้ได้แล้ว แต่ถ้ามีทุนทรัพย์ก็สามารถเติมสมุนไพรที่มีราคาแพงขึ้นได้อีก 2 ชนิด จะช่วยกลิ่นดียิ่งขึ้น คือ เติมเมนทอล 2 ช้อนชา ผสมลงไปเป็นของเหลว เมื่อละลายเข้ากันดีแล้ว เติมน้ำมันยูคาลิปตัสสัก 3 ม.ล. ปิดฝาไว้

สูตรสมุนไพรนี้ สามารถแบ่งสมุนไพรแห้งที่บดแล้วลงไปในขวดเล็กขนาด 7 ม.ล. ได้ถึง 3 ขวด จากนั้นก็เทน้ำมันสมุนไพรที่เป็นของเหลวที่เตรียมไว้ลงไปในขวดเล็กๆ ทั้ง 3 ขวด เคล็ดลับอีกประการคือ ให้หาผ้ากอซหรือสำลีเล็กๆ ขนาดพอดีกับปากขวด ปิดไว้จะช่วยให้กลิ่นอยู่นานขึ้น บางคนไม่ชอบกลิ่นพิมเสนการบูรจะไม่ใส่ก็ได้ และสารให้กลิ่นเหล่านี้ไม่ควรสูดดมถี่และมากไป จะทำให้ระคายเคืองจมูกได้ เด็กเล็กไม่ควรใช้

สมุนไพรในยาดมสูตรนี้หาได้ง่ายทั่วไป ทั้งกระวาน กานพลู อบเชย ลูกผักชี พริกไทยดำ แต่คงมีคนสงสัยว่า โป๊ยกั๊ก นี่เป็นสมุนไพรจีนมาได้อย่างไร ก็คงเพราะวัฒนธรรมผสมผสานไทยจีน หมอยาไทยเองก็เรียกว่าจันทน์แปดกลีบ ตามลักษณะรูปดาวแปดแฉก และชื่อ โป๊ยกั๊ก (โป๊ย = แปด, กั๊ก = แฉก) ซึ่งก็มีการนำมาใช้ตามสรรพคุณตำรายาไทยด้วยคือ ผลใช้ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย แก้ไอ แก้เกร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้ปวดท้อง ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำนม เพิ่มการไหลเวียนโลหิต

และยังมีการใช้น้ำมันหอมระเหยจากจันทร์แปดกลีบนี้ผสมในยาผงชนิดหนึ่งใช้แก้อาการหืดหอบ น้ำมันหอมจากโป๊ยกั๊กจึงมีกลิ่นช่วยระบบทางเดินหายใจได้และช่วยการไหลเวียนเลือด จึงเป็นกลิ่นหอมที่ดีในยาดมนั่นเอง

กิจกรรมครอบครัวทำยาดมไทยติดตัวติดบ้านได้ง่ายๆ แต่สำหรับ “ยาดมไทย” แม้ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาชาติ แต่ก็เป็นซอฟต์เพาเวอร์สร้างมูลค่าการตลาดวงการสมุนไพรนับพันล้านแล้ว •



คอลัมน์   โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง   https://www.matichonweekly.com/column/article_760031
3  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระเครื่อง เมื่อ: 16 เมษายน 2567 17:14:30

พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-พระมอญแปลง-พระประคำรอบ-พระปรกชุมพล

พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-มอญแปลง ประคำรอบ-ปรกชุมพล

ที่มา -  คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อ งมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2566



จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกพื้นที่ที่มีการค้นพบพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีพุทธลักษณะที่หลากหลาย มีการตั้งชื่อเรียกเป็นเอกลักษณ์แตกต่างไปจากที่พบในแหล่งอื่นทั่วไป

ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว ที่เรียกว่า พระขุนแผน ซึ่งใช้ชื่อตัวละครเอกในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่อง ขุนช้างขุนแผน กำหนดเรียก และรู้จักกันในฐานะพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในด้านเมตตามหานิยม

สำหรับ “พระชุดกิมตึ๋ง” เป็นพระพิมพ์อีกหนึ่งของสุพรรณบุรีที่มีชื่อเรียก และพิมพ์ทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ


พระเครื่องชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วยพระ 4 องค์ คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระนาคปรก หรือพระปรกชุมพล รวมเป็นสี่องค์

พระชุดนี้เป็นพระกรุที่ถูกพบที่วัดพลายชุมพล ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ติดกับเขตวัดพระรูป มีซากพระเจดีย์ที่พังทลายลงมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2446 ไม่มีใครทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงอย่างไร เหลือแต่ฐานซึ่งกว้างมากประมาณ 50 เมตร นับว่าเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งทีเดียว บริเวณรอบฐานพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2446 มีพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ปะปนกับเศษอิฐกองอยู่เต็มไปหมด
 
ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจกันนัก บ้างก็เห็นว่าเป็นของวัด ไม่ควรนำมาไว้ที่บ้าน และอีกอย่างหนึ่งคือ พระมีมากมายกองอยู่เต็มไปหมด

ต่อมามีพวกนักเที่ยว พวกวัยรุ่นคะนองสมัยนั้น เมื่อผ่านมา ต่างก็หยิบพระไปคนละองค์สององค์ บ้างก็เอาผูกกับผ้าคาดแขนไว้ บ้างก็อมไว้ในปาก แล้วไปเที่ยวตามถิ่นต่างๆ และเกิดกระทบกระทั่งกับเจ้าถิ่น เกิดมวยหมู่ ตะลุมบอนกัน ทั้งมีดทั้งไม้

ปรากฏว่าคนที่เอาพระกรุนี้ไปด้วย ไม่มีใครเลือดตกยางออก ส่วนคนที่ไม่ได้เอาพระติดตัวไป ปรากฏว่าได้เลือดทั้งสิ้น

หลังจากนั้น จึงทำให้ชื่อเสียงของพระกรุนี้โด่งดังไปทั่ว และมีประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว พระกรุนี้จึงเริ่มถูกตามเก็บ จนร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด

พระกรุชุดดังกล่าว มีรูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกัน มี 4 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมา คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล

“พระสี่กร” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร ยอดบนค่อนข้างแหลมกว่าทุกองค์ องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย พระเกศสูงชะลูด พระพักตร์เลือนไม่ปรากฏรายละเอียด พระกรทั้งสองข้างเป็นคู่ตามชื่อเรียก เนื้อองค์พระส่วนมากหนึกแน่นและแกร่ง มีเม็ดทรายน้อย

“พระมอญแปลง” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีก มีทั้งพิมพ์ใหญ่ ความสูง 4-4.5 เซนติเมตร และพิมพ์เล็ก สูง 3 เซนติเมตร องค์พระแสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ไม่แน่นและแกร่งเท่าพระสี่กร

“พระประคำรอบ” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก แต่ค่อนข้างกลมกว่าทุกพิมพ์ องค์พระแสดงปางมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีลักษณะคล้ายดอกจิก รอบซุ้มมีเม็ดกลมลักษณะเป็นลูกประคำ ตามชื่อเรียก

“พระนาคปรก” หรือ “ปรกพลายชุมพล” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีกเช่นกัน มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก องค์พระประทับนั่งแสดงปางสมาธิ เศียรพญานาค 7 ตัวแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง พิมพ์ใหญ่เนื้อหยาบ ส่วนพิมพ์เล็กเนื้อค่อนข้างละเอียด

พิมพ์ด้านหลังพระชุดกิมตึ๋ง ทั้ง 4 องค์ มีลักษณะมนและขรุขระเล็กน้อย บางองค์มีรอยหยิบด้วยมือ บางองค์เป็นลายมือ

พระชุดนี้เป็นที่นิยมกันมากในสุพรรณบุรี ต่างก็เสาะกันมากและพยายามหาให้ครบ 4 องค์ และเรียกกันในสมัยนั้นว่า “พระชุดพลายชุมพละ”

ต่อมาพระเครื่องชุดนี้แพร่หลายเข้ามาสู่เมืองกรุง และได้รับความนิยมกันมากเช่นกัน และก็มีผู้ตั้งชื่อกันใหม่ว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” แต่ก็สืบค้นไม่ได้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ “กิมตึ๋ง” เป็นชื่อที่มีความเป็นมาอย่างไร

สืบสาวราวเรื่อง พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชา อันประกอบด้วย ชุดถ้วยกระเบื้องเคลือบ และชุดกระเบื้องเคลือบที่ได้รับรางวัล มีชื่อเสียงได้รับคำยกย่องว่าสวยงามมาก คือ ชุดกิมตึ๋ง ซึ่งเป็นเครื่องถ้วยที่พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน มาจำหน่ายในประเทศไทย ถ้วยที่ส่งมาใต้ก้นประทับตราว่า “กิมตึ๋ง-ฮกกี่” แปลว่าเครื่องหมายอันวิเศษอย่างเต็มที่

ถ้วยที่ส่งมาชุดนี้ ส่งมาเป็นชุด 4 ใบ อาจจะเป็นเพราะพอดีกับพระชุดพลายชุมพลมี 4 องค์พอดี และมีคุณวิเศษอยู่ด้วย จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกพระชุดนี้ในเวลาต่อมาว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

ส่วนชื่อกรุนั้น วัดพลายชุมพลซึ่งเป็นวัดร้างติดกับวัดพระรูป จนกลายมาเป็นกรุวัดพระรูปไปโดยปริยาย

บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง ให้ความเห็นว่า พระชุดกิมตึ๋งอาจไม่สวยงามนัก เนื่องจากเป็นศิลปะแบบนูนต่ำตื้น แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุดังกล่าว แต่คุณวิเศษที่เลื่องกันมากในด้านอยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่ยอมรับ และนิยมในหมู่ผู้ที่สะสมในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า ถ้าเอาพระสมเด็จวัดระฆัง มาแลกกับพระชุดกิมตึ๋งทั้งชุด รับรองว่าเจ้าของพระชุดกิมตึ๋ง ต้องไม่ยอมอย่างแน่นอน

อีกประการหนึ่ง พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 องค์ เวลานำมาห้อยคอ จึงมักนำพระมาเพิ่มอีกองค์หนึ่ง จะได้ครบ 5 องค์ และมักจะนิยมนำพระขุนแผนไข่ผ่ามาห้อยไว้ตรงกลาง เป็นอันครบ 5 องค์ •





พระลีลาทุ่งเศรษฐีหลวงพ่อนารถ

พระปางลีลาทุ่งเศรษฐี หลวงพ่อนารถ นาคเสโน วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2566



“พระครูโสภณประชานารถ” หรือ “หลวงพ่อนารถ นาคเสโน”  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง หมู่ 1 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปของเมืองกาญจน์

วิทยาคมไม่เป็นสองรองใครในยุคนั้น วัตถุมงคลได้รับความนิยมแทบทุกชนิด แต่บางอย่างหาชมของแท้ได้ยากยิ่ง

โดยเฉพาะ “พระลีลาทุ่งเศรษฐี” สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 จนถึงปี พ.ศ.2508

ลักษณะเป็นพระยืนปางลีลาทุ่งเศรษฐี โดยหลวงพ่อนารถ ผสมเนื้อและกดพิมพ์เองที่วัด โดยจะทยอยสร้างเรื่อยๆ ดังนั้น เนื้อพระจะมีสีอ่อนหรือเข้มแตกต่างกันไปตามแต่ส่วนผสมของมวลสารในครกนั้นๆ

เท่าที่พบเห็นสามารถแยกเนื้อพระออกเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อสีขาวอมชมพู (แก่ผง) และเนื้อสีน้ำตาลเข้ม (แก่ว่าน) โดยองค์พระมีทั้งที่ทาทอง และไม่ทาทอง

ในพระชุดนี้ สันนิษฐานว่าหลวงพ่อนารถฝังตะกรุดไว้ทุกองค์ (บางองค์จะเห็นตะกรุดโผล่ออกมาให้เห็น)

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางลีลาทุ่งเศรษฐี บนฐานบัวหงาย องค์พระมีเส้นรอบพิมพ์ ที่ยอดขององค์พระมีการติดชันโรงเสกของหลวงพ่อ ในบางองค์จะมีการทาบรอนซ์ทอง

ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ

พุทธคุณโดดเด่นด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี ปืนผาหน้าไม้ มีดหอกของแหลมไม่ระคายผิว ซึ่งผู้ที่มีวัตถุมงคลต่างมีประสบการณ์มากมาย

ได้รับความนิยมสูงและนับวันจะหายาก





หลวงพ่อนารถ นาคเสโน


เดิมท่านมีชื่อว่า นารถ เพิ่มบุญ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2444 ที่ที่บ้านหมู่ 1 ต.หุน้ำส้ม อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายพิมพ์ และนางสมบุญ เพิ่มบุญ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แต่ด้วยที่ฐานะทางบ้านยากจน พอเรียนจนมีความรู้พออ่านออกเขียนได้ จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนาปลูกข้าว เลี้ยงครอบครัว

พ.ศ.2473 อายุครบ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2473 มีพระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูยติวัตรวิบูล (พรต)  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดจู วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า “นาคเสโน”

จำพรรษาอยู่ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อพรต และเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง พ.ศ.2488 สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังเดินทางไปศึกษาอาคมกับหลวงพ่อเปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อนาก  วัดท่าน้ำตื้น

ด้วยความศรัทธาในการศึกษาหาความรู้ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปศึกษากับหลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำ เกี่ยวกับวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชชาธรรมกาย โดยไปเรียนวิชาด้วยถึง 2 ครั้ง 2 ครา

ในส่วนของอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ไปศึกษาวิชาในทางแก้คุณไสยจากคุณแม่มูล และจากนายคำ สุขอุดม ศึกษาวิชาคงกระพัน และแก้คุณไสย จากนายขัน ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากนายหมุน ศึกษาตำรายาเกี่ยวกับโรคไตจากนางเลียบ

พ.ศ.2494 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโลหะฯ ว่างลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ

เป็นพระเถระที่มีบุคลิกเรียบร้อย พูดจาฟังง่าย เมตตาสูง และสิ่งหนึ่งที่ทำเป็นประจำไม่เคยขาด คือ การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน

ครั้งที่ยังมีพรรษาน้อย ชอบออกท่องธุดงค์ ศึกษาวิทยาคมต่างๆ ได้รู้จักและเป็นศิษย์กับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน

เชื่อกันว่า เป็นพระที่เก่งกล้าวิชาอาคมด้วยกันหลายแขนง โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาคงกระพัน และวิชาแก้คุณไสย

ปี พ.ศ.2519 หลวงพ่อนารถ พร้อมลูกศิษย์ขุดพบตะกั่วเก่า (ตะกั่วพันปี) จาก อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนหลายตัน หลอมเทเป็นก้อนขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับฝาขนมครก มีสนิมแดงเกาะอยู่ทั่วก้อนตะกั่ว เป็นตะกั่วชนิดเดียวกันกับพระท่ากระดาน กรุเก่า

เข้าใจว่า น่าจะเป็นตะกั่วที่หลอมเทไว้ทำพระท่ากระดานในสมัยโบราณยุคอู่ทอง ด้วยสถานที่ขุดพบ เป็นบริเวณเดียวกับที่พบกรุพระท่ากระดาน และภายในกรุที่ขุดพบพระท่ากระดาน ยังพบก้อนตะกั่ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน ลงอักขระขอมโบราณ กำกับไว้บนก้อนตะกั่วบรรจุไว้ด้วยกันอีกจำนวนหนึ่ง

พ.ศ.2519-2520 นำตะกั่วเก่าที่ขุดได้ มาจัดสร้างพระเครื่องออกจำหน่าย เพื่อเป็นทุนในการสร้างโบสถ์ และอีกส่วนหนึ่งจัดเป็นทุนให้ชาวบ้านนำไปบูรณะวัดในเขต อ.ศรีสวัสดิ์

ทั้งนี้ การสร้างพระเครื่องนั้น จะใช้ตะกั่วเก่ามารีด แล้วกดเป็นพิมพ์พระ (ไม่มีการหลอมตะกั่ว) ส่วนใหญ่เป็นรูปพิมพ์เลียนแบบพระท่ากระดาน ยุคเก่า พิมพ์รูปแบบอื่นมีบ้าง แต่ไม่มากนัก

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2498 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2507 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน

พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูโสภณประชานารถ

พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

มรณภาพโดยอาการสงบจากโรคชรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2530

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 57 •





เหรียญเสมาหลวงปู่รอด

เหรียญเสมาเนื้อฝาบาตร หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน พระเกจิชื่อดังสมุทรสาคร

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2566

 
“หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ” วัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าวิทยาคมอีกรูป

สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น

ล้วนได้รับความเลื่อมใส นิยมนำไปคล้องคอติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญเสมา พ.ศ.2482 เนื้อฝาบาตรช้อนส้อม ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พระครูฐานานุกรมในปี พ.ศ.2482 อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นผู้รับมอบหมายและดำเนินการสร้าง

ลักษณะเป็นเหรียญเสมา มีลวดลายกนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่ ด้านล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า “พระครูรอด”

ด้านหลังเป็นอักขระภาษาขอมสี่แถว อักขระภาษามอญหนึ่งแถว อ่านได้ว่า “อะระหัง สัยยะ ยาวะเท อุเย อะเย เวี่ยเปี๊ยเที่ยจะ”

กล่าวขานกันว่าผู้ใดพกพาอาราธนาติดตัวว่าจะรอดพ้นจากภัยพิบัตินานัปการ ดลบันดาลให้มีความสุข ความเจริญ อายุยืนยาวนาน

ปัจจุบันนับเป็นที่นิยมและหายาก




หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน พ.ศ.2406 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 บิดา-มารดา ชื่อ นายทองดี และนางเกษม บุญส่ง มีเชื้อสายรามัญ

ช่วงเยาว์วัย บิดา-มารดา นำมาฝากหลวงปู่แค เจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ให้เลี้ยงดู เนื่องจากเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก อ่อนแอ เป็นเด็กขี้โรค จึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมหลวงปู่แค ตั้งแต่นั้นมาก็หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หลวงปู่แคจึงตั้งชื่อให้ว่า “รอด”

อายุ 12 ปี เข้าพิธีบรรพชา ตรงกับปี พ.ศ.2418 ศึกษาพระปริยัติธรรม พร้อมทั้งศึกษาวิชาอาคม และวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่แค

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระอธิการแค เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แจ้ง วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปั้น วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสัณโฑ”

เรียนและฝึกวิปัสสนารวมถึงพุทธาคมจากพระอุปัชฌาย์ หลังหลวงปู่แคมรณภาพลง ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและคณะสงฆ์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

สําหรับวัดบางน้ำวน ตั้งอยู่เลขที่ 81 หมู่ที่ 4 ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 54 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ได้รับหนังสือรับรองสภาพวัด เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2528 โดยกรมการศาสนา

ตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายธนบุรี-ปากท่อ ก.ม.ที่ 40 จากกรุงเทพฯ อยู่ทางซ้ายมือ มีถนนเชื่อมต่อถึงวัดระยะทางประมาณ 1,600 เมตร บริเวณหน้าวัดติดกับคลอง ซึ่งเป็นแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน

วัดแห่งนี้ เป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2357 สร้างขึ้นโดยการนำของสามเณรและชาวมอญ ที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ตำบลนี้ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสุนทาน เป็นแหล่งบวชเรียนและศึกษาวิชาความรู้ของบุตรหลานชาวมอญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยพระอาจารย์แค เมื่อปี พ.ศ.2407 และผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน

ในอดีตวัดบางน้ำวน บริเวณหน้าวัดจะมีน้ำวนที่เชี่ยวกราก ผู้ใดที่ไม่รู้จักร่องน้ำในการเดินเรือ เรือจมกันมาหลายต่อหลายลำแล้ว จนกลายเป็นที่มาของชื่อวัด

ด้วยวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน ต่างพากันมาช่วยเป็นกำลังในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรือง เป็นลำดับ ถึงความเจริญจะเข้าสู่วัดบางน้ำวนแล้ว ท่านก็ยังมีเมตตาช่วยเหลือพัฒนาวัดต่างๆ ด้วย เช่น วัดบางกระเจ้า วัดบางสีคต วัดนาโคก วัดบางลำพู วัดบางจะเกร็ง วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ

นอกจากหลวงปู่รอดช่วยพัฒนาวัดวาอารามอื่นๆ แล้ว ยังช่วยพัฒนาในด้านการศึกษา จัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม และยังสร้างโรงเรียนประชาบาลไว้ให้กุลบุตร กุลธิดาได้ศึกษาเล่าเรียนกัน โดยมีชื่อของโรงเรียนว่ารอดพิทยาคม เพื่อเป็นอนุสรณ์

ออกธุดงค์ไปยังประเทศพม่าเป็นเวลาหลายปี ผ่านไปเมืองเมาะลำเลิง ซึ่งเป็นตระกูลกำเนิดปู่ย่าตายาย จากนั้นผ่านเมืองย่างกุ้ง ข้ามมาระนอง เข้าเมืองกาญจน์

ระหว่างออกธุดงค์นั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเมตตามหานิยม วิชาคงกระพันชาตรี วิชาทำผ้ายันต์บังไพร วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก วิชาเสกของหนักให้เบา วิชาแพทย์แผนโบราณ จากคณาจารย์ชาวมอญ พม่า กะเหรี่ยง

อีกทั้งสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นพิเศษ จึงจดจำตำรายาทุกชนิดได้อย่างแม่นยำ

เมื่อเข้าสู่วัยชรา ชาวบ้านจึงขอร้องให้โปรดญาติโยมประจำที่วัดและได้ตั้งกฎระเบียบทำวัตรปฏิบัติธรรมของวัดบางน้ำวน คือ จากสองทุ่มถึงสี่ทุ่มทุกคืน จนเป็นกิจวัตรของวัดบางน้ำวน และมีการตีกลอง ระฆังย่ำค่ำจนถึงปัจจุบัน

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2437 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน

พ.ศ.2447 เป็นเจ้าอธิการ (เจ้าคณะตำบล)

พ.ศ.2452 เป็นพระอุปัชฌาย์สามัญ

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2482 เป็นพระครูชั้นประทวน และพระครูกรรมการศึกษา

มรณภาพเมื่อเวลา 00.20 น.วันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ.2487

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61 •

 

4
4  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระเครื่อง เมื่อ: 10 เมษายน 2567 15:36:44

เหรียญรัตโต หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

เหรียญหล่อรูปใบโพธิ์ หลวงพ่อดำ อินทสโร วัดตาลบำรุงกิจ ราชบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อดำ อินทสโร” วัดตาลบำรุงกิจ ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระเถราจารย์ยุคเก่าราชบุรี มีชื่อเสียงโด่งดัง และลูกศิษย์ลูกหามากมาย มิใช่เฉพาะเมืองราชบุรีเท่านั้น

วัตถุมงคลเป็นที่นิยมสูงเป็นอันดับต้น ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

วัตถุมงคลยุคแรก ทำเครื่องรางตะกรุด ครั้นเมื่อผู้ได้รับนำไปมีประสบการณ์จนเป็นที่กล่าวขวัญ ทำให้โด่งดังมาก มีชาวบ้านแห่มาขออยู่เป็นประจำ

แต่ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจหรือรูปใบโพธิ์ เป็นเหรียญหล่อพระเกจิที่เก่าแก่ที่สุดอีกเหรียญ

สร้างในปี พ.ศ.2459 ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ มีหูห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรแบบลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีช่อมะกอกผูกด้วยโบด้านล่าง ใต้รูปเหมือน มีตัวเลขไทย “๒๔๕๙” ระบุปีที่สร้าง

ด้านหลัง เป็นอักขระขอมอ่านได้ว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ”

มีคนเข้าไปขอกันมาก จนเหรียญหล่อหมด เป็นเหรียญพิเศษที่หายากยิ่ง ผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน




หลวงพ่อดำ อินทสโร

เกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี บิดาชื่อ นายปลิก มารดาชื่อ นางเหม

เป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็ก พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนักวัดตาล

เนื่องจากพระอาจารย์เล็ก เป็นญาติทางบิดา เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัว แต่เนื่องจากเป็นคนที่มีความตั้งใจสูงชอบศึกษาเล่าเรียน มีความอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้เกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนมีความรู้แตกฉาน

เมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชา และศึกษาพระปริยัติธรรมจนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2405 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดตาลบำรุงกิจ มีพระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ทอง วัดท่าสุวรรณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เล็ก วัดตาลบำรุงกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ต่อมา จึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา โดยออกธุดงค์ไปทั่วประเทศคราวละ 2-3 ปี ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ ยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ระหว่างที่ได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนหากมีเหตุให้ต้องช่วยเหลือชาวบ้านได้ ก็ช่วยอย่างเต็มกำลังเรื่อยไป จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และก่อสร้างวัดต่างๆ ณ จุดที่ธุดงค์ผ่านเรื่อยไป

จนกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลบำรุงกิจ ว่างลง ชาวบ้านและคณะสงฆ์เห็นควรนิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นวัดทรุดโทรมลงไปมาก จึงรับนิมนต์และได้จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา

วัดตาลบำรุงกิจ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เลขที่ 76 หมู่ 1 ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่

มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า นางตาล สร้างถวายเพื่อบำรุงพระศาสนา โดยบริจาคทรัพย์และที่ดิน วัดจึงตั้งชื่อวัดว่า วัดตาลบำรุง หรือเรียกสั้นๆ ว่าวัดตาล

ในอดีตมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วัดตาลล้อม เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินดินสูงมีต้นตาลรอบวัด หรือเรียกชื่อตามหมู่บ้านว่าวัดตาลสี่หมื่น

สมัยพระครูโสภณกิจจารักษ์ หรือหลวงพ่อเชย เจ้าอาวาสรูปถัดมา เห็นว่าชื่อห้วนเกินไป จึงเติมคำว่า “กิจ” เป็นวัดตาลบำรุงกิจ จนถึงปัจจุบัน

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วย มณฑป หรือชาวบ้านเรียกวิหารไห ลักษณะชั้นล่างเป็นไหโบราณก่อเป็นรูปภูเขา ชั้นบนเทคอนกรีต ปูพื้นด้วยหินอ่อน เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลม วิหารแบบทรงไทยโบราณไม่มีลวดลาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูทวีป (ปางรัตนโกสินทร์) หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว สูง 120 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ตรงข้ามแม่น้ำมีวัดราชคามตั้งอยู่

ด้วยความเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ครั้นเมื่อขอความร่วมมือจากชุมชน ชาวบ้านจะมาร่วมงานด้วยความเต็มใจ

อายุ 40 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2425 เจ้าคณะตำบล ตามลำดับ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ต่างก็มาเรียนวิชาจากท่านเสมอ

ปกครองวัดเรื่อยมา จนถึงแก่มรณภาพ ในปี พ.ศ.2475 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70 •





เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อแดง รัตโต” หรือ “พระครูญาณวิลาศ” วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิผู้มีชื่อเสียง ไม่เพียงแต่ในเพชรบุรีเท่านั้น

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ เป็นที่นิยมและเสาะหากันอย่างแพร่หลาย

หลังสร้างเหรียญรุ่นแรกจนได้รับความนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปเหมือนอีกรุ่นที่ยอดฮิต

ได้แก่ เหรียญรัตโต อันเป็นนามฉายา

จัดสร้างในปี พ.ศ.2516 โดยคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้รับการออกแบบจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ มีความสวยงาม โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่

แต่การสร้างในครั้งนั้น มีจำนวนที่ไม่เพียงพอ ถัดมาในปี พ.ศ.2517 จึงสร้างขึ้นอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่าปั๊มครั้งที่สอง

การสร้างเหรียญรัตโต ในปี พ.ศ.2516 มีจำนวน 3,400 เหรียญ เป็นเนื้อเงิน 400 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 3,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปเหมือนหันข้างแบบครึ่งองค์ กึ่งกลางด้านซ้ายรูปเหมือน เขียนอักษรคำว่า “รตฺโต” บรรทัดถัดลงมา เขียนคำว่า “พระครูญาณวิลาศ” และบรรทัดล่างสุด เขียนคำว่า “(หลวงพ่อแดง)”

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ มีขีด 2 ขีดเป็นรูปวงรีล้อมรอบอักขระยันต์ ด้านล่างใต้ยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๑๖” ซึ่งหมายถึงปี พ.ศ.ที่สร้าง ส่วนนอกวงรีมีอักขระล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

ปัจจุบันค่อนข้างหายาก





หลวงพ่อแดง รัตโต

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล อ้นแสง ที่บ้านสามเรือน หมู่ที่ 4 ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2422 บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องรวมกัน 12 คน ท่านเป็นคนที่ 5

วัยเด็กช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ

ครั้นถึงวัยหนุ่ม พ่อแม่หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับพระอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีพระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า รัตโต

เคร่งครัดต่อพระวินัยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เป็นอย่างดี พระอาจารย์เปลี่ยนจึงเมตตสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบัง

เหตุนี้ทำให้มีความปีติเพลิดเพลินในการศึกษาวิชาความรู้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึกในรสพระธรรม ไม่มีความคิดลาสิกขาแต่อย่างใด จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีที่มีอาวุโสสูงสุด

กระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง จึงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 เป็นต้นมา และแม้จะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน

ไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิใดๆ แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ระหว่าง พ.ศ.2477-2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตาย สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดสัตว์ให้

จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ ปรากฏว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตาย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวันมิได้ขาด

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ มหาสงครามเอเชียบูรพา เมืองเพชรบุรีมีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด

และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูญาณวิลาศ

เป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด เพราะทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

ก่อนสิ้นลม ได้ฝากฝังกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

พระปลัดบุญส่ง รับปากและได้ทำตามประสงค์ไว้ทุกประการ

ทุกวันนี้ ยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาไม่เสื่อมคลาย •





เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒

เหรียญรุ่น ร.ศ.๒๑๒ หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ พระเกจิชื่อดัง-อัมพวา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2566


“หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท” อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เล่ากันว่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เคยธุดงค์มาต่อวิชาด้วย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงเจ้าอาคมเป็นอย่างดี

สำหรับวัตถุมงคลเท่าที่ทราบ เป็นประเภทเครื่องรางส่วนใหญ่ ทั้งเชือกคาดเอว (ตะขาบไฟไส้หนุมาน) มีดหมอ พระเนื้อดิน และน้ำมนต์

สำหรับเหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒ สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2536

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างขึ้นหลังจากท่านละสังขารมานานแล้ว แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย เหรียญสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่” ที่เหรียญมีการตอกโค้ด อุณาโลม

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ อะระหัง” บนสุดมีตัวอุนาโลม ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “ร.ศ.๒๑๒” ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2536

ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย ที่สร้างหลังมรณภาพไปแล้วก็ตาม

สําหรับวัดประดู่ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าคงสร้างในราวปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2320 จากการค้นคว้าพอจะถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในย่านจังหวัดสมุทรสงคราม

ตามประวัติอดีตเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นมาที่วัด คือ หลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส มีผู้รู้ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า

ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต้นทางน้ำ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 โดยเรือพระที่นั่งผ่านคลองหน้าวัดประดู่ และทรงแวะทำครัวเสวย และพระกระยาหารเช้า พระองค์ทรงนึกแปลกพระทัยว่า เพราะเหตุใดชาวบ้านจึงได้มาชุมนุมกัน ณ ที่ศาลาท่าน้ำกันมาก จึงตรัสให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปสอบถามพวกชาวบ้านที่มาชุมนุมกัน

จึงได้ความว่าเจ้าอาวาสวัดนี้ เป็นพระที่มีวิชาอาคมสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่เลื่องชื่อที่สุดก็คือน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บุคคลใดที่โดนผีเข้าหรือโดนคุณไสยถ้าได้มารับน้ำมนต์แล้วจะได้ผลทุกรายไป ผีตัวใดก็ไม่อาจทนอยู่ได้

ส่วนยาศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เช่นกัน ทำขึ้นจากใบมะกาใช้คู่กับน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบความจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้ว พระองค์ท่านก็เสด็จออกจากวัดประดู่

จากนั้นมาไม่นาน ก็ได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชวัง เพื่อรักษาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศดำรงค์ศักดิ์

เมื่อถวายการรักษาเสร็จจนมีพระอาการดีขึ้น ทำให้ทรงเลื่อมใสในความสามารถ ก่อนจะลากลับจึงพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร เตียงบรรทม เก๋งเรือ ปิ่นโต ฯลฯ เป็นที่ระลึก




หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท


พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมายังวัดประดู่ ตามประวัติศาสตร์นั้น พระองค์ทรงถวายเครื่องราชศรัทธาที่น่าสนใจไว้แก่วัดอีกหลายชิ้น

จึงได้รวบรวมสิ่งของที่ได้พระราชทานเหล่านั้นจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5 เพื่อเก็บดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ให้ทรงคุณค่าอยู่ตราบนานเท่านาน และเพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ชมได้ศึกษา รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับชาววัดประดู่ตลอดไป

ตามประวัติเล่ากันว่า หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูตผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มาจากหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ นี่เอง

รักษาคนด้วยตัวยาสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิด คือ ใบมะกากับข่าพร้อมคาถาเสก และต้มยาให้กิน

นอกจากยาใบมะกากับข่าเสกแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อเมื่อเอ่ยถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์”

เล่ากันว่า เมื่อรดใครแล้วหายจากโรคทุกคน ไม่ว่าจะถูกคุณไสย ลมเพลมพัด เป็นบ้าเสียสติอย่างไร เมื่อมารดน้ำมนต์ที่วัดประดู่กลับไปแล้วหายทุกคน

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แจ้งรับอาราธนาเข้าไปในวัง เมื่อเดินเข้าไปถึงที่ประตูวัง ประกอบกับท่านห่มจีวรเก่าๆ ทำให้ทหารยามที่ยืนเฝ้าปากประตูไม่ยอมให้ท่านเข้า จึงบอกว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 นิมนต์ จะเข้าไปสวดมนต์ ท่านว่า “ในหลวงนิมนต์ฉันมา ฉันจะเข้าไปสวดมนต์ ดูสิฉันยังเตรียมพัดมาด้วยเลย” พร้อมทั้งเปิดพัดให้ดู ทหารยามถึงกับตกตะลึง เพราะตาลปัตรที่หลวงปู่ถือ เป็นตาลปัตรมีตราประจำพระองค์ (พัดปักดิ้นทองตราพระนารายณ์ทรงครุฑ) ทหารยามคนนั้นจึงต้องรีบนำหลวงปู่ไปส่งถึงด้านใน

เมื่อไปถึงจึงสำนึกตัวเป็นพระผู้น้อย จึงขึ้นนั่งบนอาสนะหลังสุด สังฆการีเห็นเข้าก็กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นไปนั่งอันดับสองรองจากสมเด็จพระสังฆราช แต่ก็ได้นั่งหน้าสมเด็จพระราชาคณะหลายรูป

คาดว่ามรณภาพช่วงปี พ.ศ.2465-2472 สำหรับอัฐินั้น วัดประดู่ยังเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้

น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติไว้อย่างชัดเจน มีแต่เพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น •


4
5  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / 5 สูตรหมักผมด้วยมะกรูด ลดผมร่วง ห่างไกลปัญหารังแค เมื่อ: 10 เมษายน 2567 14:47:54


5 สูตรหมักผมด้วยมะกรูด ลดผมร่วง ห่างไกลปัญหารังแค
ที่มา https://www.vogue.co.th/beauty

โบกมือลาปัญหารังแคด้วย ‘มะกรูด’ สมุนไพรพื้นบ้านที่มักนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในการใช้บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอาการคันหนังศีรษะ ปัญหารังแค และลดผมร่วงได้ ยิ่งถ้านำมาผสมกับส่วนผสมดีๆ จากธรรมชาติอื่นๆ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลบำรุงเส้นผมมากยิ่งขึ้น โว้กบิวตี้รวม 5 สูตรหมักผมด้วยมะกรูดที่ทำได้ง่าย งบน้อย ผมสวยไม่ไกลเกินเอื้อมไว้ที่ด้านล่างนี้แล้ว




น้ำมันมะกอก + มะกรูด
เพียงแค่คั้นน้ำมะกรูดใส่ลงในภาชนะที่เตรียมเอาไว้ จากนั้นใส่น้ำมันมะกอกลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน เเล้วนำมาชโลมให้ทั่วเส้นผมเเละหนังศีรษะ หมักทิ้งไว้ 30 นาทีขึ้นไป เเล้วล้างออกด้วยการสระผมตามปกติ สูตรนี้จะทำให้เส้นผมนุ่มลื่น ไม่พันกัน ลดอาการคันที่ศีรษะ ปัญหารังแค และหนังศีรษะหลุดลอก




อัญชัน + มะกรูด
เริ่มจากการต้มน้ำจนเดือดแล้วใส่ดอกอัญชัน 10-15 ดอกลงไป ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น ตักดอกอัญชันทิ้ง แล้วคั้นน้ำมะกรูดผสมลงไป จากนั้นนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ก่อนจะใช้หมักผมแนะนำให้ล้างผมให้สะอาดก่อน 1 ครั้ง จึงค่อยนำน้ำมะกรูดที่ได้ชโลมให้ทั่วเส้นผมและหมักทิ้งไว้ 30 นาที ล้างออกด้วยการสระผมตามปกติ สูตรนี้จะช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ เงางาม มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น




กะทิ + มะกรูด
สูตรหมักผมด้วยกะทิผสมน้ำมะกรูด จะช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง แลดูมีน้ำหนัก นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัยได้อีกด้วย เพียงแค่ใช้มะกรูด 3-4 ผล ต้มแล้วคั้นเอาแต่น้ำพักไว้ และนำกะทิสดที่คั้นเองหรือซื้อแบบกล่องก็ได้ นำทั้งสองมาผสมในปริมาณเท่ากัน คนให้เข้ากัน จากนั้นล้างผม 1 รอบเช็ดให้แห้งหมาดๆ นำส่วนที่ผสมไว้มาชโลมให้ทั่วศีรษะหมักไว้ 30 นาที แล้วสระผมทำความสะอาด มอบผลลัพธ์ผมนุ่มสลวย ไม่พันกัน ทั้งยังมีกลิ่นหอมให้ติดเส้นผมอีกด้วย




น้ำซาวข้าว + มะกรูด
เริ่มจากการนำมะกรูด 2-3 ผล เผ่าไฟให้มีกลิ่นหอมแล้วคั้นเอาแต่น้ำมะกรูด จากนั้นนำมาผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งถ้วย คนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 5–10 นาที ชโลมให้ทั่วศีรษะแล้วล้างออกตามปกติ สูตรนี้จะช่วยทำให้รู้สึกเบาสบายศีรษะ แก้ปัญหาหนังศีรษะคัน รังแคลดลง แถมยังแก้ปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะได้อีกด้วย




น้ำส้มสายชู + มะกรูด
บอกลาปัญหารังแคด้วยสูตรนี้ เพียงแค่นำน้ำส้มสายชู 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ 3 ลูก คนให้เข้ากัน แล้วหมักทิ้งไว้บนศีรษะประมาณ 15 นาที กรดในน้ำส้มสายชูจะช่วยทำให้เส้นผมเงางาม คืนสภาพเส้นผมที่แห้งและแตกปลายให้กลับมีสุขภาพดีขึ้น แถมยังกำจัดปัญหารังแคให้หมดกังวลอีกด้วย
6  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / 2 ส่วนนี้ของ "หมู" ล้ำค่าดั่งทอง มีประโยชน์พอๆ กับโสม-รังนก แต่คนไม่ค่อยกิน! เมื่อ: 10 เมษายน 2567 14:28:52


รู้ไว้ดีกว่า 2 ส่วนนี้ของ "หมู" ล้ำค่าดั่งทอง
มีประโยชน์พอๆ กับโสม-รังนก แต่คนไม่ค่อยกิน!


ที่มา https://www.sanook.com/

2 ส่วนนี้ของ "หมู" ล้ำค่าดั่งทอง มีประโยชน์พอๆ กับโสม-รังนก แต่คนไม่ค่อยกิน!

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ แนะนำว่าหากไปตลาดแล้วเจอหมู 2 ส่วนนี้ อย่าลืมซื้อกลับมาทาน เปรียบล้ำค่าดั่งทองคำ มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าโสมและรังนก ปรุงขึ้นโต๊ะอาหารบำรุงร่างกายได้ทั้งครอบครัว!

หางหมู

ตามการแพทย์แผนตะวันออก หางหมูมีรสหวาน เค็มเล็กน้อย และมีคุณสมบัติเย็น เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ให้พลังงานและบำรุงหละพลัง , รักษาปัญหาข้อและกระดูก รวมทั้งการบำรุงผิวด้วย ทั้งกักเก็บความชุ่มชื้นและป้องกันริ้วรอย โดยจะเห็นได้ว่ามันถูกใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหลายชนิด

Mr. Nguyen Dac Danh ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของเวียดนาม ระบุว่า หางหมู 100 กรัม ประกอบด้วยโปรตีน 17.7 กรัม ไขมัน 33.5 กรัม วิตามินบี3 1.12 มก. วิตามินบี1 0.07 มก. วิตามินบี2 0.07 มก. แคลเซียม 14 มก. ฟอสฟอรัส 47 มก. โซเดียม 25 มก. 157 มก. และไม่มีคาร์โบไฮเดรต ทั้งนี้ หางหมูยังมีความโดดเด่นด้วยปริมาณสังกะสีที่ค่อนข้างสูง โดยหางหมู 100 กรัม จะมีสังกะสี 1.64 มก. ซึ่งคิดเป็นประมาณ 15% ของมูลค่ารายวัน

“สังกะสีเป็นธาตุที่มีปริมาณน้อยในร่างกาย แต่มีความสำคัญมากในระบบอวัยวะส่วนใหญ่ ไม่เพียงแค่นั้นยังเป็นองค์ประกอบที่สร้างฮอร์โมนภายนอกที่ควบคุมพัฒนาการ ในร่างกายสังกะสีมีบทบาทในการรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือด สำหรับผู้ชายฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนที่มีผลกระทบอย่างมากต่อรูปลักษณ์ภายนอกและพัฒนาการทางเพศ"

สังกะสีถือเป็นแร่ธาตุของระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นยาที่มีคุณค่าสำหรับสุขภาพการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศของผู้ชาย การศึกษาพบว่าสังกะสีช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของตัวอสุจิด้วย การขาดสังกะสีเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ และการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา ซึ่งหากการเคลื่อนที่ของอสุจิไม่ดี ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีบุตรยากในผู้ชาย

สังกะสียังมีบทบาทสำคัญในต่อมลูกหมาก การขาดสังกะสีอาจทำให้ต่อมลูกหมากโต และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญนี้ แม้กระทั่งภาวะมีบุตรยากอีกเช่นกัน

“นอกจากคุณค่าที่นำมาสู่สุขภาพของผู้ชายแล้ว หางหมูยังอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในผิวหนัง รวมถึงส่วนประกอบอีกมากมาย เช่น คอลลาเจน อีลาสติน...สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการยึดเกาะโครงสร้างเซลล์อย่างแน่นหนา คงไว้ซึ่งความชุ่มชื้นและเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ป้องกันริ้วรอยของผิว และปกป้องผิวจากการโจมตีของปัจจัยแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์”

นอกจากนี้ หางหมูยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างและบำรุงรักษาระบบกระดูกและข้อต่อ ป้องกันโรคกระดูกพรุน และป้องกันโรคโลหิตจาง โดยผู้เชี่ยวชาญรายนี้วิเคราะห์ว่า "แคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกและฟัน ช่วยสร้างและรักษาความแข็งและโครงสร้างของกระดูก และยังมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างและฟื้นฟูกระดูกเมื่อได้รับบาดเจ็บด้วย"

ถ้าพูดชื่อนี้คงมีหลายคนไม่รู้ว่าอยู่ส่วนไหนของหมู ที่จริงแล้วตำแหน่งที่เรียกกันว่า "กระดูกเสี้ยวพระจันทร์ " เป็นส่วนเนื้อติดกระดูกอ่อนส่วนขาหน้าของหมู ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกระดูกโค้งงอคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ หรือคล้ายเคียวอยู่ ส่วนใหญ่เป็นกระดูกอ่อน จึงมีความกรุบกรอบ นุ่ม และหวานมาก ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้เคี่ยวซุปจะได้รสชาติกลมกล่อมมาก

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่ารสชาติก็คือคุณค่าทางโภชนาการ กระดูกเสี้ยวพระจันทร์อุดมไปด้วยคอลลาเจน โปรตีน และวิตามิน การบริโภคอวัยวะที่มีคุณค่านี้เป็นประจำสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน และเพิ่มภูมิคุ้มกัน

โดยพบว่าปริมาณแคลเซียมในหมูส่วนนี้ถือว่าสูงมาก เหมาะสำหรับเด็กในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุนด้วย และหญิงตั้งครรภ์ก็สามารถทานเพื่อเสริมแคลเซียมได้ "ในปริมาณที่เหมาะสม" เช่นเดียวกัน

กระดูกเสี้ยวพระจันทร์ ยังอุดมไปด้วยสารสกัดที่มีไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ รวมถึงโปรตีนหลากหลายชนิด ซึ่งสามารถให้สารอาหารที่เข้มข้นและมีคุณภาพสูงสำหรับการทำงานหลักของร่างกายมนุษย์




กระดูกเสี้ยวพระจันทร์


7  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา เมื่อ: 09 เมษายน 2567 14:04:46


พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา

ที่มา - คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2567


เมื่อกล่าวถึงสมุนไพรชื่อ “พญารากดำ” จะพบว่าในเมืองไทยของเรามีพืชที่เรียกว่า พญารากดำ ไม่น้อยกว่า 4 ชนิด

แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าเป็นคนละชนิด ได้แก่

1) Ludwigia octovalvis (Jacq.) P.H.Raven หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หญ้ารักนา หรือเทียนน้ำ สมุนไพรชนิดนี้อยู่ในวงศ์ Onagraceae ซึ่งมีชื่อในภาษาไทยว่า วงศ์พญารากดำ

2) Diospyros defectrix H.R.Fletcher พญารากดำหรือมะเกลือกา

3) Diospyros variegata Kurz พญารากดำหรือดำดง ดงดำ ดีหมี อีดำ พลับดำ น้ำจ้อย

และ 4) Huberantha cerasoides (Roxb.) Chaowasku พญารากดำหรือกระเจียน สะบันงาป่า ค่าสามซีก

หากค้นหาฟังสรรพคุณของผู้รู้หรือพลิกตำรายาไทย รวมถึงมีผู้สนใจศึกษาวิจัยกันบ้างนั้น ก็จะกล่าวถึงพญารากดำที่เป็นไม้ยืนต้น แต่ในวันนี้จะขอนำเสนอ พญารากดำ ที่มาจากวงศ์พญารากดำ (Onagraceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ludwigia octovalvis (Jacq.) P.H.Raven หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หญ้ารักนา มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Mexican primrose-willow, Narrow-leaf Water Primrose, Seedbox, Mexican Primrose Willow

ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีการกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย จึงมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลากหลายชื่อ เช่น หญ้ารักนา (ภาคเหนือ) พญารากดำ (นราธิวาส) ตับแดง (ภาคใต้) เทียนน้ำ (ตรัง ปัตตานี) เป็นต้น

พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 60-120 เซนติเมตร

ใบออกแบบเรียงสลับ ใบแคบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ปลายแหลม ยาว 1-15 เซนติเมตร กว้าง 1-4 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม

ดอกมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอกรูปหัวใจ 4 กลีบ สีเหลือง บางและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว

ผลเป็นทรงกระบอก ยาว 20-45 มิลลิเมตร กว้าง 2-8 มิลลิเมตร

หญ้ารักนามีลักษณะคล้ายกับต้นเทียนนามากแต่เทียนนามีใบกว้างกว่า

ในประเทศมาเลเซียนิยมนำใบหญ้ารักนามาชงเป็นชา แต่ไม่มีหลักฐานว่าใช้เป็นเครื่องดื่มหรือใช้เป็นยา

และใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ เช่น ท้องร่วง (diarrhea) และ บิดมีตัว (dysentery)

ในฐานข้อมูลสมุนไพรของพืชในเขตร้อนกล่าวว่า พญารากดำหรือหญ้ารักนาเป็นสมุนไพรมีฤทธิ์ขับลม เป็นยาระบาย และขับพยาธิ ใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง โรคบิด โรคทางระบบประสาท ซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติในการระงับปวดและใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อใช้รักษาอาการปวดรูมาติก

นอกจากนี้ เมื่อนำใบมาขยี้จะมีลักษณะเป็นเมือก ใช้เป็นยาพอกรักษาอาการปวดต่างๆ รวมถึงอาการปวดหัว อัณฑะอักเสบ (orchitis) และต่อมน้ำเหลืองบวม ใช้เป็นยารักษาแผลในจมูก

และหญ้ารักนายังสามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อให้มีประจำเดือน นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการคันด้วยการนำมาต้ม และใช้น้ำยาอุ่นๆ มาล้างส่วนที่คัน เช่น อาการคันที่เท้า

ฐานข้อมูลสมุนไพรของฟิลิปปินส์ กล่าวถึงการใช้หญ้ารักนาเป็นยาสมานแผล ขับลม ขับปัสสาวะ และยาฆ่าแมลง

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นคุณสมบัติลดไข้ สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านเบาหวาน ในบรรดาชนเผ่าต่างๆ ในเกาะลูซอนตอนเหนือ

มีการใช้สารสกัดจากใบรักษาโรคอีสุกอีใส นำทั้งต้นมาบดแล้วนำไปแช่ในบัตเตอร์มิลก์ (Buttermilk) ใช้แก้ท้องเสียและบิด นำทั้งต้นไปทำเป็นยาต้มใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาขับลม ยาระบาย แก้อาการท้องอืด กินแก้ไอเป็นเลือดและระดูขาว

นำใบมาบดเป็นยาสมานแผล ใช้พอกบริเวณที่ปวดหรืออักเสบ รากใช้รักษาโรคผิวหนัง

ในอินเดีย ใช้ใบเป็นยาทาภายนอกกับแผลเปื่อย โดยเฉพาะกลากที่เป็นมานาน ในกลุ่มชาวทมิฬ ในอินเดีย ใช้น้ำที่คั้นจากใบบรรเทาอาการไอและเป็นหวัด ในเขตทูบาล (Thoubal) ของรัฐมณีปุระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ชุมชนเมเตอิ (Meitei) และ ลอย (Loi) นำทั้งต้นมาต้ม เพื่อให้ได้สารสกัดมาดื่มเพื่อรักษาโรคเบาหวาน

ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย น้ำใบใช้รักษาอาการไข้ที่ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และลดต่ำลงมาเป็นปกติ (intermittent fever)

ในเขต Tinsukia รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ชุมชนชาติพันธุ์นำต้นพญารากดำหรือหญ้ารักนามาผลิตเป็นครีมสมุนไพรแก้เชื้อราที่นิ้วเท้า

การใช้ของประเทศต่างๆ อีกจำนวนมาก เช่น ชาว Keffi ในไนจีเรียใช้รากในการรักษาโรคผิวหนัง โดยนำรากมาต้มให้ได้สารสกัด นำน้ำที่ได้มาดื่มวันละ 3 ครั้งเพื่อรักษาอาการที่ผิวหนัง ในเซนต์ลูเซีย (Saint Lucia) ใช้เป็นยาขับระดู (emmenagogue)

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาขับพยาธิปากขอโดยนำมาต้มและใช้ล้างเท้า ในประเทศไนจีเรีย เนื้อพืชจะถูกต้มและใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ ในชวา (อินโดนีเซีย) ใช้รักษาแผลเน่าเปื่อยที่จมูก ในเวียดนามใช้ต้นสดเป็นอาหารเลี้ยงหมู

ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของพญารากดำหรือหญ้ารักนาเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้เป็นยาลดไข้ พบว่ามีคุณสมบัติเทียบเท่าพาราเซตามอล ยาแก้ท้องร่วง สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สรรพคุณปกป้องตับ สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านแบคทีเรีย สารต้านเบาหวาน คุณสมบัติเป็นยาแก้ไอ สารชะลอวัยและอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

พญารากดำหรือหญ้ารักนาที่มีอยู่ทั่วไปในไทยแลนด์นี้ จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เหตุนี้หรือไม่ที่เรามองข้ามและให้ความสนใจน้อยมาก ในขณะที่ภูมิปัญญาจากรอบบ้านเรามีการใช้ประโยชน์อย่างมาก

พญารากดำหรือหญ้ารักนา คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ แต่สรรพคุณมากเหลือ •

8  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระเครื่อง เมื่อ: 09 เมษายน 2567 13:56:24

พระกริ่งสุจิตโต

มงคล ‘พระกริ่งสุจิตโต’ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ สุจิตโต) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกผนวชในปี พ.ศ.2499

เมื่อปี พ.ศ.2487 ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ 6 รอบ

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ ณ เวลา 09.08 น. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อ เวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า “พระกริ่งสุจิตโต” ตามพระนามฉายา

แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า “พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร” เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะก้นด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาสูง




สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ทรงเป็นโอรสของหม่อมเจ้าถนอมกับหม่อมเอม นพวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก จุลศักราช 1234

ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งเยาว์วัยทรงศึกษากับครูชมที่วังของพระชนก มีพระนิสัยโน้มเอียงในทางพระศาสนา กล่าวคือ ได้ตามเสด็จกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไปวัดอยู่เสมอ จึงทำให้ต่อมาได้บรรพชา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตโต) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2435 ทรงผนวช ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระนามฉายาว่า สุจิตฺโต

ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณศักดิ์เป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระสุคุณคณาภรณ์

พ.ศ.2446 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระญาณวราภรณ์ ได้รับพระราชทานตาลปัตรพื้นแพรปักทองเป็นพระเกียรติยศ

พ.ศ.2451 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์ ได้ถวายพระพรลาออกจากสมณศักดิ์ด้วยมีประสงค์จะลาสิกขา แต่ด้วยความอาลัยในสมณเพศ จึงได้ยับยั้งตั้งพระทัยบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป

พ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระญาณวราภรณ์ดังเดิม

พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2464 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ

พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พ.ศ.2488 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493

พ.ศ.2499 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นหลายครั้งและหลายสิ่ง เช่น สร้างหอสมุดของวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2497 สร้างตึกสถานศึกษาของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2498 สร้างตึกอุทิศนภวงศ์ด้วยทุนไวยาวัจกรส่วนพระองค์ สร้างตึกสามัคคีธรรมทาน ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดด้วยทุนที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุ 60 ปี

ทรงประพันธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง เช่น ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิดตายสูญ ทศพิธราชธรรม พุทธศาสนคติ ทรงชำระพระไตรปิฎกสยามรัฐ ฉบับพิมพ์ 2470 เล่ม 25-26 ทรงชำระอรรถกถาชาดกที่สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้ชำระ พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2501 พระชนมายุ 86 พรรษา พรรษา 66

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุสำหรับถวายพระเพลิง ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส

และต่อมาได้พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2503 •




พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่ไข่

‘พระกลีบบัวอรหัง’ ที่ระลึกอายุวัฒนมงคล หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามขจรขจายไปไกล

ชื่อเสียงโด่งดังมาหลายทศวรรษ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีราคาเช่าบูชากันสูงมาก โดยเฉพาะ “พระกลีบบัวอรหัง”

ประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมาก

นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน

พระกลีบบัวอรหัง เป็นพระเครื่องพิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “อรหัง”

ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอม

พระกลีบบัวอรหัง จัดสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอแจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน ยังพอหาได้ เนื่องจากสมัยก่อน มีจำนวนมาก หาได้ไม่ยาก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก



หลวงปู่ไข่ อินทสโร วัดเชิงเลน

อัตโนประวัติ เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดาชื่อ นายกล่อมและนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพลง เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่ออายุ 15 ปี พระอาจารย์จวง มรณภาพลง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น ได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจน์ แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณจึงเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก

ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุขฯ (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษามาตลอดมา

ระหว่างจำพรรษาปฏิบัติธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา

ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างพระเครื่อง พระปิดตาและเหรียญรูปเหมือน ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้เป็นจำนวนมากในประมาณปี พ.ศ.2470

เป็นพระที่สมถะสันโดษ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ มีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์มีทั้งไทย จีน และชาวซิกข์ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาให้ช่วยรักษา ซึ่งก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล

ราวปี พ.ศ.2470 เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายปรึกษาหารือกันว่า ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้อยู่สอนวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

ต่อมาเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 มกราคม 2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

เล่ากันว่าก่อนเวลาที่จะมรณภาพ ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการเสร็จแล้ว ก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ 15 นาที จนหมดลมหายใจ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวให้นอนราบลง •



4
9  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / เสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 2 ไทย-จีนพากันล่ำซำ ได้โอกาสปล้นทองที่ซ่อนตามวัด เมื่อ: 09 เมษายน 2567 13:23:07

ภาพวาดลายเส้นซากโบราณสถานปรักหักพังที่อยุธยา (สันนิษฐานว่าคือวัดพระราม)
(ภาพจากบันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์)


บันทึกฝรั่งชี้ เสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 2 ไทย-จีนพากันล่ำซำ ได้โอกาสปล้นทองที่ซ่อนตามวัด

ผู้เขียน - กานต์ จันทน์ดี
เผยแพร่ - วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ.2567


การเล่าประวัติศาสตร์สมัย เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2310 พม่าย่อมตกเป็นผู้ร้ายอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อพม่าได้ชัยชนะแล้วก็เปิดฉากเผาและปล้นเอาทรัพย์สมบัติของกรุงศรีฯ ไปเป็นอันมาก คนไทยจำนวนหนึ่งถึงขนาดร่ำลือกันไปว่า ทองที่หุ้มเจดีย์ชเวดากองนั้นก็เป็นทองที่ปล้นไปจากอยุธยา

อย่างไรก็ดี เจดีย์ชเวดากองสร้างขึ้นก่อน “เสียกรุงศรีอยุธยา” หลายร้อยปี (นักประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6-10) และประเพณีหุ้มทองเจดีย์ก็อาจมีมานานแล้วก็ได้ แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ พม่าคงจะร่ำรวยขึ้นพอควรจากการปล้นกรุงศรีฯ ในครั้งนั้น

ในขณะเดียวกัน คนที่รวยขึ้นผิดหูผิดตาก็ไม่ได้มีแต่ฝ่ายพม่าเท่านั้น บาทหลวงฝรั่งเศส เล่าว่า หลังสงครามครั้งนี้ ไทย-จีน ก็พากันล่ำซำขึ้นไม่น้อย เพราะได้โอกาสปล้นวัดวาซึ่งถือเป็นแหล่งรวมความมั่งคั่งจากศาสนิกผู้ศรัทธาเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี

จดหมายของมองซิเออร์คอร์ ถึงมองซิเออร์มาธอน ลงวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1769 (พ.ศ.2312) บอกเล่าถึงสภาพบ้านเมืองครั้งนั้นว่า พอสงครามสิ้นสุดลง เศรษฐกิจก็ฝืดเคือง ข้าวยากหมากแพงเป็นอันมาก

“ค่าอาหารการรับประทานในเมืองนี้แพงอย่างที่สุด เวลานี้ข้าวสารขายกันทะนานละ 2 เหรียญครึ่ง คนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างนั้นถึงจะหมั่นสักเพียงไร ก็จะหาซื้ออาหารรับประทานแต่คนเดียวก็ไม่พอ”

ฝรั่งต่างชาติจึงต้องใช้ชีวิตอย่างอัตคัด โดยเฉพาะ “พวกที่อ้างตัวว่าเป็นโปรตุเกสนั้นดูเหมือนจะเดือดร้อนยิ่งกว่าคนอื่นมาก เพราะพวกนี้ไม่ละความเกียจคร้านหรือลดหย่อนความหยิ่งของตัวเลย ร้องแต่ว่าทุนไม่มีจึงไม่ได้ทำการไร นอกจากนอนขึงอยู่บนเสื่อตั้งแต่เช้าจนเย็น ส่วนพวกเข้ารีตของเรานั้นพอจะเอาตัวรอดได้ เขาไม่ได้รบกวนใครแต่ทำมาหาเลี้ยงชีพของตัวเองไป”

ส่วน พวกไทย-จีน นั้นเห็นจะไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะมีวัดเป็นที่พึ่ง คนกลุ่มนี้จึงหันเข้าหาวัด แต่มิได้หวังจะหาที่พึ่งทางธรรม หรือหาข้าวก้นบาตรประทังชีวิต กลับมุ่งหาทรัพย์สินที่ถูกซุกซ่อนตามวัด ไม่ว่าจะถูกฝังดิน ใส่เจดีย์ หรือเก็บซ่อนไว้ในองค์พระ ดังความที่มองซิเออร์คอร์ ท่านเล่าว่า

“ฝ่ายพวกจีนและพวกไทยเห็นว่าการเลี้ยงชีพเป็นการฝืดเคือง จึงได้หันเข้าหาวัดโดยมาก เพราะพวกไทยด้วยความเชื่อถืออะไรของเขาอย่าง 1 ได้เอาเงินและทองบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปเป็นอันมาก เงินทองเหล่านี้บรรจุไว้ในพระเศียรก็มี ในพระอุระก็มี ในพระบาทก็มี และตามพระเจดีย์ต่างๆ ได้บรรจุไว้มากกว่าที่แห่งอื่น ท่าน [มองซิเออร์มาธอน] คงจะคาดไม่ถูกเป็นแน่ว่าพวกไทยได้เอาเงินทองที่ซุกซ่อนไว้เป็นจำนวนมากมายสักเท่าไร”

“ในพระเจดีย์องค์เดียวเท่านั้นได้มีคนพบเงินถึง 5 ไห และทอง 3 ไห ผู้ใดที่ทำลายพระพุทธรูปลงแล้วไม่ได้เหนื่อยเปล่าจนคนเดียว เพราะฉะนั้นโดยเหตุที่พวกจีนมีความหมั่นเพียรและเป็นคนชอบเงินมาก ประเทศสยามจึงยังคงบริบูรณ์อยู่เท่ากับเวลาก่อนพม่ายกเข้ามาตีกรง ทองคำเป็นสิ่งหาง่ายจนถึงกับหยิบกันเล่นเป็นกำๆ”

และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยว เจดีย์ที่ถูกทุบทำลายก็ถูกทำเป็น “เตาหลอม” โลหะมีค่าเสียเลย มองซิเออร์คอร์ยังบอกว่า “ตามถนนหนทางเต็มไปด้วยถ่านและเศษทองแดง และตามทางเดินดำยิ่งกว่าปล่องไฟเสียอีก พระราชธานีของเมืองไทย ตลอดทั้งวัดวาอารามและบ้านของเรากับค่ายโปรตุเกสเหมือนกับเป็นสนามอันใหญ่ที่มีแต่คนขุดคุ้ยพรุนไปหมดทั้งนั้น”

ด้วยเหตุนี้ คงกล่าวได้ไม่ผิดว่า แม้พม่าจะถือเป็น “จำเลย” ตัวหลักในการสร้างความเสียหายให้กับกรุงศรีอยุธยา แต่จริงๆ แล้วยังมีจำเลยอีกกลุ่มที่ถูกมองข้ามมาตลอดก็คือคนท้องถิ่นที่รอดชีวิตมาได้ แต่หมดหนทางหากินจึงหันหน้าเข้าหาวัด (และปล้นเอาทรัพย์สินของวัด) นั่นเอง



สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถึงคราววิบัติ “ล่มสลาย” บ้านแตกสาแหรกขาด
ภาพนี้เป็นจิตรกรรมฝาผนังจัดแสดงภายในอาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
10  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / สูตร “ยาดองน้ำผึ้ง” ตามแพทย์แผนไทย เป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อ: 07 เมษายน 2567 13:32:44


สูตร “ยาดองน้ำผึ้ง” ตามแพทย์แผนไทย เป็นยาอายุวัฒนะ

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 กุมภาพันธ์ 2567
คอลัมน์ - โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เผยแพร่ - วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567


หลักวิชาการปรุงยาของการแพทย์แผนไทยได้กล่าวไว้ถึง 28 วิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการดองยาสมุนไพรด้วย

ซึ่งการดองยาทำได้ เช่น ดองด้วยสุราที่เรามักคุ้นเคย ดองด้วยเกลือก็ได้ ดองด้วยน้ำมูตรหรือน้ำปัสสาวะก็กล่าวไว้ และดองด้วยน้ำผึ้งที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย

การดองยาเป็นวิธีการสกัดเอาตัวยาจากสมุนไพรออกมาอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับการชงด้วยน้ำร้อน การต้มเดือดหรือต้มเคี่ยว โดยใช้น้ำเป็นการสกัดตัวยาหรือสารสำคัญออกมานั่นเอง

การดองด้วยสุราหรือแอลกอฮอล์ การดองด้วยน้ำผึ้งก็เป็นการค่อยสกัดเอาตัวยาอออกมา

และที่น่าสนใจของศิลปะการปรุงยาแต่ดั้งเดิมก็คือมีการใช้น้ำผึ้งดองกับสมุนไพรที่มีรสขมบ้าง รสฝาดบ้าง เพื่อให้กินยาง่ายขึ้น

และในเวลาเดียวกัน น้ำผึ้งก็เป็นสมุนไพรในตัวเอง มีสรรพคุณที่กล่าวถึงในการใช้ทั้งบำรุงสุขภาพและเรื่องความงาม ย้อนกลับไปได้นับพันปี

เช่น นางคลีโอพัตราแห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมลุ่มน้ำแยงซีเกียงของจีนก็ใช้ ในดินแดนชมพูทวีปอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ การแพทย์อายุรเวทรู้จักใช้น้ำผึ้งผสมผงอบเชยเป็นยาบำรุงร่างกายที่ดีมานานหลายศตวรรษแล้ว เป็นต้น

ภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยและประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านจำนวนไม่น้อย รู้จักใช้น้ำผึ้งเป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพร โดยเฉพาะใช้เป็นยาบำรุงกำลัง โดยเฉพาะช่วยฟื้นฟูร่างกายแก้อ่อนเพลีย มีการแนะนำให้กินน้ำผึ้งแท้ๆ วันละ 1 ช้อนโต๊ะก่อนนอนทุกวัน สัก 7 วัน ช่วยบำรุงร่างกาย (ผู้ที่เสี่ยงเบาหวานไม่ควรใช้)

ภูมิปัญญาไทยเรายังนำน้ำผึ้งไปดองสมุนไพรที่น่าสนใจอีกหลายชนิด

แต่ก่อนที่จะไปถึงสูตรยาดองนั้น ขอเพิ่มเติมเรื่องน้ำผึ้งต่ออีกนิด

นํ้าผึ้งมาจากผึ้ง ผึ้งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ในการจัดอนุกรมวิธาน ผึ้ง เป็นแมลงที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ Hymenoptera รวมกันกับพวกมด ต่อ แตน

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกผึ้งออกเป็น 7 วงศ์ (family) อย่างเป็นทางการ ได้แก่ Andrenidae Apidae Colletidae Halictidae Megachilidae Melittidae และ Sternotritidae

ดังนั้น ผึ้งที่บินอยู่ทั่วโลกก็อาจอยู่คนละวงศ์

สำหรับในประเทศไทยที่เราคุ้นเคยนั้น ผึ้ง (Honeybee) ที่ให้น้ำหวานเรากินอยู่ในวงศ์ Apidae สกุล Apis ตัวอย่างที่เราได้ยินบ่อยๆ เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata frabicius) ผึ้งมิ้ม (Apis florea) ผึ้งโพรง (Apis cerana) ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ซึ่งเข้าใจว่านำมาจากต่างประเทศจนกลายเป็นผึ้งที่อยู่ในไทยแล้ว เป็นต้น

ปัจจุบันมีการพูดถึงน้ำผึ้งชันโรง น้ำผึ้งชนิดนี้มาแรงแซงโค้งที่กล่าวถึงสรรพคุณและราคาแรงเช่นกัน นักวิชาการอธิบายว่า ชันโรง (Stingless Bee) เป็นแมลงจำพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน จึงปลอดภัยไม่โดนต่อย

กล่าวกันว่าชันโรงจะมีความสัมพันธ์และวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกับผึ้ง (honey bee), ผึ้งหึ่ง (bumble bee) และผึ้งกล้วยไม้ (orchid bee)

ทั่วโลกพบชันโรงประมาณ 500 ชนิด ในประเทศไทย มีรายงานว่า ชันโรง สกุล Tetragonula พอที่จะจำแนกได้แล้วประมาณ 30 ชนิด อาศัยอยู่ทุกภาคของประเทศและมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นด้วย

ซึ่งชื่อเรียกแต่ดั้งเดิม เรียก “ชันโรง” ภาคเหนือเรียก ขี้ตังนี ขี้ตัวนี หรือ ขี้ย้าแดง ภาคใต้เรียก แมลงอุง ทางอีสานเรียก แมลงขี้สูด ภาคตะวันออกเรียก ตัวตุ้งติ้ง เป็นต้น

นํ้าผึ้งจากผึ้งชนิดใดก็นำมาดองยาสมุนไพรได้ทั้งหมด

แต่ในเวลานี้เราจะต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผึ้งอยู่ได้ ก็จะได้น้ำผึ้งแท้ไม่ปลอมปนนำมาดองสมุนไพร

ที่นิยมกันทั่วไปมักจะดองกล้วยน้ำว้ากับน้ำผึ้ง กินเนื้อกล้วยวันละลูกและดื่มน้ำผึ้งด้วยวันละ 1 ช้อนชา ท่านว่าเพิ่มพลังกายบำรุงกำลังอย่างดี

วิธีดองไม่ยุ่งยาก นำกล้วยน้ำว้าสุกปลอกเปลือกออก จะใช้ทั้งลูกหรือหั่นกล้วยเป็นชิ้นๆ ลูกหนึ่งหั่นสัก 3-4 ชิ้นก็ได้ ใส่ในโหลที่มีฝาปิด เทน้ำผึ้งให้ท่วมกล้วย ปิดฝาไว้ แต่หมั่นเปิดฝาเพื่อถ่ายเทอากาศ เพื่อไม่ให้กลายเป็นการหมักไวน์

บางท่านแนะนำให้ใช้ผ้าขาวบางปิดฝาโหลมัดผ้ากันสิ่งสกปรก แต่ยังให้อากาศถ่ายเทได้

ตามตำราให้ดองน้ำผึ้ง 1 เดือน บางคนที่ใจร้อน ดองสัก 1 สัปดาห์ก็พออนุโลมนำมากินได้

สูตรที่ 2 บอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง นำเถาบอระเพ็ดมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ยาวสัก 1 นิ้วหรือใครจะหั่นเล็กกว่านี้ก็ได้ แล้วผึ่งให้แห้ง

บางท่านก็นำน้ำผึ้งมาดองเลย แต่ถ้าจะไล่ความชื้นในน้ำผึ้งออกบ้าง ก็นำน้ำผึ้งตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวไล่น้ำออก ทิ้งไว้ให้เย็น นำบอระเพ็ดที่เตรียมไว้ ใส่ลงในโหลประมาณครึ่งโหล ใส่น้ำผึ้งให้ท่วมยา

ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 3 เดือน อย่าให้ถูกแดด

นำน้ำผึ้งที่ดองแล้วมากินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 1 แก้ว กินวันละ 2-3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพื่อบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ

ตำรับยาพื้นบ้านอินเดียที่คนไทยก็นำมาดองกินเช่นกัน และเป็นที่รู้จักกันในครัวเรือนชาวอินเดีย คือ ชิงช้าชาลี (Tinospora baenzigeri Forman) ซึ่งเป็นไม้เถาเลื้อยพัน เถามีปุ่มเล็กน้อย และมีรสขม

ซึ่งหมอยาไทยถือว่าชิงช้าชาลีมีสรรพคุณเทียบเคียงกับบอระเพ็ด จึงมีการนำมาใช้ทดแทนกันได้

สูตรสุดท้ายที่ขอแนะนำ กระชายเหลืองดองน้ำผึ้ง

ให้นำแขนงรากกระชายสด (กระชายเหลือง) จำนวนเท่าอายุของผู้ใช้ ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง และใช้วิธีการดองเหมือนบอระเพ็ด

ยาดองน้ำผึ้งไทยไร้แอลกอฮอล์ ดองสมุนไพรได้หลากหลาย เช่น ยอ มะขามป้อม สมอไทย และสูตรตรีผลา เป็นหนึ่งในซอฟต์เพาเวอร์สมุนไพรไทย •
11  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: เครื่องรางของขลัง เมื่อ: 07 เมษายน 2567 13:24:37

พระปิดตา พ่อท่านมุ่ย

พระปิดตาน้ำนมควาย วัตถุมงคล ‘พ่อท่านมุ่ย’ พระเกจิชื่อดังปากพนัง

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 มกราคม 2567
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2567


“พ่อท่านมุ่ย จันทสุวัณโณ” หรือ “พระครูนิโครธจรรยานุยุต” วัดป่าระกำเหนือ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ชาวใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพรุ่นแรก ปี 2530 พระเครื่องและวัตถุมงคลแต่ละชนิดแต่ละรุ่น เช่น พระปิดตา พระพิมพ์ประทานพร ลูกอม จะปลุกเสกเดี่ยว

พระเครื่องที่โด่งดัง เป็นที่นิยมกันมากและหายาก คือ “พระปิดตาน้ำนมควาย” สร้างจำนวนไม่มาก

รุ่นแรก มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ซึ่งพิมพ์ใหญ่จะเป็นที่นิยมมากกว่า

พระปิดตาน้ำนมควายรุ่นแรกนั้น กรรมวิธีการสร้างพิถีพิถัน และสร้างยากมาก ขั้นแรก จะทำแท่งดินสอที่จะนำมาเขียนอักขระ โดยทำจากข้าวเม่าตำผสมกับสมุนไพรและมวลสารต่างๆ ตามตำราโบราณ ปั้นเป็นแท่งใช้เขียนอักขระลงบนกระดานชนวนพร้อมบริกรรมคาถาไปด้วย แล้วลงอักขระทำผงปถมังด้วยนะต่างๆ จนผงทะลุกระดานชนวน

ในครั้งแรกๆ ผงหายไปหมด จึงไปปรึกษากับพ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก ซึ่งเป็นสหธรรมิก ได้รับคำแนะนำให้ใช้ใบกล้วยทองลงอักขระยันต์ผูกธรณีรองรับ จึงจะได้ผงปถมัง จากนั้นก็เพียรสร้างผงวิเศษเป็นเวลาหลายปีเก็บไว้ ก่อนจะนำมาสร้างเป็นพระเครื่อง โดยใช้น้ำนมควายเป็นตัวประสาน

พ่อท่านมุ่ยบอกว่า “น้ำนมวัว น้ำนมควาย ชุบเลี้ยงคนบนโลกนี้มานานแล้ว เป็นสัตว์ที่มีคุณต่อมนุษย์”

ด้วยเหตุที่น้ำนมควาย มีความข้นกว่าน้ำนมวัว จึงใช้น้ำนมควายเป็นตัวประสาน ขั้นตอนในการเคี่ยวน้ำนมควายนั้นก็พิถีพิถัน ขั้นแรกก็ต้องนำก้อนเส้าที่จะใช้ทำเตามาลงอักขระบนก้อนเส้าทุกก้อน ฟืนก็ใช้ไม้มงคลต่างๆ และลงอักขระทุกท่อน ภาชนะที่จะใช้เคี่ยวน้ำนมควาย แม้แต่ไม้พายที่จะใช้ในการเคี่ยวก็ต้องลงอักขระทุกชิ้น ขณะเวลาเคี่ยวก็ต้องบริกรรมคาถาตลอดการเคี่ยวจนเสร็จ

เมื่อน้ำนมควายข้นดีแล้ว จึงนำมาคลุกเคล้ากับผงปถมังที่เขียนไว้ โดยมิได้ผสมปูนหรือสิ่งอื่นใดเลย เป็นเนื้อผงปถมังล้วน เมื่อเหนียวดีแล้ว จากนั้นจะกดลงบนพิมพ์ และตกแต่งที่ด้านหลังทุกองค์ ทุกขั้นตอนจะทำผู้เดียวตลอดทุกองค์ หลังจากนั้นจึงมาทาแล็กเกอร์บ้าง เชลแล็กบ้าง ในส่วนนี้มีลูกศิษย์มาช่วยทา

หลังจากนั้นจะนำพระไปปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานาน ส่วนมากก็จะตลอดช่วงเข้าพรรษา แล้วจึงนำมาแจก

จัดเป็นพระปิดตาที่หายาก เนื่องด้วยจำนวนการสร้างที่น้อย




พ่อท่านมุ่ย จันทสุวัณโณ

มีนามเดิม มุ่ย ทองอุ่น เกิดเมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน 2442 ที่บ้านป่าระกำ หมู่ที่ 6 ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช บิดา-มารดาชื่อ นายทองเสน และนางคงแก้ว ทองอุ่น

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2462 ที่วัดป่าระกำเหนือ อ.ปากพนัง และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูนิโครธจรรยานุยุต เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2498 และในปี พ.ศ.2477 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าระกำเหนือ และเจ้าคณะตำบลป่าระกำ ในปีเดียวกัน

ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับอาจารย์จืด และอาจารย์ศักดิ์ วัดถ้ำเขาพลู อ.ปะทิว จ.ชุมพร ออกธุดงค์ในป่าลึก แถบจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เป็นเวลาหลายปี ร่วมกับหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่รักใคร่นับถือกันมาก

เป็นพระวิปัสสนาธุระ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นเลิศ นอกจากนั้น ยังมีความรู้ด้านต่างๆ อีกมาก เป็นหมอยาสมุนไพร เป็นผู้รู้เวทมนตร์คาถา เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

เป็นพระเถระที่มากด้วยเมตตาบารมี ประพฤติพรหมจรรย์มั่นคงยาวนานปี ศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็นที่เคารพนับถือ เป็นพระสุปฏิปันโนอีกรูปของนครศรีธรรมราช มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทุกระดับชั้น

กล่าวสำหรับคลองใหม่พ่อท่านมุ่ย เป็นคลองขุดอยู่ในพื้นที่ตำบลชะเมา เป็นคลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองชะเมาที่บ้านโอขี้นาก เชื่อมกับคลองค้อที่บ้านหัวสวน เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ.2495 และขุดเสร็จเมื่อ พ.ศ.2497 มีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ผู้ดำเนินการขุดคลองนี้ คือหลวงพ่อมุ่ยนั่นเอง

ขุดโดยใช้แรงงานคน ส่วนมากเป็นคนในพื้นที่ตำบลชะเมา ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง และ ต.เชียรเขา อ.เชียรใหญ่ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับผิดชอบออกปากคนในหมู่บ้านไปขุด เริ่มแรกคลองมีขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร คนทั่วไปเรียกชื่อคลองนี้ว่า “คลองใหม่พ่อท่านมุ่ย” ตามชื่อของผู้ดำเนินการขุด

คลองใหม่พ่อท่านมุ่ย มีประโยชน์ในด้านคมนาคมระหว่างคลองค้อกับคลองชะเมา แต่เดิมนั้นการเดินทางจากคลองค้อไปคลองชะเมาต้องไปออกทางบ้านเกาะแก ตำบลชะเมา คลองใหม่พ่อท่านมุ่ยจึงช่วยย่นระยะทาง และช่วยให้การเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปบ้านหัวสะพานชะเมา บ้านเสาธง ในหน้าน้ำชาวบ้านเข้าไปหาไม้ในป่าพรุ และล่องแพมาทางคลองนี้ และยังมีประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม มีน้ำใช้ เพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเพื่อการทำนา เพราะทั้งสองฝั่งคลองนี้เป็นพื้นที่นาทั้งหมด

คลองใหม่พ่อท่านมุ่ยนี้ บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์พระนักพัฒนา ผู้นำและบารมีอย่างแท้จริง เป็นคลองประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจ

มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2535 เวลา 04.46 น. สิริอายุ 93 ปี 1 เดือน 18 วัน พรรษา 73 •

12  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / หมึกไข่แดดเดียวทอด เมื่อ: 03 เมษายน 2567 17:12:07
.



หมึกไข่แดดเดียวทอด

ที่มา - คอลัมน์อาทิตย์ละมื้อ  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567


หมึกไข่ หรือ ปลาหมึกไข่ นิยมกินกันมากขึ้นเพราะความหนึบอร่อย และยังมีความมันของไข่หมึกมาช่วยเพิ่มรสชาติ สามารถนำมาปรุงร่วมกับวัตถุดิบซีฟู้ดอื่นๆ แบบต้ม ผัด แกงได้หลายรูปแบบ

ที่ได้กินกันบ่อยๆ คือ หมึกไข่สดนึ่งมะนาว

แต่วันนี้ลองเปลี่ยนมาทำหมึกไข่แดดเดียว แล้วทอดให้สุกธรรมดา ก็จะได้รสหอมมัน กินเป็นกับข้าวและกับแกล้มได้เลย


ส่วนประกอบ
ปลาหมึกไข่, เกลือ, ซีอิ๊วขาว, ซอสปรุงรส, น้ำมันพืช, ผักกาดหอม, น้ำจิ้ม


วิธีทำ
1. นำหมึกไข่มาล้างน้ำให้สะอาด
2. นำมาหมักเกลือ ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
3. นำไปตากแดดประมาณ 3-4 ชั่วโมง
4. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืช ไฟกลาง นำหมึกไข่ที่ตากลงไปทอดให้สุกเหลือง
5. ตัดใส่จานเสิร์ฟ พร้อมผักกาดหอม และน้ำจิ้ม

จะเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มแบบน้ำจิ้มไก่, ซอสศรีราชา หรือน้ำจิ้มซีฟู้ด ก็ตามแต่ชอบเลย •
13  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / เครื่องแกงไทยแก้โรคด่างขาว ยาดีที่พระบอก เมื่อ: 03 เมษายน 2567 17:06:56


เครื่องแกงไทยแก้โรคด่างขาว ยาดีที่พระบอก

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 21 มีนาคม 2567 (คอลัมน์ โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง)
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2567



โรคด่างขาวเป็นโรคผิวหนังที่แปลกประหลาด เพราะไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อราที่คันคะเยอเหมือนโรคกลากเกลื้อน หรือเกิดจากเชื้อไวรัสปวดแสบปวดร้อนเหมือนโรคเริม งูสวัด หรือเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเรื้อน คุดทะราด เป็นต้น

โรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นโรคที่เกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีผิวหนังเมลาโนไซต์ (Melanocytes) หายไป ทำให้หยุดการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน (Melanin) จึงทำให้เกิดเป็นด่างสีขาวขึ้นที่ผิวหนัง เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย สามารถพบได้ที่บริเวณใดในร่างกายก็ได้

ในคนไทยพบได้บ่อยบริเวณปลายมือ ปลายเท้า รอบปาก แม้กระทั่งรอบดวงตา และขยายขนาดได้โดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะลุกลามมากน้อยเพียงใด ปัจจุบันพบได้ประมาณ 1% ของประชากรไทย

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีสุขภาพปกติดี แต่อาจพบโรคด่างขาวกับคนที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 โรคต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น สาเหตุของโรคด่างขาวนั้นยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรือโรคแพ้ภูมิ

ดังนั้น ต้องทำใจว่าโรคด่างขาวอาจจะรักษาไม่หายขาด มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 50%

โรคด่างขาวไม่ใช่ทั้งโรคติดต่อและโรคอันตราย เพียงแต่ผิวบริเวณนั้นจะขาวกว่าบริเวณอื่น เกิดเป็นรอยด่างดวง อาจจะมีผลในแง่ปมด้อย ความไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะเกรงว่าสังคมรังเกียจ แต่ถึงจะไม่เป็นอันตรายอะไรก็ควรที่จะทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงการรับแสงแดดจัดๆ ในบริเวณที่เป็นดวงขาว เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้

ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาทาผิวที่เป็นด่างขาวไม่มากนัก เช่น กลุ่มยายาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หากมีรอยด่างขาวบริเวณกว้างมากต้องใช้วิธีการฉายแสงอุลตร้าไวโอเลต (UV) บางชนิด หรือใช้วิธีการฟอกผิวขาวทั้งตัวไปเลย

บางคนใช้วิธีการสักสีแต้มกลบบนรอยด่างเล็กๆ สำหรับผู้นิยมสมุนไพรบำบัดสามารถเลือกใช้สมุนไพรที่เหมาะสม ที่ต้องไม่มีพิษข้างเคียง ในที่นี้ขอเสนอ 2 ตำรับ ตำรับหนึ่งเป็นยาคนบอก อีกตำรับเป็นยาพระบอก

ตำรับแรกเป็นภูมิปัญญาสมุนไพรชาวบ้านที่ใช้แค่ เหง้าข่ากับน้ำมะนาว ทำเป็นยาพอกรักษาโรคด่างขาว มีวิธีทำยา พอกยาง่ายๆ ดังนี้ นำเหง้าข่าสดมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะนาวลงไปคลุกเคล้าข่า จากนั้นนำมาพอกบริเวณรอยด่างขาวที่ผิวหนัง

พอกเอาไว้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง รอให้น้ำมันข่าซึมซาบลงไปในผิวหนัง แล้วจึงล้างออก โดยการอาบน้ำธรรมดาหรืออาจจะนำน้ำต้มใบตะไคร้มาอาบ เพื่อช่วยบรรเทาความแสบร้อนได้

นํ้ามันหอมระเหยข่า (Galangal Essential Oil) อุดมไปด้วยวิตามินเอและสารแอนติออกซิแดนต์มากถึง 40 ชนิด ช่วยต่อต้านริ้วรอย บำรุงผิวให้อ่อนเยาว์อยู่เสมอ ใช้ทาแก้ลมพิษ แก้ผดผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน แมลงสัตว์กัดต่อย พิษแมลงมุม สามารถหยดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาบริเวณผิวที่มีอาการ

อนึ่ง การใช้ข่าตำพอกแก้โรคทางผิวหนัง มีข้อควรระวังสำหรับบางคนที่แพ้น้ำมันข่า หากเกิดอาการแสบร้อนต้องหยุดใช้ทันที เช่นเดียวกับน้ำมะนาวอันอุดมไปด้วยวิตามินซี ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังช่วยผลัดเซลล์ผิว ลบเลือนฝ้า กระและจุดด่างดำ ทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้นด้วย

ควรตำยา พอกยาตามกรรมวิธีดังกล่าววันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 1 อาทิตย์หรือมากกว่านั้น รอจนผิวที่เป็นด่างขาวลอกออก แล้วอาจจะทำซ้ำอีกจนกว่าผิวที่เป็นรอยด่างลอกออกไป หลังจากนั้น ผิวใหม่ก็จะขึ้นมาแทนที่รอยด่างที่ค่อยๆ เลือนหายไป และหลังจากนั้นเป็นปีจะกลับมาเป็นอีก ให้ใช้ตำรับยาพอกข่ากับน้ำมะนาวรักษาซ้ำจนกว่ารอยด่างขาวจะหายขาด หรือทิ้งระยะห่างจากการเป็นซ้ำยาวนานออกไป

ตำรับยาพระบอกเป็นของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท บันทึกไว้ดังนี้

ท่านให้เอาเครื่องแกงเผ็ด (ที่ตำละเอียดแล้ว สดๆ) กับหัวน้ำกะทิ นำมาใส่กระทะตั้งไฟผัดเครื่องแกง (ยังไม่ต้องใส่เนื้อสัตว์) นำอวัยวะที่เป็นโรคด่าง (เช่น ปาก มือ เท้า) รมไอระเหยของเครื่องแกงเผ็ดนั้น จนน้ำแกงเดือดแล้ว จึงหยุดรม ทำอย่างนี้วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเพียง 7 วัน โรคปากด่าง มือด่าง เท้าด่าง เป็นต้น จะพลันหายไปอย่างน่าอัศจรรย์แล มีสรรพคุณชะงัดนักแล

แถมท่านยังบอกสูตรเครื่องแกงเผ็ด ประกอบด้วยเครื่องปรุงไว้อย่างละเอียดดังนี้ พริกแห้ง (ย่างไฟให้สุก) 10 เม็ด, ตะไคร้ (หั่นให้ละเอียด) 1 ต้น, ข่า 5 แว่น, หัวหอม (ย่างไฟให้สุก) 5 หัว, กระเทียม (ย่างไฟให้สุก) 10 กลีบ, พริกไทยร่อน 10 เม็ด, ใบมะกรูด (หั่นให้ละเอียด) 5 ใบ, กานพลู 3 ดอก, รากผักชี (หั่นให้ละเอียด) 1 ช้อนชา, ลูกผักชี 1 ช้อนชา, ลูกยี่หร่า 1 ช้อนชา, ลูกกระวาน ครึ่งช้อนชา, ลูกจันทน์ ครึ่งช้อนชา, ดอกจันทน์ ครึ่งช้อนชา, ผิวมะกรูด (หั่นให้ละเอียด) ครึ่งช้อนชา, อบเชย ครึ่งช้อนชา, เกลือทะเล (เกลือใส่แกง) ครึ่งช้อนชา, กะปิ ครึ่งช้อนชา, ส่วนน้ำปลา, น้ำตาลปี๊บ, พริกชี้ฟ้าเขียว-แดง, น้ำส้มมะขามเปียก

กะเอาอย่างละพอสมควร

นํ้ามันหอมระเหยอันอบอวลจากเครื่องแกงสมุนไพรนานาชนิดมีความเข้มข้นพอที่จะช่วยบำบัดเซลล์สีผิวให้กลับเป็นปกติได้ แต่มีข้อควรระวังในการรมไอเครื่องพริกแกง คือ ควรเริ่มจากผิวด่างบริเวณมือ แขน ที่ทำได้สะดวกจนเห็นผลก่อนที่จะทำบริเวณลำตัวและเท้า ส่วนบริเวณใบหน้าต้องมีแว่นปิดตามิดชิดเพื่อไม่ให้เกิดอาการแสบระคายเคืองตา แต่รอยด่างขาวรอบดวงตาจะได้รับน้ำมันหอมระเหยจากเครื่องแกงที่ซาบซึมทางอ้อมจนบำบัดสีผิวรอบดวงตาให้เป็นปกติ

เป็นที่รู้กันว่าโรคด่างขาวรักษายาก ใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายมากหากใช้รังสีและเคมีบำบัด เรามีภูมิปัญญาสมุนไพรบำบัดโรคด่างขาวจากประสบการณ์ยาพื้นบ้านและยาดีที่พระท่านบอก ไม่สิ้นเปลื้องเงินทองในการรักษา แถมยังได้เครื่องแกงนำไปทำอาหารสุขภาพต่อได้อีกด้วย •
14  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระเครื่อง เมื่อ: 03 เมษายน 2567 17:02:27


พระกริ่งเจริญพร ยอดนิยม : หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก จ.ประจวบฯ

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ” หรือ “พระครูนิยุตธรรมสุนทร” วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไว้มากมายหลายชนิด วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก เด่นในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ทหารและตำรวจ

แต่ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ “พระกริ่งเจริญพร”

เคยมีคำกล่าวของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง กล่าวไว้ว่า “หากพูดถึงต้นแบบพระกริ่งชินบัญชร ต้องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ แต่หากกล่าวถึงต้นแบบพระกริ่งเจริญพร ต้องหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก”

เมื่อปี พ.ศ.2537 หลวงพ่อยิดอนุญาตให้พระไชยา ปัญญาธโร วัดหนองจอก จัดสร้าง “พระกริ่งเจริญพร พิมพ์อุบาเก็ง” เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ วัดหนองจอก และก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม สำนักสงฆ์ไร่เนิน

จัดสร้างมีเนื้อทองคำ 29 องค์ เนื้อเงิน 3,000 องค์ และเนื้อนวะ 5,000 องค์

ทุกองค์ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์ เป็นโค้ดหมายเลขไทย ชุดตัวใหญ่ ทุกเนื้อมีโค้ดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ที่ฐานด้านหลังพระกริ่ง มีอักษรไทยเขียนคำว่า “กริ่งเจริญพร ยิด จนฺทสุวณฺโณ”

พระกริ่งชุดนี้ หลวงพ่อยิดปลุกเสกตั้งแต่วันที่ 3-9 กรกฎาคม 2537 รวม 7 วัน ที่วัดหนองจอก

ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในประจวบคีรีขันธ์ กล่าวได้ว่า พระกริ่งเจริญพร หลวงพ่อยิด เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสม และเซียนพระต่างพากันกะเก็งว่าจะได้รับความนิยมสูง

อีกทั้งมีพุทธคุณเด่นทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด ปลอดภัย ราคาเช่าบูชาจึงขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ

นับเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่น ที่ควรค่าแก่การเช่าบูชา





หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน

มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 บิดา-มารดาชื่อ นายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ

อายุ 9 ขวบ บรรพชาในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระปริยัติธรรม กระทั่งอายุ 14 ปี จึงสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น

จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาล้มป่วย จึงเดินทางกลับมา ลาสิกขาออกมาดูแล และแต่งงานมีครอบครัว

ท้ายที่สุด เมื่อบิดา-มารดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก มีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้สร้างวัดขึ้น

ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่อง

วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิดจะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิดจะมอบวัตถุมงคลให้นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

สำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของหลวงพ่อยิด

แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง จึงมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30

แม้จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะและปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ส่งเสริมและสนับสนุนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น •




เหรียญหนุมานแบกพระสาวก

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก พระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระอุปัชฌาย์คง หรือหลวงพ่อคง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เป็นพระเกจิอาจารย์ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอีกรูปที่วัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาไม่แพ้หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย

วัตถุมงคลโดยเฉพาะเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นับว่ายอดเยี่ยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยม

เหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกัน คือ เหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเสาะแสวงหา

ส่วนประเภทเหรียญหล่อก็เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสมัยโบราณคนท้องถิ่นนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม

สร้างแจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง คือ เหรียญหล่อหนุมานแบกพระสาวก

สร้างช่วงประมาณปี 2484-2485 ในยุคสงครามอินโดจีน เป็นเนื้อทองผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้บันทึกไว้

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางประทานพร มีรูปพระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร พระอัครสาวกอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ด้านล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนแบกพระอัครสาวกไว้อีกที ส่วนพระบาทของพระพุทธองค์ชิดติดกับศีรษะหนุมาน

ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

เหรียญหล่อพิมพ์นี้ หลวงพ่อคง เคยปรารภว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิฤทธิ์มาก

ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก ถ้าจะเช่าหาควรศึกษาให้ดี


 

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต เกิดในสกุล จันทร์ประเสิรฐ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2407 ณ ต.บางสำโรง อ.บางคนที จ.สุมทรสงคราม

บิดา-มารดา ชื่อ นายเกตุ และนางทองอยู่ จันทร์ประเสิรฐ

เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือนแพ จะต้องเป็นผู้ชายและครองสมณเพศเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต โดยบิดา-มารดาซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง

พออายุได้ 12 ปี บรรพชาที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรมีความสนใจในวิชาเมตตามหานิยม

กระทั่งอายุได้ 19 ปี ลาสิกขาเพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนสิงหาคม 2427 มีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม

จำพรรษาอยู่ที่วัดเหมืองใหม่ คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ ด้วยอุปนิสัยที่รักการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นฐาน ต่อมาได้ไปศึกษากับพระเถระชื่อดังในยุคนั้นอีกหลายรูป

ได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ กับอาจารย์นก ซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ยังสนใจการศึกษาวิทยาคม โดยร่ำเรียนกับพระเกจิชื่อดัง เริ่มแรกศึกษาคัมภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้นต่อมาเล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้า โดยเฉพาะวิชานะปัดตลอด

อีกทั้งยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ผู้เชี่ยวชาญในพระกัมมัฏฐาน

ในพรรษา 19 เกิดอาพาธ จึงหยุดพักผ่อน หันมาสอนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานลูกศิษย์ลูกหา

เอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็ปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยมือ

จนกระทั่งพรรษาที่ 21 ในปี พ.ศ.2448 ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นวัดบางกะพ้อมไม่มีสมภารปกครองวัด และวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม

ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น

พ.ศ.2464 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

แม้จะมีภาระงานปกครองวัด แต่ในเดือน 4 ของทุกปี จะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า รุกขมูลข้างวัด ชำระจิตใจให้สะอาด หลังจากยุ่งกับเรื่องราวทางโลกเกือบตลอดทั้งปี

ช่วงบั้นปลายชีวิตอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำ ด้วยเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2486 ขณะนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระพุทธรูปประธานองค์ใหม่ เมื่อสวมพระเกตุพระประธานแล้วเสร็จ ก็เกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่มีสติดี เอามือประสานในอิริยาบถนั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบ

คณะศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นาน จึงประคองร่างลงมาจากนั่งร้าน จึงรู้ว่ามรณภาพไปแล้ว

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58 •




   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หน้า)

   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หลัง)

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระครูปทุมชัยกิจ หรือ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท จะมีอายุครบรอบ 103 ปี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและผู้เลื่อมใส จะได้ร่วมกันจัดงานมุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมหามงคล เป็นประจำทุกปี

เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป ทายาทศิษย์พุทธาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

ในปี พ.ศ.2531 อนุญาตให้ทางวัดจัดสร้าง “พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ)” เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะอุโบสถ

ลักษณะขององค์พระ เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ ด้านหน้าองค์พระ ตรงกลางเป็นรูปนูนพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนฐาน 3 ชั้น มีซุ้มครอบแก้ว ฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานขาสิงห์ ฝังพระธาตุ 1-3 เม็ด และเส้นเกศาหลวงปู่นะ

ส่วนด้านหลังองค์พระ ตรงกลางเป็นลายเส้นรูปเหมือนนั่งสมาธิเต็มองค์อยู่บนอาสนะ รอบรูปเหมือน มีอักขระขอม นะโมพุทธายะ และด้านล่างเขียนว่า “หลวงพ่อนะ วัดปทุมธาราม (หนองบัว)” พร้อมโรยผงตะไบที่รูปหลวงปู่นะ

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ) รุ่นนี้ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส (3 เดือน) และเนื้อพระผสมผงพุทธคุณที่นำมาจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป

สำหรับพระสมเด็จฐานสิงห์ ด้วยความที่มีพลังจิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีพระสมเด็จฐานสิงห์รุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ

นับเป็นพระดีอีกรุ่นหนึ่งของจังหวัดชัยนาท





หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ  มีนามเดิมว่า โฉม เหล่ายัง เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2459 ที่บ้านขุนแก้ว ต.ดงขวาง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 9 คน ของนายแจกและนางตี่ เหล่ายัง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ในวาระแรกเกิด บิดา-มารดาตั้งชื่อให้ว่า “โฉม” ต่อมาเมื่ออายุ 5-6 ขวบ หมอเป้ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ และเป็นผู้มีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ด้วย เห็นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “นะ” อันเป็นมงคลนาม

ส่วนนามสกุล “เหล่ายัง” ต่อมาภายหลังเปลี่ยนเป็น “นาคพินิจ”

อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมา วัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2480

โดยมีพระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ชั้น เป็นพระกรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สำเนียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) พ.ศ.2483 เดินทางไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดหนองแฟบ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.2485 ได้ไปจำพรรษาที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) และในปี พ.ศ.2487 สามารถสอบได้สอบนักธรรมชั้นเอก

ขณะศึกษานักธรรม มีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไปด้วย

ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ วิทยฐานะนักธรรมชั้นเอก จึงมีความคิดก่อตั้งสำนักเรียนขึ้นมาใหม่ หลังจากซบเซาขาดหายไปนาน โดยรับหน้าที่เป็นผู้สอนเองทุกชั้น ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท และเอก จึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้หลายจังหวัด

ระหว่างนั้นหันมาให้ความสนใจศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม และเรียนวิทยาคม เลขยันต์พันคาถาควบคู่กันไป จากตำราที่พระปลัดปั่น เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ได้รับมอบจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และพระปลัดปั่น มอบตำราของหลวงปู่ศุขให้

ศึกษาเรียนรู้สรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคมอย่างดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ช่วยเหลือปัดเป่าทุกข์เหล่านั้นด้วยความเมตตา

ด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดเทศนาธรรมเป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชักชวนประชาชนให้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งเป็นครูสอนพระธรรมวินัย สำนักเรียนวัดปทุมธาราม (หนองบัว) เป็นครูสอนการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่พระภิกษุ-สามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป

ด้านการพัฒนาวัด นับตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธารามเป็นต้นมา ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการสร้างศาลาการเปรียญ โครงสร้างชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาเป็นกระเบื้องเกร็ด, สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม, สร้างฌาปนสถานแบบมาตรฐาน พร้อมเตาเผาอย่างดี, สร้างอาคารปริยัติธรรมภิกษุ-สามเณร ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากนี้ ยังสร้างวิหารหลวงปู่ศุข 1 หลัง ลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน ลายใบเทศ ประดับด้วยกระจก

ด้านวัตถุมงคล อาทิ ใบพลูใจเดียว, เหรียญนารายณ์ทรงครุฑ, สมเด็จบัวไขว้ข้างอุ เป็นต้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากสาธุชน
 
พ.ศ.2493 เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม

พ.ศ.2495 เป็นเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2

พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ “พระครูปทุมชัยกิจ”

พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง กลางดึกคืนวันที่ 10 มีนาคม 2563 หลวงปู่นะมีอาการหัวใจหยุดเต้น คณะศิษย์รีบนำส่งโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร คณะแพทย์พยายามยื้ออาการสุดความสามารถ แต่ด้วยความชราภาพ จึงมรณภาพอย่างสงบในเวลา 05.30 น. วันที่ 10 มีนาคม 2563

สิริอายุ 104 ปี พรรษา 83 •




พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก

หลวงปู่ทวดผงกัมมัฏฐาน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สําหรับหลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค

ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ จ.ปัตตานี สร้างขึ้นโดยพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร

แต่ยังมีพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีความนิยมสูงและสนนราคาค่อนข้างสูงเอาการ คือ พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ปลุกเสกโดย “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” อดีตพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม

หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมาก และมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหา หลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำตลอด ดังนั้น พระเครื่องที่สร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

ที่รู้จักกันดี คือ เหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว

ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้ว สนนราคายังไม่สูงมากนัก หลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกแจกอย่างเดียว จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันเรื่องพิมพ์ทรง

พิมพ์พระหลวงปู่ทวด ด้วยเนื้อผงสีขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐาน จะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงสีขาวทุกพิมพ์ว่า “พระผงกัมมัฏฐาน”

ด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ

พระผงดังกล่าว ค้นพบภายในกุฏิหลวงปู่ดู่หลังมรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่า





หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ถือกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เกิดวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2447 ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บ้านข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพุดและนางพ่วง หนูศรี

มารดาถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเป็นทารก ต่อมาบิดาจากไปเมื่ออายุเพียง 4 ขวบ จึงอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวเป็นผู้ดูแล เริ่มศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

อายุ 21 ปี บรรพชาอุปสมบทที่วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พรรษาแรก ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม กับเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

ด้านการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น และหลวงพ่อเภา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา รวมทั้งตำรับตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จ.สุพรรณบุรี และสระบุรี

พรรษาที่ 3 เดินธุดงค์จากอยุธยามุ่งตรงสู่สระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉาย และรอยพระพุทธบาท จากนั้นไปยังสิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน กระทั่งอาพาธด้วยโรคเหน็บชาจึงพักธุดงค์

ทั้งนี้ ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์นอกวัด ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2490 และถือข้อวัตรฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 ต่อมาภายหลังในปี พ.ศ.2525 ศิษย์ต้องกราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อ

ปีหนึ่งๆ จะออกมาเพื่อลงอุโบสถเพียง 3 ครั้งเท่านั้น คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันโมทนากฐิน

เป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีผู้ปวารณาจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลย อันจะเสียสมณสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายเกิดความปลื้มปีติ ก่อนยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวม ข้าวของต่างๆ ที่เป็นสังฆทาน ถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะระบายออก จัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบทและยังขาดแคลน

ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ถึงกับเมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

หากลูกศิษย์คนใดสนใจขวนขวายในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ก็จะส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจ ที่สำคัญจะไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่นในเชิงลบหลู่ หรือเปรียบเทียบดูหมิ่น

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศ ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ด้านวัตถุมงคล มิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ สร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่อง ด้วยเห็นประโยชน์ เนื่องจากบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ เคยปรารภว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล”

พระเครื่องบูชาที่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้แล้วปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ แต่กุศโลบายที่แท้จริงคือ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ เป็นต้น

รับแขกโปรดญาติโยมไม่ขาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 จนปลายปี พ.ศ.2532 สุขภาพจึงทรุดโทรมลง แต่ใช้ความอดกลั้นอย่างสูง แม้จะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ก็สู้ออกโปรดญาติโยมเหมือนไม่เป็นไร บางครั้งถึงขนาดที่ต้องพยุงตัวเอง ก็ยังไม่เคยปริปากให้ใครต้องกังวล

เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2533 จึงมรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคหัวใจ สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65


4
15  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / เฉาก๊วย (แท้) และเพื่อนเฉาก๊วย เมื่อ: 01 เมษายน 2567 11:34:25


เฉาก๊วย (แท้) และเพื่อนเฉาก๊วย


ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2567
คอลัมน์ - โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2567


เฉาก๊วยเป็นของหวานที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันมานาน ยิ่งอากาศร้อนๆ เฉาก๊วยใส่น้ำแข็งไสก็เป็นหนึ่งในอาหารกินเล่นคลายร้อนที่ดี เดินไปกินร้านไหนๆ ก็บอกว่าเฉาก๊วยของแท้กันทุกร้าน บางเจ้ากล่าวว่าของแท้ต้องมาจากจังหวัดนั้น บางเจ้าว่าของแท้ต้องตัดเป็น 4 เหลี่ยม 6 เหลี่ยมก็มี แล้วเฉาก๊วยแท้ต้องมาจากจีนจริงหรือ?

คงเพราะชื่อ เฉาก๊วย เรียกกันตามภาษาจีน และด้วยการรับรู้มาเนิ่นนานว่า เฉาก๊วยต้องสั่งซื้อนำเข้าหญ้าเฉาก๊วยมาจากเมืองจีน ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าต้นเฉาก๊วยเป็นพืชเฉพาะถิ่นของจีนเท่านั้น แต่ถ้าดูข้อมูลวิชาการจากฐานข้อมูลของสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว มีรายงานว่าเฉาก๊วยมีถิ่นกำเนิดในอัสสัม บังกลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้ ลาว เมียนมา เกาะนิวกีนี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และในประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม เพราะจีนเป็นประเทศที่มีการปลูกและส่งออกเฉาก๊วยมากที่สุด ซึ่งก็ส่งเขามาเมืองไทยมากมายด้วย ต่อมาอินโดนีเซียและเวียดนามมีการปลูกเป็นการค้าเช่นกัน และช่วงนี้เข้าสู่หน้าร้อนและร้อนที่สุด เฉาก๊วยจึงเป็นสมุนไพรทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยการดูแลสุขภาพ ด้วยการรู้จักกินอาหารให้เข้ากับฤดูกาล เฉาก๊วยจึงเป็นทั้งอาหารและยา

เฉาก๊วยมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Black cincau หรือ Grass black jelly เดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesona chinensis Benth. อยู่ในวงศ์กะเพรา หรือวงศ์มินต์ (Lamiaceae)

ต่อมามีการศึกษาทางโมเลกุลเชิงลึก ค้นพบข้อมูลใหม่จึงเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์มาเป็น Platostoma palustre (Blume) A.J.Paton เฉาก๊วยเป็นไม้ล้มลุก ประเภทคลุมดิน หรือเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดเล็ก สูง 15-100 ซ.ม. ลำต้นกลม เปราะ หักง่าย เป็นพืชเดียวกับสะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า และมินต์ ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบมินต์ และเรียวแหลมรูปรี แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบสีเขียวสด ดอกมีสีขาว สีแดงอ่อน หรือสีฟ้า คล้ายดอกกะเพรา สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ขึ้นได้กับสภาพดินทั่วไป ชอบแสงแดด และความชุ่มชื้น พบในธรรมชาติบนที่สูง ปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

วิธีการสกัดสารออกมาจากต้นเฉาก๊วย ทำได้โดยตัดต้นออกเป็นท่อนสั้นๆ ซึ่งมีใบติดอยู่ด้วย แล้วนำไปต้มน้ำจนเดือดก็จะมีสารที่มีลักษณะคล้ายๆ วุ้นออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรียกว่า เพกติน (Pectin) ซึ่งจัดเป็นสารประกอบจำพวกคาร์โบไฮเดรต พร้อมกับมีส่วนที่เป็นยางออกมาด้วย สารที่ออกมานี้มีสีน้ำตาลเข้มเกือบเป็นสีดำ นี่เองคือที่มาที่เราเห็นเฉาก๊วยมีสีดำก็เพราะมาจากสาร 2 ชนิดนี้นั่นเอง

วิธีทำอีกอย่างหนึ่งจะนำใบเฉาก๊วยแห้ง ผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วนำมาต้มให้เดือดก็จะได้เฉาก๊วยออกมาเช่นกัน หรือวิธีทำที่นำต้นเฉาก๊วยตากแห้งแล้วค่อยนำไปต้มให้ได้น้ำสีดำ มีลักษณะเป็นเมือกเล็กๆ จากนั้นนำน้ำต้มเฉาก๊วยไปกรองแล้วไปผสมกับแป้งเท้ายายม่อมหรือแป้งมันสำปะหลัง คนให้เข้ากันแล้วตั้งทิ้งไว้จนเย็น จะได้วุ้นสีดำแบบเฉาก๊วยเช่นกัน

เฉาก๊วย มีสรรพคุณ แก้ร้อนใน ช่วยดับกระหาย ช่วยขับเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้อาการตัวร้อน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดความดันโลหิตสูงและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการหวัด บรรเทาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดท้อง มวนท้อง บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ

และในระยะหลังๆ มานี้ยังมีการนำเฉาก๊วยเป็นอาหารให้ผู้ป่วยในระยะให้เคมีบำบัดด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการข้างเคียง ลดความร้อนในร่างกาย ฯลฯ

ในประเทศจีน แพทย์แผนจีนแนะนำว่าเฉาก๊วยมีสรรพคุณทางยา ที่ดีต่อคนเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง

หากนำเฉาก๊วยมาต้มและดื่มเป็นประจำ อาการของโรคจะบรรเทาลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องระวังปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในน้ำเฉาก๊วยด้วย หรือดื่มน้ำเฉาก๊วยที่ใส่น้ำตาลเล็กน้อย หรือไม่เติมน้ำตาลเลยก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

แต่เมื่อค้นคว้าในตำรายาจีน พบว่ายังมีสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เฉาก๊วย เช่นกัน เขียนเป็นภาษาจีนได้ว่า ??? (Cao guo, Fructus Tsaoko ) เฉาก๊วยชนิดนี้เป็นผลสุกของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lanxangia tsao-ko (Crevost & Lemari?) M.F.Newman & ?korni?k อยู่ในวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae)

พืชนี้คนไทยเรียกว่า “กระวานดำ” มีรสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์สลายความชื้น ขับความเย็น แก้ความเย็นกระทบกระเพาะอาหารและลำไส้ (แก้ความเย็นที่ทำให้ปวด จุกเสียด แน่นท้อง อาเจียน ท้องเสีย) มีฤทธิ์ขับเสมหะ และแก้ไข้มาลาเรีย

ในอินโดนีเซียก็มีการปลูกต้นเฉาก๊วยเป็นการค้าแล้ว แต่ก็พบว่าคนท้องถิ่นนิยมกินวุ้นจากพืชชนิดหนึ่งคล้ายเฉาก๊วย เรียกว่า “Cincau Hijau” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclea barbata Miers. หรือ เรียกว่า หญ้าวุ้นสีเขียว ( green grass jelly) ซึ่งคล้ายกับเฉาก๊วยที่เรียกว่าหญ้าวุ้นสีดำ (black grass jelly) โดยนำใบสดมาปั่น กรองเอากากออก ปล่อยไว้ประมาณ 5 นาที น้ำที่กรองได้จะกลายเป็นวุ้นสีเขียว ใช้เป็นของหวานเหมือนเฉาก๊วย สรรพคุณก็คล้ายกัน

ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นรายงานพบว่า หญ้าวุ้นสีเขียวของอินโดนีเซียก็คือ “หมาน้อย” ที่เป็นภูมิปัญญาอีสานนำมาสกัดเอาวุ้นมาประกอบอาหารคาวหวานนั่นเอง

แต่เดิมหมาน้อยมีชื่อวิทยาศาสตร์อันเดียวกับพืชที่ภาคกลางเรียกว่า “กรุงเขมา” ใช้ชื่อว่า Cissampelos pareira L. แต่จากการศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า หมาน้อยเป็นพืชที่อยู่คนละสกุลกับกรุงเขมา พืชหมาน้อยมีอย่างน้อย 2 ชนิด Cyclea polypetala Dunn และ Cyclea peltata (Burm.f.) Hook.f. & Thomson และหญ้าวุ้นสีเขียวของอินโดนีเซีย ชนิด Cyclea barbata Miers ก็มีรายรายงานว่าพบในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

เมืองไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง พืชกลุ่มนี้มีสารเพกตินที่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ให้พลังงานในปริมาณที่สูงด้วย จึงนำมาใช้ประโยชน์และสร้างโปรดักต์ด้านสุขภาพได้มากมาย

ร้อนปีนี้ยังอีกยาวไกล เฉาก๊วย หมอน้อย หญ้าวุ้นเขียว มีอยู่มากมายในไทยมีสรรพคุณดีเหมาะกับนำมากินในคิมหันตฤดูนี้ •


16  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / ย้อน “พินัยกรรม-คำสั่ง” โจโฉ ทำไมสั่งเสียเรื่องชีวิตบั้นปลายของเมียน้อยตน? เมื่อ: 29 มีนาคม 2567 12:04:51

โจโฉ (ภาพโดย Yoshitoshi ศิลปินชาวญี่ปุ่นสมัยศตวรรษที่ 19)

ย้อน “พินัยกรรม-คำสั่ง” โจโฉ ทำไมสั่งเสียเรื่องชีวิตบั้นปลายของเมียน้อยตน?

ผู้เขียน - เฉิงเสี่ยวฮั่น
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2567


ย้อน “พินัยกรรม-คำสั่ง” โจโฉ ทำไมสั่งเสียเรื่องชีวิตบั้นปลายของเมียน้อยตน?

รัชศกเจี้ยนอาน ปีที่ 25 (ค.ศ.220) เดือนอ้าย โจโฉ ยอดคนใจฉกรรจ์ป่วยตาย (15 มีนาคม พ.ศ.763) แต่เขาต่างจากท้าวพระยามหากษัตริย์อื่นตรงที่ไม่เพียงสั่งการเรื่องประเทศชาติไว้เรียบร้อย หากยังสั่งเสียเรื่องชีวิตช่วงหลัง (จากตนตาย) ของเมียน้อยทั้งหลายไว้อีกด้วย

“หนังสือคำสั่งเสีย” ของโจโฉกล่าวว่า “กลางดึกข้ารู้สึกอาการไม่ค่อยดี รุ่งเช้ากินข้าวต้มแล้วเหงื่อออกจึงดื่มน้ำตังกุย…บรรดาอนุภรรยาและศิลปินสาวเหล่านางบำเรอของข้าล้วนเหนื่อยยาก ขอให้ไปอยู่บนหอยูงทองทั้งหมด ปฏิบัติต่อพวกนางอย่างดี ในห้องโถงกลางบนหอตั้งเตียงนอนยาว 6 ฉื่อ (1 ฉื่อยาว 23 ซม.) ผูกมุ้งม่านสำหรับดวงวิญญาณไว้ ทุกเช้าค่ำเซ่นไหว้ด้วยข้าวสวยและเนื้อแห้ง วัน 1 ค่ำ 15 ค่ำ มีดนตรีฟ้อนรำถวายหน้าม่าน และพวกเจ้า (บุตร) ต้องขึ้นไปบนหอยูงทองบ่อยๆ แล้วมองไปทางสุสานของข้าทางด้านตะวันตก เครื่องหอมที่เหลืออยู่เอาแบ่งให้ฮูหยินทั้งหลาย พวกเมียน้อยที่ไม่มีงานให้ไปหัดเย็บรองเท้าเป็นอาชีพ”

นี่คือ “พินัยกรรม-คำสั่งเสีย” ที่โจโฉเขียนก่อนตาย ในพงศาวดารสามก๊กจี่ ภาควุยก๊ก บทประวัติวุ่ยอู่ตี้ (โจโฉ) บันทึกไว้แต่ตอนต้น ตอนปลายปรากฏในคำนำ “ร้อยแก้วไว้อาลัยวุ่ยอู่ตี้ (โจโฉ)” ของลู่จี (กวียุคราชวงศ์จิ้น) ซึ่งรวมอยู่ในประชุมวรรณกรรมชุด “สรรบทนิพนธ์โดยเจ้าชายจาวหมิง” เล่ม 60 มีคำกล่าวว่า “คนใกล้ตาย วาจาก็ดีงาม”

โจโฉ รบทัพจับศึกใช้เล่ห์เหลี่ยมชิงชัยมาชั่วชีวิต เป็นผู้นำในแผ่นดิน มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อประวัติศาสตร์ แต่พินัยกรรมฉบับนี้ได้สะท้อนให้เห็นภาพที่ไม่ธรรมดาอีกด้านหนึ่งของโจโฉ

ข้อความตอนนี้ทำให้เราทราบว่า โจโฉรู้ตัวว่าไม่สบายขึ้นฉับพลันในกลางดึก วันรุ่งขึ้นแม้กินข้าวต้มก็เหงื่อออก ร่างกายอ่อนล้ามาก จึงรู้ตัวว่าจะอยู่ได้อีกไม่นาน ในภาวะเช่นนี้ เขาหวังว่าหลังจากตนตายแล้ว “เครื่องหอมที่เหลืออยู่แบ่งให้ภรรยาทุกคน ส่วนเมียน้อยและนางบำเรอที่ไม่มีงานทำให้ไปหัดทำรองเท้าขาย” เป็นที่มาของสำนวนว่า “เฟินเซียงม่ายหลี่ว์-แบ่งเครื่องหอมขายรองเท้า” ซึ่งมีความหมายเชิงอุปมาว่า “เสน่หาอาทร” เหล่าภรรยาเมื่อยามใกล้ตาย (แม้กระทั่งเครื่องหอมที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องเอาแบ่งให้ คนที่ไม่มีงานทำก็ให้หัดเย็บรองเท้าเป็นอาชีพเลี้ยงตัวหลังสามีตาย จะได้ไม่ลำบาก แสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยอย่างสุดซึ้ง-ผู้แปล)

ในสังคมศักดินา ท้าวพระยามหากษัตริย์นอกจากมีมเหสีเอกแล้วก็มักมีสนมกำนัลหรืออนุภรรยา มากบ้างน้อยบ้าง ส่วมมากจะอายุน้อยกว่าสามี หลังจากสามีผู้เป็นกษัตริย์ล่วงลับไป สนมกำนัลสาวๆ เหล่านี้มักถูกกักอยู่ในตำหนักเย็น มิฉะนั้นก็อาจจะก่อความวุ่นวายแก่ฝ่ายใน ชะตาชีวิตบั้นปลายแสนเศร้า ด้วยตระหนักเรื่องดังกล่าว ก่อนตายโจโฉจึงวางแผนและสั่งการเรื่องชีวิตบั้นปลายของเหล่าเมียน้อยและนางบำเรอไว้เรียบร้อย หวังว่าพวกเธอจะมีอาชีพเลี้ยงตัวได้ ไม่ต้องมีชีวิตบั้นปลายรันทดซ้ำรอยผู้อื่น

ความคิดที่เปี่ยมด้วยอารมณ์มนุษย์ของโจโฉนี้ แสดงให้เห็นเอกลักษณ์บุคลิกหลายมิติของเขา โจโฉมิได้มีเพียงจิตวิญญาณวีรชนผู้ห่วงใยบ้านเมือง แต่ยังมีอารมณ์เสน่หาอาทรที่ลึกซึ้งจริงใจด้วยเช่นกัน ถ้อยคำก่อนตายที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ดังกล่าวของเขา มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อนักวรรณคดี (กวี) และนักประวัติศาสตร์ในยุคหลัง

กวีนิพนธ์บท “หอยูงทอง” ของหลัวอิ่นกวียุคราชวงศ์ถังกล่าวว่า “บนหอเก็บสาวงามไว้ทุกปี เจียงโหนทีโอบด้วยพุ่มพฤกษา วีรชนก็มีวันสิ้นชีวา แต่จักหาคนเมียมได้สักกี่คน” กวีนิพนธ์บท “เพลงริมเจียงโห” ของไต้อวี้ญ่าง ซึ่งหยวนเหมยยกมาอ้างถึงในหนังสือ “สุยหยวนซือฮว่า (อุทยานร้อยกรอง)” เล่ม 9 ก็กล่าวว่า “หนุ่มสาวอาทรเสน่หา ผู้กล้ายิงธนูอ่านหนังสือ” (โจโฉมีครบทั้งสองประการ ยิงธนูคือวิชาฝ่ายบู๊ อ่านหนังสือคือวิชาฝ่ายบุ๋น ซึ่งโจโฉแตกฉานทั้งบุ๋นและบู๊ ทั้งยังเปี่ยมเส่หาอาทรอีกด้วย-ผู้แปล)
17  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / “เองยี้” หญิงสาวที่ “โจโฉ” มหาบุรุษแห่งสามก๊ก ต้องหลั่งน้ำตาให้ เมื่อ: 27 มีนาคม 2567 16:17:42


โจโฉ (ภาพโดย Yoshitoshi ศิลปินชาวญี่ปุ่นสมัยศตวรรษที่ 19)

“เองยี้” หญิงสาวที่ “โจโฉ” มหาบุรุษแห่งสามก๊ก ต้องหลั่งน้ำตาให้

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2567


“โจโฉ” มหาบุรุษแห่งยุค “สามก๊ก” มีความสามารถทั้งด้านการทหาร เป็นผู้ปกครองบ้านเมืองได้ดีเยี่ยม ทั้งยังเป็นกวีผู้เป็นเอกในการประพันธ์ ถูกใจสตรีนางหนึ่งนามว่า “เองยี้” และเป็นหญิงสาวผู้นี้เองที่โจโฉต้องหลั่งน้ำตาให้

เองยี้ เป็นนักร้องมีชื่อในนครโลยาง สมัย “สามก๊ก” นอกจากร้องเพลงเพราะแล้ว เองยี้ยังขึ้นชื่อเรื่องความงามอีกด้วย เมื่อนางได้พบกับโจโฉ ทั้งสองก็พึงใจจะอยู่ด้วยกัน

ความที่โจโฉต้องออกศึกอยู่เสมอ เขาจึงพาเองยี้ติดตามไปยังเมืองต่างๆ เพื่อร้องเพลงขับกล่อม ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป หญิงสาวกลับรู้สึกเบื่อหน่าย และคิดว่าโจโฉไม่ได้รักตนเองในฐานะภรรยา

ไม่นานนัก เองยี้ก็เกิดรักใคร่ชอบพอกับนายทหารคนสนิทของโจโฉ

โจโฉไม่ทราบเรื่องนี้ กระทั่งคืนหนึ่งเขาสั่งให้นายทหารคนสนิทผู้นี้ออกตรวจแนวหน้า แต่เพราะนายทหารมัวแต่อยู่กับเองยี้ ทำให้ลืมคำสั่งโจโฉ

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้โจโฉซึ่งเคร่งครัดวินัยทหารโกรธมาก สั่งประหารนายทหารคนสนิท โทษฐานละเลยคำสั่ง เมื่อเองยี้รู้เข้าก็รีบรุดไปพบโจโฉ พร้อมสารภาพถึงความสัมพันธ์ระหว่างนางกับนายทหารของโจโฉ

ด้วยความเด็ดเดี่ยว เองยี้บอกโจโฉว่า เป็นความผิดของนางเองที่ทำให้นายทหารคนดังกล่าวละเลยคำสั่ง จึงขอตายแทนนายทหารผู้นั้น

ก่อนตาย เองยี้ขอเวลา 1 เดือน เพื่อฝึกนักร้องสาวมาร้องเพลงขับกล่อมโจโฉแทนตนเอง โจโฉนึกแปลกใจ แต่ก็อนุญาต

เองยี้คัดเลือกหญิงสาวมา 4 นาง และฝึกฝนให้พวกเธอร้องเพลง เมื่อคิดว่าน้ำเสียงดีแล้วก็พาไปพบโจโฉเพื่อขับขานบทเพลงให้ฟัง โจโฉฟังแล้วก็รับว่าพอใช้ได้ เป็นอันหมดหน้าที่ของเองยี้ที่ขอไว้

ก่อนที่ชีวิตเองยี้จะลาลับ โจโฉอนุญาตให้นางได้พบนายทหารคนสนิท แต่เองยี้ปฏิเสธและบอกว่าไม่จำเป็น เพราะไม่มีอะไรต้องพูดจากันอีกแล้ว แต่โจโฉได้เรียกนายทหารผู้นั้นมาพบเพื่อถามความรู้สึก

อย่างไรก็ตาม คำตอบของนายทหารคนสนิทที่ว่าไม่ได้รักเองยี้ แต่เป็นเพราะความสนุกชั่วคราวเท่านั้น ทำให้โจโฉโกรธมาก แต่เพราะรับปากกับเองยี้ไว้ว่าจะไว้ชีวิตนายทหาร โจโฉจึงได้แค่ไล่ออกจากตำแหน่ง

โจโฉเล่าเรื่องดังกล่าวให้เองยี้ฟัง และตัดสินใจจะไม่ประหารนาง แต่เป็นเองยี้ที่บอกว่า ต่อให้นายทหารจะรักหรือไม่รักเธอก็ตาม แต่เธอรักนายทหารคนนั้นมาก เมื่อสัญญาว่าจะตายแทนก็ต้องตาย แล้วเองยี้ก็นั่งลงกราบโจโฉ 4 ครั้ง หมายความว่าเป็นการลาจาก แล้วก็แขวนคอในคืนนั้น

เหตุนี้ โจโฉจึงหลั่งน้ำตาให้ “เองยี้” หญิงสาวที่ไม่ได้ตกแต่งเป็นภรรยา แค่ครั้งหนึ่งครั้งเดียวในชีวิตโจโฉผู้ยิ่งใหญ่
18  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: เครื่องรางของขลัง เมื่อ: 24 มีนาคม 2567 19:28:56

เบี้ยแก้ หลวงพ่อพัก

‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ พระเกจิชื่อดัง จ.อ่างทอง

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2566


หลวงพ่อพัก (ภักตร์) จันทสุวัณโณ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีเมตตาธรรม มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า นามขจรขจายไปแสนไกล

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ เช่น เหรียญรูปเหมือน มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่ค่อนข้างหายากและสนนราคาสูง

เครื่องรางของขลัง ทั้งสิงห์งาแกะ, ตะกรุดโทน, ตะโพนงาแกะ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นที่นิยม

ส่วนเบี้ยแก้ ก็เป็นสุดยอดเครื่องรางของขลัง ครบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรี

สร้างจากตัวหอยเบี้ยบรรจุปรอท โดยนำเบี้ยใส่พานทองเหลือง นำปรอทใส่ขวดเล็ก ตั้งอยู่อีกพานหนึ่งวางคู่กันใช้หญ้าคาแห้งทำเป็นสะพานต่อจากขวดปรอทถึงตัวเบี้ย บริกรรมคาถาให้ปรอทไหลเข้าไปอยู่ในตัวเบี้ยจนเต็ม อุดด้วยชันโรงใต้ดิน แล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง

เมื่อรวบรวมเบี้ยแก้ได้จำนวนหนึ่ง ก็จะให้ลุงประเสริฐ มาลัยนาค เป็นผู้ถักเชือกหุ้ม

การถักเชือกนั้น จะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมาก ถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย

การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี

หลังจากถักเชือกเสร็จ หลวงพ่อพักจะปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วมอบแก่ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา

เครื่องรางของขลังล้วนเป็นของดีที่น่าเสาะหาไว้คุ้มครอง ครอบคลุมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบี้ยแก้ นับเป็นสิ่งดีเยี่ยม ซึ่งคนเก่าแก่หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอดีตจนถึงปัจจุบันของเมืองอ่างทอง ล้วนต้องการหามาติดตัว

มีความเชื่อว่าเพื่อจะได้เติบโตในหน้าที่การงานให้ดียิ่งขึ้นไป




หลวงพ่อพัก จันทสุวัณโณ

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ตรงกับวันอังคาร เดือน 11 ปีมะเมีย ที่บ้านท่ามะขาม ต.ดอนปรู อ.วิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน ขึ้นกับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี) บิดาชื่อ นายถมยา เป็นชาวบ้านอบทม มารดาชื่อ นางพุก เป็นชาวจังหวัดปทุมธานี มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

ในวัยเด็ก บิดานำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน เจ้าอาวาสวัดหลวง ต.ยี่ล้น อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้

อายุครบ 20 ปี ในปี พ.ศ.2445 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดอ้อย อ.วิเศษชัยชาญ มีหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า จันทสุวัณโณ

หลังอุปสมบท ติดตามพระรัตนมุนี ซึ่งเป็นพระพี่ชายมาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ โดยเรียนอยู่ 9 พรรษา จนเชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ โดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนา

ต่อมาในปี พ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ มรณภาพ ด้วยความศรัทธาของญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทม และบ้านโคกจันทร์จึงได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

หลวงพ่อพัก มีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชาย อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ต.ดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรี และเป็นผู้ที่มีวิทยาคมสูง

ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เคยถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ

พระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่บุญ จากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึงแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้

นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิก คือ พระครูวิตถารสมณกิจ (คำ ปัญญาสาโร) วัดโพธิ์ปล้ำ, พระอุปัชฌาย์ (ซำ) วัดตลาดใหม่, หลวงปู่ภู วัดดอนรัก, หลวงปู่จัน วัดนาคู เป็นต้น

ห้วงเวลาที่เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนเดินทางมาทําบุญกับวัดเป็นประจํา ด้วยต่างมาขอให้หลวงพ่อพัก ช่วยเป็นที่พึ่งในเรื่องต่างๆ เช่น ในเรื่องค้าขาย หรือขอเครื่องรางของขลังไว้คุ้มครองตัว โดยสมัยนั้นท่านมีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์เป็นจํานวนมาก

หลวงพ่อพัก ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ.2461 เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2462 ตามลำดับ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อราวปี พ.ศ.2485 ตรงกับปีจอ สิริอายุ 60 ปี พรรษา 40

สร้างความเศร้าสลดแก่คณะศิษย์และผู้ที่ศรัทธาเป็นอย่างมาก •
19  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / บัวสาย บัวแดง หรือบัวขมในตำรายาไทย สมุนไพรชั้นดี สรรพคุณเพียบ! เมื่อ: 24 มีนาคม 2567 19:04:33


บัวสาย บัวแดง หรือบัวขมในตำรายาไทย สมุนไพรชั้นดี สรรพคุณเพียบ!


ที่มา - คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 - 7 มีนาคม 2567
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2567


ในช่วงเดือนนี้หรือตั้งแต่ปลายปีจนเข้ามีนาคม เป็นช่วงที่เหมาะจะไปท่องเที่ยวชมดอกบัวแดง ซึ่งในปัจจุบันมีหลายพื้นที่เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

โดยทั่วไปบัวมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในเรื่องการนำมาใช้เป็นอาหาร ยาสมุนไพร ใช้เป็นที่พักผ่อนจิตใจ และถ้ากล่าวถึงบัวก็ยังผูกพันกับวัฒนธรรมไทยใช้บูชาพระ มาฆบูชาก็เพิ่งผ่านไปหมาดๆ

ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บัวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บัวสายหรืออุบล อยู่ในสกุล Nymphaea และบัวหลวงหรือปทุม อยู่ในสกุล Nelumbo

จากฐานข้อมูลของสวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว กล่าวไว้ว่า พืชในกลุ่มบัวสายที่มีกำเนิดตามธรรมชาติที่ทำการศึกษาแล้วมีจำนวน 65 ชนิด แต่พบในประเทศไทยเพียง 4 ชนิด คือ

1) บัวเผื่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea nouchali Burm.f. ส่วนใหญ่ดอกเป็นสีม่วง

2) บัวแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea pubescens Willd. ดอกสีแดงอมชมพู สีชมพูและสีขาว

3) บัวสัตบรรณ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea rubra Roxb. ex Andrews ดอกมีสีแดงเข้ม

4) บัวจงกลณี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea siamensis Puripany. ดอกสีชมพูอมขาวชนิดนี้พบเฉพาะประเทศไทย แต่ที่เราพบทั่วไปหรือตามท้องตลาดไม้ประดับส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมที่นักพัฒนาสายพันธุ์เพาะขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีมากกว่า 400 สายพันธุ์ แนะนำให้ไปหาชมและเรียนรู้ได้ที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บัวสายหรือบัวแดง ชนิด Nymphaea pubescens Willd. มีชื่อสามัญว่า Hairy water lily หรือ Pink water-lily เป็นชนิดที่พบเห็นได้มากที่สุดในประเทศไทย มีการกระจายอยู่ในทุกที่ มีต้นกำเนิดในหมู่เกาะอันดามัน รัฐอัสสัมของอินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้ หิมาลายาตะวันออก อินเดีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ รัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย เวียดนาม

มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น บัวสายกิน บัวกินสาย สายบัว บัวขม บัวขี้แพะ บัวแดง บัวสายสีชมพู สัตตบรรณ ปริก ป้าน ป้านแดง รัตอุบล เศวตอุบล หรือเรียกตามสีของดอก ถ้าสีชมพูเรียกว่า “ลินจง” สีม่วงแดงเรียกว่า สัตตบรรณ รัตนอุบล สีขาวเรียกว่า กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล แต่เฉพาะดอกสีขาวมีชื่อเรียกในตำรายาไทยว่า บัวขม เป็นต้น

ในพระไตรปิฎกเรียกบัวสายว่า “อุบล” และ “บุณฑริก” มีการกล่าวว่าใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น “เรา (ชีวกโกมารภัจ) พึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระตถาคต” ใช้เป็นพระโอสถถ่าย

ในตำรายาไทย มีการนำส่วนต่างๆ มาใช้ ได้แก่ ดอก มีรสฝาดหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน เมล็ด เมื่อจะนำมาใช้ให้คั่วให้แห้ง มีรสขมหอม สรรพคุณ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เหง้าหรือหัว มีรสหอมมัน สรรพคุณ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง บำรุงครรภ์ ส่วนใหญ่ใช้ในรูปพิกัดยา ประกอบด้วย บัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงขาว บัวหลวงแดง บัวสัตตบงกชขาว และบัวสัตตบงกชแดง สรรพคุณ แก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้งสี่ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม และโลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น

ในระบบการแพทย์สิทธา (Siddha medicine) ซึ่งเป็นระบบการแพทย์ดั้งเดิมของอินเดียรูปแบบหนึ่ง ใช้เหง้าเป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ใช้รักษาโรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคดีซ่าน และโรคตา

ชนเผ่าในรัฐโอริสสาของอินเดีย ใช้เหง้าของบัวสายร่วมกับเมล็ดพริกไทยตำพอกบริเวณที่เป็นคอพอก หมอแผนโบราณในรัฐโอริสสาตอนใต้ใช้เหง้าของบัวสายรักษาโรคบิด ตกขาว ท้องร่วง อาการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร และใช้ราก เพื่อรักษาอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะและปวดประจำเดือน และเป็นยาทำแท้ง

ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ใช้รากแห้งมาตำให้เป็นผงกินวันละ 2 ครั้งรักษาอาการปวดกระเพาะเนื่องจากมีกรดในกระเพาะมากเกินไป

ชนเผ่าอื่นๆ ในอินเดียก็มีการใช้บัวสายรักษาโรคทางสูตินารีเวช อย่างน้อย 3 ตำรับ คือ

1) ใช้ทั้งส่วนดอกและก้านบดให้เละทำเป็นแผ่นนาบไว้ที่หน้าท้องน้อยในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์แล้วมีเลือดออก

2) ในกรณีที่มีตกขาวให้นำเอาบัวขม (บัวสายที่มีดอกสีขาว) มาเข้าตำรับกับรากดอกบานเย็นสีขาว (Mirabilis jalapa L.) และดอกแววตา (Thunbergia alata Bojer ex Sims) ในปริมาณที่เท่ากัน ต้มดื่มหรือใช้ผงแห้งจากเหง้าผสมกับน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน ดื่มทุกวันก็ได้ผลเช่นกัน

3) ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติให้เอาน้ำคั้นจากเมล็ดมาผสมกับน้ำตาลเล็กน้อย ดื่มประมาณครึ่งถ้วยทุกวัน หรือถ้าเป็นน้ำคั้นจากดอกผสมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มวันละ 3 ครั้ง ก็จะให้ผลเช่นกัน

ในบังกลาเทศ ใช้รากของบัวสายเข้าตำรับยาร่วมกับดอกชบา (Hibiscus rosa-sinensis L.) เปลือกต้นโพ (Ficus religiosa L.) และเมล็ดงาดำ (Sesamum indicum L.) ใช้เป็นยาทำแท้ง และหมอชนเผ่าบักดี (Bagdi tribal) ในบังกลาเทศ ใช้ใบ ราก และดอก รักษาโรคระดูขาวเรื้อรังที่มีกลิ่นเหม็นและสีดำของเลือดประจำเดือนด้วย

นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาวิจัยจำนวนไม่น้อยที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบัวสายในทางเป็นยา เช่น ทุกส่วนของลำต้นนำมาสกัดใช้รักษาเบาหวาน สารสกัดจากส่วนของดอกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องตับ (Hepatoprotective Antioxidant) ต้านอักเสบ (Anti-Inflammatory) เป็นต้น

ในภูมิปัญญาท้องถิ่น การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทย ก็ใช้บัวเพื่อสุขภาพมากมาย ต่อไปแหล่งท่องเที่ยว วัดวาอาราม น่าจะมีโปรดักต์บัวสร้างสุขภาพและรายได้เพิ่มขึ้น •
20  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / “จักรพรรดินีหลี่ว์” สตรีผู้ทรงอำนาจและเหี้ยมโหดแห่งราชวงศ์ฮั่น เมื่อ: 24 มีนาคม 2567 18:49:13


ภาพประกอบ - Attributed to Zhou Fang, Ladies Wearing Flowers in Their Hair, c. late 8th–early 9th century,
handscroll, ink and color on silk, 46 x 180 cm (Liaoning Provincial Museum, Shenyang province, China)


“จักรพรรดินีหลี่ว์” สตรีผู้ทรงอำนาจและเหี้ยมโหดแห่งราชวงศ์ฮั่น
ปลิดชีพสนมด้วยการตัดแขนขา!

ผู้เขียน - ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2567


หากพูดถึงสตรีที่มีภาพจำว่าเป็นผู้ทรงอำนาจ เหี้ยมโหด และทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจของตนเองในเกมกระดานการเมืองจีน หลายคนคงนึกถึง “บูเช็กเทียน” สตรีที่ไต่เต้าจนก้าวขึ้นสู่บัลลังก์อำนาจในสมัยราชวงศ์ถัง หรือ “ซูสีไทเฮา” หญิงผู้ปราดเปรื่องจนกุมอำนาจและทำหน้าที่เป็นผู้ว่าราชการหลังม่านในยุคราชวงศ์ชิง แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน หรือในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีจักรพรรดินีองค์หนึ่ง นามว่า “จักรพรรดินีหลี่ว์” หรือ “หลี่ว์โฮ่ว” ผู้มีความสามารถมากจนกุมอำนาจวังหลวงไว้ในมือของตนเอง ทั้งยังปลิดชีพคนใกล้ตัวและสนมคนโปรดของ “จักรพรรดิฮั่นเกาจู่” พระสวามีอย่างเหี้ยมโหด

จักรพรรดินีหลี่ว์” นามเดิมคือ “หลี่ว์จื้อ” อาศัยอยู่กับครอบครัวในมณฑลซานตง บิดาชื่อ หลี่ว์เหวิน ว่ากันว่าฐานะทางครอบครัวของหลี่ว์จื้อนั้นค่อนข้างดี มีอิทธิพล และมีหน้ามีตาในสังคม ทว่าหลังจากใช้ชีวิตอย่างยาวนานที่ซานตง เธอและบิดาก็ต้องย้ายมาอาศัยที่มณฑลเจียงซู เพื่อหนีศัตรูของตระกูล

แม้จะย้ายสำมะโนครัวมาตั้งรกรากใหม่ที่มณฑลเจียงซู แต่อำนาจที่เคยมีอยู่ในมือก็ไม่ได้ลดทอนลงไปเลยแม้แต่น้อย เพราะมีผู้กว้างขวางมากบารมีแวะเวียนมาพบปะสนทนากับบิดาของนางอยู่ไม่ขาด จนสนิทกับผู้พิพากษาท้องถิ่น ยิ่งไปกว่านั้นการจากลาบ้านเกิดเมืองนอนในครั้งนี้ยังทำให้ชีวิตของหลี่ว์จื้อเปลี่ยนไปตลอดกาลอีกด้วย

เย็นวันหนึ่ง หลี่ว์เหวินจัดงานเลี้ยงขึ้นที่จวนของตนเอง โดยตั้งข้อแม้ไว้ว่าผู้ที่จะเข้าร่วมงานนี้จะต้องมอบของขวัญล้ำค่าให้เจ้าบ้านอย่างน้อย 1,000 เหรียญ ผู้คนที่มาเยี่ยมเยียนต่างมอบสิ่งต่าง ๆ ให้กับหลี่ว์เหวินมากมาย

ทว่ามีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนายหนึ่ง นามว่า “หลิวปัง” ที่แตกต่างออกไป เพราะชายหนุ่มคนนี้เดินเข้ามาหาเจ้าของงานเลี้ยงด้วยท่าทางกล้าหาญ ชูเหรียญขึ้นมาหนึ่งเหรียญ แต่ประกาศว่าจะมอบเงินจำนวน 10,000 เหรียญให้


ด้วยท่าทางอันอาจหาญและไม่เหมือนใคร ทำให้หลี่ว์เหวินประทับใจในตัวหนุ่มคนนี้มาก ถึงขนาดประกาศให้ลูกสาวของตนเองอย่าง “หลี่ว์จื้อ” แต่งงานกับชายคนนั้น ทั้งคู่ครองรักกันอย่างสงบสุขและมีลูกสองคน เป็นบุตรชาย ชื่อว่า “หลิวหยิง” และบุตรีคือ “หลี่ว์หยวน

วันเวลาผ่านไป บ้านเมืองเริ่มระส่ำระสาย ราชวงศ์ฉินเสื่อมอำนาจ เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งฮ่องเต้ผู้เป็นศูนย์รวมอำนาจสวรรคต ปัญหาเกณฑ์แรงงาน ภาษี ฯลฯ บุคคลมีอำนาจจึงต่างแบ่งก๊กเหล่าและก่อกบฏ หนึ่งในนั้นคือ “หลิวปัง” โดยเขาได้รวมกลุ่มของตนเอง หวังจะโค่นบัลลังก์ราชวงศ์เดิม

กระทั่งปี 206 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฉินก็ล่มสลาย และกำเนิด “ราชวงศ์ฮั่น” โดยหลิวปัง ซึ่งกลายมาเป็นปฐมกษัตริย์ “ฮั่นเกาจู่”

เมื่อกลายมาเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น ภรรยาและลูกทั้งสองก็ขึ้นมามีตำแหน่งในวังหลวง หลี่ว์จื้อ กลายมาเป็น “จักรพรรดินีหลี่ว์” ส่วนลูกชายและลูกสาวก็กลายมาเป็นองค์ชายและองค์หญิง

ทว่าปัญหาทางการเมืองก็ยังไม่จบสิ้น เพราะยังมีกลุ่มก๊กน้อยใหญ่ที่พร้อมจะก่อกบฏได้อยู่เสมอ และด้วยต้องการให้อำนาจทางการเมืองของตนแข็งแรงยิ่งขึ้น จักรพรรดินีหลี่ว์จึงเริ่มต้นการกระทำอันร้ายกาจ พระนางใส่ร้าย “หานซิ่น” หนึ่งในมือรบที่เก่งกาจ และมีส่วนสำคัญที่ช่วยหนุนให้พระสวามีของตนเองขึ้นครองราชย์ โดยกล่าวหาว่า หานซิ่นคบค้าสมาคมกับพวกทรราช ขณะที่จักรพรรดิออกไปปราบกบฏ หานซิ่นถูกจับมาอยู่ในวัง ก่อนที่หงส์แห่งราชวงศ์ฮั่นจะสั่งประหาร จนในที่สุดขุนพลมากฝีมือก็เสียชีวิต


รวมถึงชะตาชีวิตของ “เผิงเยว่” ทหารมากความสามารถ ผู้เคยสู้รบให้กับองค์จักรพรรดิก็ไม่ต่างกัน เพราะเขาก็ถูกปลิดชีพจากคำสั่งของจักรพรรดินีหลี่ว์

นอกจากนี้ ครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองคนก็ได้รับโทษประหารอีกด้วย

ความโหดเหี้ยมของพระนางยังไม่หมด เพราะมีนางสนมคนหนึ่งที่หงส์งามคนนี้โกรธเกลียดเคียดแค้นเป็นอย่างมาก นามว่า “สนมฉี” เนื่องจากเธอเป็นคนโปรดของพระสวามี และได้รับความรักอันล้นเปี่ยม ทั้งยังคลอดบุตรชายอย่าง “หลิวหรูอี้” ซึ่งเก่งกล้าสามารถ จักรพรรดิฮั่นเกาจู่จึงวางตัวไว้จะให้เป็นรัชทายาทแทนหลิวหยิง

ทว่าพระสวามียังคงมีชีวิตอยู่ และคอยปกป้องดูแลให้สนมฉีมีชีวิตรอดไปได้ในแต่ละวัน พระนางจึงยังไม่สามารถทำการอันใดได้ แต่ท้ายที่สุดก็เหมือนสวรรค์เปิดทาง เพราะเมื่อเข้าสู่ปี 195 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ก็สวรรคต

พระนางเริ่มต้นฆ่าหลิวหรูอี้เป็นอันดับแรก โดยส่งคนไปลอบฆ่าเขาขณะออกไปล่าสัตว์ เมื่อลูกชายของอดีตสนมคนโปรดสิ้นชีพ ก็จับตัวสนมฉีมาโกนศีรษะ บังคับให้นางทำงานหนัก ก่อนจะตัดแขน ตัดขา ควักลูกตา ตัดหู ให้ดื่มยาพิษจนเป็นใบ้ ตายอย่างสยดสยองในกองเลือด แล้วนำศพโยนลงไปในโถส้วม

เหตุการณ์นี้เรียกได้ว่าเป็นที่โจษจันไปทั่วดินแดน ถึงขนาดจักรพรรดิฮุ่ยที่เข้ามาพบในเวลาต่อมา ออกปากว่า “นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นจากมนุษย์ ในฐานะลูกชายของไทเฮา เจิ้นไม่สามารถปกครองจักรวรรดิได้อีกต่อไป”

ไม่เพียงแค่องค์ชายหรูอี้และสนมฉีเท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อของพระนาง ยังมีองค์ชายอีกสองพระองค์เช่นกันที่ต้องตกเป็นเหยื่อการกระทำอันเหี้ยมโหดนี้ หนึ่งคือ “หลิวเฝย” เขาถูกวางยาพิษในงานเลี้ยงของจักรพรรดิฮั่นฮุ่ย ทว่าได้รับการช่วยเหลือ ก่อนจะตัดสินใจขออนุญาตจักรพรรดิออกไปจากวังหลวง โดยสัญญาว่าจะสละดินแดนของตนเองให้

ส่วนอีกคนหนึ่งคือ “หลิวโหย่ว” องค์ชายคนนี้แต่งงานกับหลานสาวของไทเฮาหลี่ว์ ทว่าต่อมากลับมีชู้ ทำให้ภรรยาโกรธมาก จึงโป้ปดกับพระพันปีหลี่ว์ว่าพระสวามีของเธอจะก่อกบฏ จนในที่สุดหลิวโหย่วก็ถูกจับ ได้รับโทษไม่ให้กินดื่มอันใดทั้งสิ้น และอดตายในคุก

แม้ว่าการกระทำที่ผ่านมาของ “จักรพรรดินีหลี่ว์” จะเป็นที่น่าสะพรึงกลัว และสร้างความรู้สึกอกสั่นขวัญผวามากแค่ไหนก็ตาม ทว่าท้ายที่สุดพระนางก็ไม่เคยได้รับการลงโทษใด ๆ ทั้งยังมีอำนาจตลอดจนสิ้นอายุขัย และเสียชีวิตในปี 180 ก่อนคริสต์ศักราช
หน้า:  [1] 2 3 ... 116
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.507 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้